Economy Archives - Decode

CATEGORY Economy
Lorem ipsum dolor sit amet.

Economy

เปลี่ยน ‘วิกฤต’ แรงงานเมียนมา เป็น ‘โอกาส’ ฟื้นศก.ไทย เผือกร้อนในมือ ‘รัฐบาลอุ๊งอิ๊ง’

Reading Time: 3 minutes เรื่องใหญ่ของประเทศเพื่อนบ้านอย่าง “เมียนมา” ที่หลายเรามักเห็นตามหน้าสื่อคือ สภาพบ้านเมืองของเมียนมาในยุคเผด็จการทหาร “มิน อ่อง หล่าย” ที่พ่วงมากับสถานการณ์สงครามระหว่างฝ่ายรัฐบาลเผด็จการทหารกับกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ดังกรณีของการนำเสนอข่าวสงครามที่เมืองเมียวดีซึ่งปะทุขึ้นในช่วงเมษาหน้าร้อนที่ผ่านมา

ปิยวัฒน์ สีแตงสุก
Economy

พิมพ์เขียว PDP 2024 ยังเขียวไม่พอ?

Reading Time: 3 minutes ค่าไฟหนนี้มีรอบบิลที่แพงขึ้นและประชาชนกำลังจนลงกับแผนPDP2024 แผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้า พ.ศ.2567 -2580  ที่กำลังจะเป็นแผนบริหารจัดการพลังงานไฟฟ้าแผนใหม่ในอีกไม่กี่เร็ววันข้างหน้าได้อย่างชัดเจมแจ่มแจ้ง ยังเต็มไปด้วยเสียงคัดค้านจากภาควิชาการและภาคประชาชนว่าไม่ตอบโจทย์ต่อความยั่งยืน

ฟาห์เรนน์ นิยมเดชา
Economy

ฝันสลายใต้เครื่องหมาย “การพัฒนาอีอีซี”

Reading Time: 3 minutes ‘ลุงเคยพาออกทะเลไหม ?’ เราถาม
หลานชายในวัยประถมของลุงละม่อม ตอบ ‘เคยครับ’

แล้วโตขึ้นอยากทำประมงไหม เราถาม
หลานชายในวัยประถมของลุงละม่อม ไม่ตอบ

วิภาพร วัฒนวิทย์
Economy

หมอลำ เป็น จน ตาย เพราะรักหรือไร้หลักประกันในชีวิตแรงงานนอกระบบ 

Reading Time: 3 minutes ชีวิตบนเส้นทางความฝันสู่ความจริง เมื่อชุดเพชรแวววาวที่สวมใส่ล้อกับแสงไฟจากเวทีเพื่อให้ตัวนักแสดงเปล่งประกายท่ามกลางผู้ชมที่คอยเฝ้ามองข้างล่างเวทีนั้นกลับหนักอึ้งและถ่วงรั้ง เมื่อความสามารถการลำไม่ใช่แค่สิ่งเดียวที่การันตีถึงชีวิตที่มั่นคง

กุลธิดา กระจ่างกุล
Economy

แสนยานุภาพของขบวนการแรงงาน สายธารแห่งการลุกขึ้นสู้ [ตอนที่ 2]

