Journalism Archives - Page 3 of 5 - Decode

CATEGORY Journalism
Lorem ipsum dolor sit amet.

Columnist

สังคมจมดราม่าหรือทฤษฎีสมคบคิด ‘เจ้าหญิงเคท’ เมื่อภาพก็ใช้ยืนยันไม่ได้

Reading Time: 4 minutes มีคำถามหนักขึ้นว่า ตกลงเจ้าหญิงเคทเธออยู่ไหนกันแน่ บ้างถามถึงขนาดว่ายังทรงมีชีวิตอยู่หรือไม่ มีบ้างที่สงสัยว่าการผ่าตัดอาจไม่ได้ผลหรือไม่ก็มีโรคที่ร้ายแรงมากกว่าที่เปิดเผยออกมา มีคนถามไปถึงการถูกทำร้ายร่างกายหรือถูกกักบริเวณก็มี รวมไปถึงที่ว่าหลบซ่อนตัวด้วย คือโลกโซเชียลนั้นเหมือนจะพร้อมจะเป็นแหล่งบ่มเพาะทฤษฎีสมคบคิดตลอดเวลา

Journalism

หมอกับคนไข้ เส้นบาง ๆ ระหว่างความเป็นมนุษย์กับความเป็นมืออาชีพ ชีวอำนาจใต้เสื้อกาวน์มีอยู่จริง ?

Reading Time: 2 minutes “งดอาหารอย่างไรถึงจะได้ไม่โดนแพทย์บ่น” โปสเตอร์นี้ติดมานานแค่ไหนไม่สำคัญเท่ากับคำถามบนข้อความนั้น มองเผิน ๆ โปสเตอร์นี้เป็นเพียงป้ายให้ความรู้ตามโรงพยาบาลทั่วไป หากแต่นัยของคำว่า “บ่น” กำลังบอกเราถึงความสัมพันธ์บางอย่างระหว่างแพทย์และคนไข้ ซึ่งอาจเกินเลยไปจากการให้ “ความรู้ความเข้าใจ” ในการรักษาและตรวจโรค

ปรีชาญา ชาวกัณหา
Journalism

เส้นบาง ๆ ระหว่าง “ปีศาจ” กับ “เชื้อโรค” ถอนพิษความกลัวด้วยประวัติศาสตร์การแพทย์

Reading Time: 3 minutes การสวดมนต์ไม่ใช่การขับไล่โควิด-19 แต่เป็นการสร้างขวัญกำลังใจแก่ประชาชน ทว่าการสร้างขวัญกำลังใจโดยใช้ความศักดิ์สิทธิ์เข้าช่วย เพื่อสร้างความรู้สึกดีให้แก่ประชาชน ไม่ต่างจากที่รัฐสมัยโบราณก็ใช้ความศักดิ์สิทธิ์เข้าปราบปีศาจที่มีนามว่าโรคระบาดเช่นกัน

ปิยวัฒน์ สีแตงสุก
Journalism

ก่อนศึกแดงเดือด เล่าเรื่องเหลื่อมล้ำและการต่อสู้ในอุตสาหกรรมอังกฤษ: สำนึกทางชนชั้นและหน่ออ่อนของสังคมนิยมในฟุตบอลอังกฤษ

Reading Time: 2 minutes คนไทยติดตามฟุตบอลยุโรปมากอันดับต้นๆ ของโลก แต่วันนี้สิ่งที่ผมอยากถ่ายทอดอาจไม่ใช่เรื่องการเชียร์ฟุตบอลของคนไทย แต่มีเรื่องราวสำคัญในสองเมืองที่เรามักไม่พูดถึงและมองข้ามไป

รศ.ดร.ษัษฐรัมย์ ธรรมบุษดี
Journalism

ไม่ได้เป็น gatekeeper ไม่ใช่ agenda-setter สื่อไทยในวันที่สังคมเดินนำหน้า

Reading Time: 3 minutes ‘ในวันที่ไม่ว่าใครก็เป็นสื่อได้ สื่อมวลชนยังคงจำเป็นอีกหรือเปล่า’ Decode สรุปความจากวงเสวนา Future Journalist นักข่าวรุ่นใหม่ระยะเปลี่ยนผ่าน ซึ่งจัดขึ้นโดยเว็บไซต์ Decode เนื่องในโอกาสงานเปิดตัวเว็บไซต์ Decode Grand Opening เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2563

ภาวิณี คงฤทธิ์
Journalism

เพราะเราต่างมีส่วนสร้างพลเมือง ประชาธิปไตยจะไม่ใช่แค่วิชาสังคม

Reading Time: 2 minutes Decode สรุปความจากวงเสวนา ‘พลเมืองประชาธิปไตยและพลังขับเคลื่อนสังคมของเยาวชน (Democratic Citizens and Civic Engagement of the Youth)’ ช่วงที่ 2 นิเวศการเรียนรู้ความเป็นพลเมือง ซึ่งจัดขึ้นโดย มูลนิธิการศึกษาเพื่อสร้างพลเมืองไทย (Thai Civic Education Foundation ร่วมกันกับภาคีเครือข่าย เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน ณ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ภาวิณี คงฤทธิ์
Journalism

