Columnist

ตากใบ กระจกสะท้อนกระบวนการยุติธรรม

Reading Time: 2 minutes ขยายประเด็น นวลน้อย ธรรมเสถียร ผ่านกันไปอีกปีหนึ่งสำหรับวันครบรอบเหตุการณ์ตากใบเมื่อ 25 ตุลาคมที่ผ่านมา หลาย ๆ ฝ่ายได้ใช้โอกาสนี้ในการแสดงออกเรื่องปัญหาความไม่เป็นธรรมซึ่งก็เหมือนกับอีกหลายเหตุการณ์ คือเมื่อถึงคราวครบรอบก็พูดกันทีหนึ่ง แต่สรุปแล้วก็อาจจะแค่ได้พูดถึงเท่านั้น อันที่จริงจะพูดว่าไม่มีอะไรใหม่เกิดขึ้นเลยก็อาจจะไม่ตรงทีเดียวนัก เพราะปีนี้เราได้เห็นกลไกของรัฐสภาออกแถลงการณ์เรื่องตากใบ โดยคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณาศึกษาและเสนอแนวทางการส่งเสริมกระบวนการสร้างเพื่อแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งเป็นกรรมาธิการวิสามัญที่เพิ่งจะตั้งขึ้นมาใหม่ ทำให้รัฐสภามีความเคลื่อนไหวในเรื่องสำคัญคือปัญหาความขัดแย้งในพื้นที่สามจังหวัดภาคใต้ในจังหวะที่สอดรับกับสถานการณ์อย่างมาก เนื้อหาแถลงการณ์ที่ออกมาเมื่อ 25 ตุลาคมที่ผ่านมามีสาระสำคัญเรียกร้องให้รัฐบาลสร้างความเป็นธรรมในกรณีตากใบ โดยระบุอย่างจำเพาะเจาะจงให้มีการดำเนินคดีอาญากับเจ้าหน้าที่รัฐที่เกี่ยวข้องกับการสลายการชุมนุมที่นำไปสู่การเสียชีวิตของคนจำนวน 85 คนให้ทันก่อนที่อายุความของคดีอาญาจะหมดลงในปีหน้า ยิ่งกว่านั้นยังเรียกหามาตรการที่จะจำกัดไม่ให้เจ้าหน้าที่รัฐใช้อำนาจเกินขอบเขต ไม่บังคับใช้กฎหมายจนเกิดการเลือกปฏิบัติและลิดรอนสิทธิเสรีภาพของประชาชน โดยเรียกร้องให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมหรือไม่ก็ยกเลิกกฎหมายความมั่นคงที่ใช้อยู่ในพื้นที่ซึ่งมีอยู่สามฉบับคือกฎอัยการศึก พรก.ฉุกเฉินและพรบ.ความมั่นคง แถลงการณ์บอกว่า การสร้างความเป็นธรรมบังคับใช้กฎหมายอย่างเสมอภาคจะเป็นการ “ถอนฟืนออกจากไฟ” คือลดความรู้สึกเชิงลบที่ประชาชนมีต่อเจ้าหน้าที่และจะเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างบรรยากาศการพูดคุยได้ แถลงการณ์จากรัฐสภาฉบับนี้ผู้เขียนถือว่ามีความหมายอย่างยิ่ง แม้ว่าในทางความเป็นจริงของชีวิต จะเป็นที่รู้กันว่าการจัดการปัญหาภาคใต้ยังคงอยู่ในมือของข้าราชการประจำฝ่ายความมั่นคงซึ่งระบบเข้มแข็งขึ้นอย่างมากภายในเวลาเกือบเก้าปีของรัฐบาลประยุทธ์ จันทร์โอชา และก็ต้องยอมรับด้วยว่ากลไกของรัฐบาลพลเรือนชุดใหม่ยังไม่เข้มแข็งพอในอันที่จะกำหนดมาตรการที่เกี่ยวกับสามจังหวัดภาคใต้ได้อย่างเต็มที่ การที่พรรคการเมืองในรัฐสภาสามารถแสดงบทบาทติดตามกระบวนการสร้างสันติภาพได้อย่างเป็นทางการ อย่างน้อยก็เป็นย่างก้าวสำคัญของการที่กลไกที่เป็นตัวแทนประชาชนจะเข้ามามีส่วนในเรื่องกระบวนการแก้ปัญหาสามจังหวัดภาคใต้ได้ การออกแถลงการณ์เรื่องของเหตุการณ์ตากใบถือได้ว่าเป็นการจัดวางท่วงทำนองที่อ่านได้ว่าฝ่ายตัวแทนของประชาชนมองความขัดแย้งในพื้นที่ จชต.เป็นปัญหาด้านการเมืองอย่างชัดเจน กรณีตากใบไม่ได้มีความสำคัญต่อเฉพาะพ่อแม่ญาติพี่น้องของคนที่เสียชีวิต หรือกับสังคมและชุมชนคนในสามจังหวัดเท่านั้น แต่กับสังคมไทยโดยรวมด้วย  เพราะนี่เป็นตัวอย่างที่สำคัญมากที่สุดอันหนึ่งของปัญหาความไม่เป็นธรรมที่กำลังถูกปล่อยผ่านด้วยวิธีการเยียวยาด้วยเงินและปล่อยให้เวลาลบความทรงจำในขณะที่ช่องทางการทวงถามความยุติธรรมตามระบบถึงทางตัน และอาจจะเพราะด้วยเหตุนี้ การจัดงานรำลึกหรือการพูดถึงแม้จะดูซ้ำซากแต่ก็ยังเป็นเรื่องจำเป็นสำหรับสังคมไทยเพราะเราต้องเตือนความทรงจำกันเรื่อยไปว่าปัญหาไม่ได้หายไปไหน เหตุการณ์ละเมิดแบบนี้ซึ่งถือเป็นอาชญากรรมไม่ว่าจะโดยตั้งใจหรือไม่ก็ตาม แต่ควรจะต้องเริ่มคลี่คลายกันด้วยความเป็นธรรมเป็นอันดับแรก ผู้เขียนเป็นหนึ่งในนักข่าวที่เคยสัมภาษณ์ผู้เสียหายหลายกรณีรวมทั้งตากใบและพบว่า สาระสำคัญที่ผู้เสียหายที่ถูกกระทำโดยรัฐเสนอคือพวกเขาไม่ได้ต้องการเงินมากไปกว่าความยุติธรรม ในเรื่องของตากใบที่มาพูดกันหนักในปีสองปีนี้เนื่องจากเริ่มมีผู้แสดงความเป็นห่วงกันมากกรณีอายุของคดีความที่กำลังจะหมดลงในปีหน้า จากที่ได้สนทนากับนักกฎหมายหลายคน พวกเขายอมรับว่าความเคลื่อนไหวเรื่องนี้ถึงทางตันไปนานแล้วตั้งแต่ขั้นตอนของการไต่สวนการตายซึ่งปกติแล้วถือเป็นจุดเริ่มต้นนับหนึ่งสำหรับการจะดำเนินคดีอาญาในกรณีที่พบว่ามีการตายเกิดขึ้นภายใต้การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ คำสั่งไต่สวนการตายกรณีตากใบมีออกมาห้าปีให้หลังเหตุการณ์ เมื่อเดือน พ.ค.2552 ศาลสงขลาอ่านคำสั่งไต่สวนการตายกรณี 78 […]