Reading Time: 3 minutes คนทำงาน ฉัตรชัย พุ่มพวง สายธารการลุกขึ้นสู้และชัยชนะของขบวนแรงงานในสังคมไทย ในยุคต้นสมบูรณาญาสิทธิราชย์หลังจากที่ ร.5 รวบอำนาจจากเหล่าเจ้าขุนมูลนายทั่วอาณาบริเวณที่เหลือเป็นรัฐกันชนระหว่างเจ้าอาณานิคมทั้งฝรั่งเศสทั้งอังกฤษได้สำเร็จ ก่อเกิดเป็นรัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์ขึ้นเป็นครั้งแรก พร้อมกันนั้นได้มีการยกเลิกระบบไพร่ทาสไป เนื่องจากมีแรงงานจีนอพยพได้หลั่งไหลเข้ามาในสยามจำนวนมากตั้งแต่สมัย ร.4 ทำให้ต้นทุนของระบบไพร่ทาส เริ่มที่จะแพงและไร้ประสิทธิภาพ เมื่อเทียบกับแรงงานรับจ้างอย่างแรงงานจีน มีการปฏิรูประบบภาษีให้รวมศูนย์มาที่กษัตริย์โดยให้ทุกคนจ่ายภาษีแทนการเรียกเกณฑ์แรงงานบังคับ เมื่อสัดส่วนของแรงงานจีนในสังคมสยามมีมากขึ้น ๆ ปัญหาเรื่องสภาพการทำงานที่ย่ำแย่ จึงเข้มข้นมากขึ้นเรื่อย ๆ ปกติแล้ว เมื่อคนจีนอพยพไปอยู่ที่ไหนในโลก ก็จะมีการพยายามรวมกลุ่มกัน เป็นที่มาของคำว่า “อั้งยี่” ที่เป็นคำใช้เรียกองค์กรของแรงงานจีน ซึ่งจริง ๆ แล้วทำหน้าที่คล้ายกับสหภาพแรงงานเพื่อต่อรองกับรัฐและทุนนั่นเอง กุลีจีนเหล่านี้เป็นแรงงานกลุ่มแรก ๆ ที่สไตร์คหยุดงานในสยาม ไม่ว่าจะเป็นแรงงานจีนในเหมืองที่ภาคใต้ หรือ กุลีลากรถและกรรมกรแบกข้าวสารในพระนคร ช่วงแรกรัฐบาลสมบูรณาฯ ก็รู้สึกสะดวกในการดีลกับผู้นำของอั้งยี่ทำให้ควบคุมจัดการพวกแรงงานจีนทำได้ง่าย แต่พอนานไปเข้าก็รู้สึกได้ถึงอำนาจต่อรองที่มากเกินไป เพราะมีเหตุการณ์ที่แรงงานจีนเหล่านี้สไตร์คหยุดงาน จึงทำให้ต้องออกกฎหมายอั้งยี่ซ่องโจรออกมา เพื่อกดปราบแรงงานจีนเหล่านี้ เมื่อเกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองโดยคณะราษฎรในปี 2475 ขบวนแรงงานในสังคมไทยก็เติบโตมากขึ้นเรื่อย ๆ บางยุครวมตัวกันได้อย่างแข็งขัน บางยุคถูกฝั่งรัฐและทุนโต้กลับกดปราบ โดยเฉพาะยุคเผด็จการสฤษดิ์ ถนอม ประภาส ที่มีการใช้มาตรา 17 ประหารสุภชัย ศรีสติ ผู้นำแรงงาน […]

ฉัตรชัย พุ่มพวง
Economy

แสนยานุภาพของขบวนการแรงงาน สายธารแห่งการลุกขึ้นสู้ [ตอนที่ 1]

Reading Time: 3 minutes ตลอดประวัติศาสตร์ของมนุษย์มีตัวอย่างเหตุการณ์นัดหยุดงานประท้วงที่น่าสนใจหลายเหตุการณ์เราจะไล่เรียงกันตั้งแต่อียิปต์, โรมัน, สเปน, เดนมาร์ก และมาจบที่ไทย สุสานจะศักดิ์สิทธิ์ หรือยิ่งใหญ่แค่ไหน ก็ไม่พ้นมันสมองและสองมือของคนงาน

ฉัตรชัย พุ่มพวง
Economy

วังวน ‘คนสองรุ่น’ ถมเงินบนแปลงข้าวโพด ‘มีกินเพราะข้าวโพด อดตายก็เพราะข้าวโพด’

Reading Time: 5 minutes กว่า 40 ปีของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ไทย วังวนชีวิตที่ผูกติดกับหนี้สินของเกษตรกรข้าวโพด แปลงสีน้ำตาลที่ใช้ซ้ำจนไม่อาจเหลือที่ทำกิน และอนาคตของลูกหลาน

ธเนศ แสงทองศรีกมล
Economy

‘ตุ๊กการช่าง’ สูงวัยนอกระบบยัง’รอซ่อม’ ของช่างซ่อมพัดลมตลอดชีพ

Reading Time: 5 minutes ชีวิตที่ไร้วันเกษียณของช่างตุ๊ก ช่างซ่อมพัดลมตลอดชีวิต กับภาพสะท้อนการจัดการสังคมสูงวัยโดยสมบูรณ์ที่ความเหงาและความจนของช่างตุ๊กเป็นเครื่องยืนยัน ว่าสังคมไทยยังคงทำใครต่อใครหล่นหายด้วยความเหลื่อมล้ำนี้