เพราะ…นักรบมีพื้นที่มากกว่านักการทูตในประวัติศาสตร์ไทย “เดี่ยว ธงชัย”ผู้หลงใหลประวัติศาสตร์ แต่ไม่หลงรักอย่างที่ควรจะเป็น

Reading Time: 3 minutes “ผมว่าการเปลี่ยนแปลงทุกครั้งมีความขัดแย้ง ที่ไหนมีความขัดแย้ง ที่นั่นคือที่ที่มีชีวิต ความขัดแย้งมันอยู่ในตัวเราตลอด ที่ไหนไม่มีความขัดแย้งที่นั่นคือตายแล้ว” ฟังเผิน ๆ หลายคนอาจจะตีความว่าประโยคนี้คงหนีไม่พ้นซ่อนประเด็นการเคลื่อนไหวทางการเมือง ที่กำลังร้อนแรงทะลุปรอทอยู่ขณะนี้เป็นแน่ แต่ไม่ใช่สำหรับ “ธงชัย อัชฌายกชาติ” หรือ เดี่ยว นักศึกษาชั้นปี 1 สาขาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ที่กำลังสะท้อนให้เห็นว่า เหตุใดการเปิดพื้นที่ให้ถกเถียงในห้องเรียนประวัติศาสตร์จึงควรเกิดขึ้น ไม่เช่นนั้นก็เท่ากับเป็นห้องเรียนที่รอการหายไปเท่านั้น

สมิตานัน หยงสตาร์
Journalism

สำรวจ “ของเถื่อนในม็อบ” ประเด็นใต้ดินที่อยากทำให้ถูกกฎหมาย

Reading Time: 2 minutes ของเถื่อน คือ อะไร? ของเถื่อนที่เราว่านั้น มันคือประเด็นใต้ดิน ประเด็นที่สังคมไทย “ปากว่าตาขยิบ” ตั้งแต่เรื่องทำแท้ง พนักงานขายบริการ ไปจนกระทั่งการพูดถึงรสชาติเครื่องดื่มบางชนิด วันนี้ในการชุมนุมหลาย ๆ ครั้ง ประเด็นข้างเคียงข้อเรียกร้องบนเวทีเรายังเห็นประเด็นเหล่านี้ที่คนรุ่นใหม่ต้องการทำให้ดีขึ้นในเชิงกฎหมาย หรือทำให้มันถูกกฎหมาย (Legalise) เพื่อที่ว่าทุกที่อยู่แวดล้อมในวงนี้…จะได้รับสิทธิ์การคุ้มครองอย่างเต็มที่ ของเถื่อน 01: Sex Worker “สิ่งที่ยากที่สุดในการต่อสู้เรื่องนี้คือการสู้กับความเชื่อของคนที่เชื่อว่างานนี้เป็นการลดทอนศักดิ์ศรี ซึ่งไม่ใช่ศักดิ์ของคนทำงาน แต่คือศักดิ์ศรีภาพรวมของประเทศ เราต้องการให้เข้าใจสิทธิความเป็นมนุษย์มากกว่าการรักษาภาพลักษณ์ของประเทศ ประเทศของเรายังอยู่ในกรอบผู้หญิงดี ถ้าเราพ้นกรอบนี้มาได้ประเด็นการต่อสู้ของเราน่าจะรอด” ชัชลาวัณย์ เมืองจันทร์ ตัวแทนกลุ่ม sex worker บอกเล่าถึงความต้องการที่อยากเห็นอาชีพนี้และคนในสังคมมีส่วนร่วมลงชื่อเสนอร่างยกเลิก  พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ. 2539 จำนวน 10,000 รายชื่อ เพื่อให้งานขายบริการไม่ผิดกฎหมาย จากอยู่ใต้พรมเป็นขึ้นมามีสิทธิเท่าเทียมกับแรงงานคนอื่น ๆ นายจ้างจะได้ไม่เอาเปรียบ ไม่เอาเงินไปหักส่วย ไม่ถูกล่อซื้อ ไม่ต้องถูกจับ ซึ่งทุกวันนี้ยังมีการล่อซื้ออยู่แต่ไม่มีข่าวให้เห็นมากนัก ส่วนใหญ่พวกเขาทำงานที่ บาร์ คาราโอเกะ และอาบอบนวด มีทั้งคนไทยและคนต่างชาติ รวมกลุ่มกันมากว่า 20 ปีแล้ว […]