นวลน้อย ธรรมเสถียร

คิดถึงวีรชนคนสามัญ: 50 ปี 14 ตุลา

Reading Time: 3 minutes “แม่ผมมีร้านขายของในกรมทหารที่สนามบินน้ำ ผมช่วยแม่ขายของ” ประเวศเล่า “ช่วงนั้นทหารเขาปิดไม่ให้คนเข้าออก แล้วก่อนหน้านั้นมันก็มีการชุมนุมมาเรื่อย ผมอยากไปแต่ก็ไปไม่ได้เพราะเขาไม่ให้ออกจากค่ายทหาร พอมาถึงวันนั้นมันเป็นวันอาทิตย์ วันหยุด ผมแอบมุดรั้วหนีออกไปจนได้ ก็ไม่รู้อะไรมันดลใจให้ออกไป” แล้วประเวศก็ยกเหตุของสิ่งที่เกิดขึ้นกับเขาในวันนั้นให้เป็นเรื่องของการที่ “คนมันจะโดนยิงน่ะ”

นวลน้อย ธรรมเสถียร
นวลน้อย ธรรมเสถียร

หะยีสุหลงยังไม่ตาย

Reading Time: 2 minutes หะยีสุหลงเป็นที่จดจำในฐานะที่เป็นผู้ยื่นข้อเรียกร้องเจ็ดข้อให้กับรัฐบาล เป็นเจ็ดข้อเรียกร้องที่ว่ากันว่าสาระของมันยังคงทันสมัยเพราะแก่นของมันยังสะท้อนอยู่ในข้อเรียกร้องของกลุ่มขบวนการที่ต่อสู้เพื่อแยกพื้นที่สามจังหวัดภาคใต้อย่างกลุ่มบีอาร์เอ็น ส่วนอีกสถานะหนึ่งก็คือสถานะการเป็นผู้ถูกบังคับให้สูญหาย

นวลน้อย ธรรมเสถียร
นวลน้อย ธรรมเสถียร

ประทับตรา ‘เอกราช’ ให้กลายเป็นอาชญากรรมทางความคิด

Reading Time: < 1 minute มันไม่ใช่ว่าทุกคนในพื้นที่นี้อยากได้ “เอกราช” ที่จริงแล้วประเด็นสำคัญอยู่ตรงที่ไม่มีใครแน่ใจได้แท้จริงว่าคนที่ต้องการ “เอกราช” นั้นมีอยู่มากน้อยแค่ไหนนอกเหนือไปจากคนที่เป็นสมาชิกขบวนการกลุ่มต่าง ๆ

นวลน้อย ธรรมเสถียร
นวลน้อย ธรรมเสถียร

ว่าที่รัฐบาลใหม่กับประตูสู่สันติภาพที่ภาคใต้

Reading Time: 3 minutes 7 คณะทำงานแรกว่าที่รัฐบาลใหม่ ความหวังในเงื่อนไข MOU กระบวนสันติภาพชายแดนใต้ “ที่ยั่งยืน”

นวลน้อย ธรรมเสถียร
นวลน้อย ธรรมเสถียร

‘สื่อ’ ในสนามเลือกตั้ง

Reading Time: < 1 minute เวลาเช่นนี้จึงทำให้เราเห็นได้ถึงความสำคัญของสื่อในฐานะที่เป็นเวทีถกเถียงกันของสังคม ในฐานะที่เป็นผู้บริหารจัดการเวทีและพื้นที่ให้กับการถกเถียงเพื่อให้ผู้เสพสื่อได้ข้อมูลจากหลายฝ่ายอย่างรอบด้าน ในเรื่องนี้เราจึงเห็นความแตกต่างอย่างชัดเจนของเวทีดีเบทที่นักการเมืองหลายฝ่ายเข้าร่วมกับเวทีปราศรัยหาเสียงของแต่ละพรรคการเมือง ในขณะที่การจัดการเวทีดีเบทต้องอาศัยความสามารถของผู้จัดอย่างมากในการแจกลูกโยนคำถามและคุมเกม เวทีปราศรัยเป็นเวทีพูดฝ่ายเดียวที่ไม่มีการท้าทาย

นวลน้อย ธรรมเสถียร
นวลน้อย ธรรมเสถียร

คลุกวงในว่าด้วยเรื่องสื่อและจรรยาบรรณ

Reading Time: 2 minutes เพียงแค่เราใช้หลักการของการสื่อสารแบบมืออาชีพอย่างจริงจัง มันก็จะตอบโจทย์ได้แล้ว ความเป็นมืออาชีพที่จริงเป็นเรื่องที่เดินคู่มากับเรื่องของจรรยาบรรณอย่างแนบแน่น จนถึงวันนี้ก็ยังเชื่อมั่นว่า หากเรายึดหลักการการทำสื่อแบบมืออาชีพจริงจัง สิ่งนี้น่าจะยังเป็นคำตอบได้อยู่สำหรับการรับมือการทำข่าวในพื้นที่ความขัดแย้งสามจังหวัดภาคใต้ รวมไปถึงความขัดแย้งอื่น ๆ ที่เห็นกันอยู่ในที่อื่นใดรวมไปถึงความขัดแย้งทางการเมือง ปัญหาที่เกิดขึ้นไม่ใช่เพราะไม่ได้ใช้หลักการการสื่อสารสันติภาพ แต่เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นเนื่องมาจากการไม่ได้ทำงานแบบมืออาชีพมากกว่า

นวลน้อย ธรรมเสถียร