นทธร เกตุชู
Economy

งานคือเงิน เงินคืองาน บันดาลทุกข์

Reading Time: 2 minutes เก่งกิจ กิติเรียงลาภ เล่าถึงสังคมที่ผู้คนขยันทำงานกันอย่างมาก และ “งานคือเงิน เงินคืองาน” นั้นกลับทำให้เงินและงานไม่ค่อย “บันดาลสุข” มากนัก งานกลับกลายเป็นแหล่งที่มาของความทุกข์มากกว่าความสุข ยกเว้นช่วงสัปดาห์แรกของเงินเดือนออกที่เราอาจจะมีความสุขมากหน่อย

เก่งกิจ กิติเรียงลาภ
Economy

เกลือสามบ่อ คนสามบ้านในหุบเขาเมืองนครไทย

Reading Time: 4 minutes ช่วงห้าหกปีมานี้ กฤช เหลือลมัย เกิดมาสนใจ และมีโอกาสได้ไปดูการทำเกลือแบบขูดดินเอียดไปเกรอะกรองน้ำเค็มต้มกระบะโลหะในเขตอีสานตอนล่างและตอนกลาง เลยเริ่มมองเกลือสินเธาว์ต่างไปจากสมัยเด็กๆ แถมเมื่อสองสามปีก่อนนี้เองครับ ที่ได้รู้จักแหล่งต้มเกลือสินเธาว์ในเขตหุบเขาเมืองนครไทย พิษณุโลก ทำให้เห็นชัดว่า เรื่องราวเบื้องหลังรสเค็มของเกลือเม็ดขาวๆ นั้น ประกอบสร้างขึ้นด้วยวัตถุ แรงงาน ลมฟ้าอากาศ ตลอดจนชะตากรรม และความเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมอาหาร โดยมีมนุษย์เป็นผู้กำหนดและกระทำการอย่างน่าสนใจยิ่ง

กฤช เหลือลมัย
Economy

ข้าวโพดนายทุน ฝุ่นข้ามแดนในภาวะสงครามเมียนมา

Reading Time: 4 minutes กว่าทศวรรษแห่งคำถามบนแปลงข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ตัวเลขส่งออกและพื้นที่ปลูกที่โตต่อเนื่อง สวนทางกับรายได้เกษตรกรบนน่านน้ำสีน้ำตาล และไฟสงครามที่เต็มไปด้วย ‘หนี้’

ธเนศ แสงทองศรีกมล
Economy

กำแพงหรือประตูปิดตาย ก่อนไทยจะไปถึงเป้าหมาย ‘เจ้าสมุทร’ ความเสี่ยงใบเหลืองค้ามนุษย์ ในเกลียวคลื่น(ร่าง)แก้ไขกฎหมายประมง

Reading Time: 4 minutes แม้หลายปีที่ผ่านมาจะมีความพยายามของประเทศไทยในการปรับปรุงกฎหมายประมงให้เทียบเท่ามาตรฐานกลเพื่อยกระดับสภาพการทำงานของแรงงาน อย่างไรก็ตาม ในทางปฏิบัติยังปรากฏความท้าทายในการนำหลักการทางกฎหมายไปบังคับใช้ จากความฉุกละหุก เร่งรีบในการออกกฎหมาย อีกทั้งขาดเสียงรอบด้านในกิจการประมงโดยเฉพาะเสียงของแรงงานในการร่วมออกแบบชีวิตการทำงานของพวกเขา และในวันนี้ 8 ร่างแก้ไขกฎหมายประมงที่กำลังมีข้อกังวลถึงความเสี่ยงด้านการปลดล็อกอุปกรณ์จับปลาทำลายล้างและการค้าทาสสมัยใหม่
หรือไทยกำลังไฟเขียวให้การค้าทาสสมัยใหม่ แต่เสี่ยงโดนใบเหลืองจากสหภาพยุโรป?

นทธร เกตุชู