Decode
Journalism

สักวัน…ข่าว “ลุงพล”จะจบไป แต่ “ข่าวเรียกเรตติ้ง” ไม่มีทางจบที่รุ่นเรา

Reading Time: 5 minutes ข่าวดังที่เริ่มต้นจากประเด็นที่มีคุณค่าข่าว เด็กน้อยวัย 3 ขวบหายตัวไป ต่อมาถูกพบเป็นศพ และต้องสืบสวนว่าทั้งหมดมีที่มาอย่างไร ระหว่างทางของคดี “ที่ยังไม่จบ” ตัวละครแวดล้อมเพิ่มมาเรื่อย ๆ ลุงพล “ไชย์พล วิภา” วัย 44 ปีคือหนึ่งในนั้น เรื่องราวชีวิตลุงพลแบบเรียลลิตี้เพิ่มขึ้นวันต่อวัน

กัลยาวีร์ แววคล้ายหงษ์
Journalism

ลาก่อน “ลุงพล” การลาออกครั้งสุดท้ายของคนข่าวภาคสนาม ในสภาพอึดอัด เลยเถิด เกินพอกับระบบ ‘ข้างในอยากได้’

Reading Time: 2 minutes ข่าวดังที่เริ่มต้นจากประเด็นที่มีคุณค่าข่าว เด็กน้อยวัย 3 ขวบหายตัวไป ต่อมาถูกพบเป็นศพ และต้องสืบสวนว่าทั้งหมดมีที่มาอย่างไร ระหว่างทางของคดี “ที่ยังไม่จบ” ตัวละครแวดล้อมเพิ่มมาเรื่อย ๆ ลุงพล “ไชย์พล วิภา” วัย 44 ปีคือหนึ่งในนั้น เรื่องราวชีวิตลุงพลแบบเรียลลิตี้เพิ่มขึ้นวันต่อวัน

กัลยาวีร์ แววคล้ายหงษ์
Journalism

การรวมกลุ่มของไรเดอร์ส่งอาหาร-การต่อรองกับแพลตฟอร์มข้ามชาติยักษ์ใหญ่

Reading Time: 4 minutes ความนิยมในการสั่งอาหารผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ ทำให้เกิดการขยายตัวของงานส่งอาหารรายชิ้น ที่มีชื่อเรียกอย่างเก๋ไก๋ว่า ‘งานกิ๊ก’ (gig work) โดยพนักงานขี่มอเตอร์ไซต์ส่งอาหารหรือ “ไรเดอร์” ที่บริษัทแพลตฟอร์มกำหนดสถานะเป็น “พาร์ทเนอร์” หรือหุ้นส่วน แต่กระบวนการทำงานที่เป็นจริงไม่ต่างจากพนักงานของบริษัท

สถาบันแรงงานและเศรษฐกิจที่เป็นธรรม
Journalism

ชายผ้าเหลืองเชื่อมชุมชนกับ “พระกฎษดา ขันติกโร” เพื่อเพื่อนผู้ป่วยระยะสุดท้าย

Reading Time: 3 minutes “ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอถวายภัตตาหาร…” คำกล่าวถวายสังฆทานที่ไม่อาจรับรู้ได้จากการฟัง ด้วยเสียงนั้นถูกกล่าวโดยหญิงชราอ่อนแรงลงทุกขณะ ที่วาระสุดท้ายของชีวิตใกล้เข้ามาแล้ว หลังเป็นผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายที่นอนติดเตียงมานาน จนไม่มีโอกาสได้ทำบุญอย่างที่เคยปฏิบัติ “พระกฎษดา ขันติกโร” จึงรับนิมนต์ในครั้งนั้น ก่อนที่วันต่อมาคุณยายจะจากไปอย่างสงบ พร้อมความเชื่อของครอบครัวว่าท่านได้เกาะชายผ้าเหลืองพระไป

สมิตานัน หยงสตาร์
Journalism

เพดานของคนข่าว ในวิกฤต(ศรัทธา)มีข้อจำกัด และการกลับมาของสื่อมืออาชีพ-พื้นที่กลาง ทำยากแต่จำเป็นต้องทำ

Reading Time: 3 minutes Decode ขอจ่อไมค์ไปที่นักข่าวจากสื่อทุกแขนง ไม่ว่าจะเป็นสื่อกระแสหลัก หรือ สื่อออนไลน์ เพื่อถามถึงเงื่อนไขในการทำงานของสื่อมวลชน ณ วันนี้ ว่าแม้ใจอยากจะรายงานแต่เหตุผลอะไรที่กลบเสียงนั้นให้หายไป และพวกเขามีความคิดเห็นอย่างไรกับการที่ประชาชนเรียกร้องให้สื่อกลับมาทำหน้าที่ (เสียที) พร้อมทั้งร่วมหาคำตอบกับโจทย์สุดหินสำหรับคนทำสื่อ ว่าในวันที่เพดานขยายกว้างขึ้นไปทุกที เราชาวสื่อมวลชนจะรายงานข่าวนี้อย่างไร

ภาวิณี คงฤทธิ์