Columnist Archives - Page 2 of 36 - Decode

CATEGORY Columnist
Lorem ipsum dolor sit amet.

Columnist

สังคมจมดราม่าหรือทฤษฎีสมคบคิด ‘เจ้าหญิงเคท’ เมื่อภาพก็ใช้ยืนยันไม่ได้

Reading Time: 4 minutes มีคำถามหนักขึ้นว่า ตกลงเจ้าหญิงเคทเธออยู่ไหนกันแน่ บ้างถามถึงขนาดว่ายังทรงมีชีวิตอยู่หรือไม่ มีบ้างที่สงสัยว่าการผ่าตัดอาจไม่ได้ผลหรือไม่ก็มีโรคที่ร้ายแรงมากกว่าที่เปิดเผยออกมา มีคนถามไปถึงการถูกทำร้ายร่างกายหรือถูกกักบริเวณก็มี รวมไปถึงที่ว่าหลบซ่อนตัวด้วย คือโลกโซเชียลนั้นเหมือนจะพร้อมจะเป็นแหล่งบ่มเพาะทฤษฎีสมคบคิดตลอดเวลา

Columnist

ผังเมืองก็เรื่องของชาวบ้าน

Reading Time: 2 minutes เพราะผังเมืองเป็นมากกว่าการกำหนดการใช้ที่ดิน แต่เป็นเรื่องของการต่อรองของคนในท้องถิ่นว่าต้องการเห็นเมืองพัฒนาไปในทิศทางไหน กระจายตัวอย่างไร

รศ.ดร.บุญเลิศ วิเศษปรีชา
Columnist

คิสซิงเจอร์ในความทรงจำของอินเดีย

Reading Time: 2 minutes อาจจะเป็นเพราะคิสซิงเจอร์เป็นคนแรกที่ดำรงตำแหน่งทั้งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและที่ปรึกษาความมั่นคงแห่งชาติ และได้กำหนดนโยบายการต่างประเทศและความมั่นคงของสหรัฐฯ ในช่วงสำคัญของสงครามเย็นเลยก็ว่าได้

สุรัตน์ โหราชัยกุล
Columnist

จดหมายถึงลูกสาวฉบับที่ 1 : ลูกเกิดมาพร้อมกับของฟรี และการให้อย่างไม่มีเงื่อนไขของมนุษยชาติ

Reading Time: < 1 minute การรอคอยส่วนมากทรมานและกระวนกระวาย แต่การรอคอย 9 เดือนนี้ ดูยาวนาน แต่ไม่ทรมาน เป็นการรอคอยที่เปี่ยมความสุข เป็นการรอคอยที่ไม่มีเงื่อนไขและความคาดหวังอะไรนอกจากที่จะได้เห็นเจ้าตัวน้อย

รศ.ดร.ษัษฐรัมย์ ธรรมบุษดี
Columnist

อ่านประวัติศาสตร์และการเมืองไทยปี 2566 ผ่านหนังสือ 10 เล่ม

Reading Time: 4 minutes มีหนังสือที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวของประชาชนครั้งประวัติศาสตร์นี้ออกมาหลายเล่ม ในขณะที่หนังสือที่เกี่ยวข้องกับบทบาทของกองทัพ และประวัติศาสตร์สยามช่วงรอยต่อของการเปลี่ยนผ่านจากรัฐสมัยเก่าสู่รัฐชาติและความทันสมัยก็ถือเป็นธีมที่โดดเด่นของวงการหนังสือประวัติศาสตร์สังคมการเมืองในปีนี้

รศ.ดร.ประจักษ์ ก้องกีรติ
Columnist

รัฐบาล(กระจก)เงาของคนไร้บ้าน

Reading Time: < 1 minute เมื่อมาถึงวิกฤตโควิด  ปัญหาที่รุนแรงอยู่แล้วก็ยิ่งทวีความรุนแรง  จำนวนคนไร้บ้านเพิ่มขึ้นหลายเท่าอย่างเห็นได้ชัดตามถนนหนทาง  จากคนจำนวนมากที่ต้องตกงาน  หลายคนที่มีปัญหาครอบครัวรุมเร้าอยู่ก็มาถึงจุดแตกหักเมื่อต้องมากักตัวร่วมกันในที่แคบๆ  หลายคนเข้ามาทำงานและอาศัยอยู่ในเมืองนานจนไม่เหลือความเชื่อมโยงใดๆ กับบ้านเกิด  และไม่มีที่ทางที่อื่นที่จะไปนอกจากหาทางอยู่รอดต่อในเมืองต่อแม้ไม่มีงานทำ   

วีรพร นิติประภา
Columnist

บัวโนสไอเรสถึงอัมสเตอร์ดัม เมื่อคลื่นเอียงขวายังพัดแรง

Reading Time: < 1 minute ที่ว่าสั่นสะเทือนเพราะผลการเลือกตั้งนั้นออกมาอย่างผิดความคาดหมาย นักการเมืองและพรรคการเมืองที่มีแนวคิดเอียงขวาสุดโต่งทั้งมีท่วงท่าทางการเมืองแบบแหกคอกนอกขนบกลายเป็นฝ่ายชนะการเลือกตั้ง

รศ.ดร.ประจักษ์ ก้องกีรติ
Columnist

ดีกรีของความเป็นชุมชน

Reading Time: 3 minutes แม้ว่าปัจจุบันคนจำนวนมากพูดคุยผ่านสื่อสังคมออนไลน์บ่อยครั้งกว่าพูดคุยเพื่อนบ้านที่อาศัยอยู่ติดกันเสียอีก แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าชุมชนบนฐานของสถานที่ (place-based community) ที่ผู้คนพบหน้าค่าตากันจริง ๆ จะหมดความหมายโดยสิ้นเชิง และหากเปรียบเทียบกันแล้ว สถานที่ที่ผู้คนได้พบหน้ากันตัวเป็น ๆ ช่วยส่งเสริมให้เกิดความเหนียวแน่นมากกว่าชุมชนไร้สถานที่ (place-less community) เช่น ชุมชนบนโลกออนไลน์

รศ.ดร.บุญเลิศ วิเศษปรีชา
Columnist

50 ปีระบอบถนอม: นายพล สงครามเย็น และประชาธิปไตยแบบไทย ตอนที่ 2

Reading Time: < 1 minute ในตอนที่แล้ว ผมเขียนถึงประเด็นสำคัญจากหนังสือเนื้อในระบอบถนอม ที่เป็นผลงานการค้นคว้าโดยอาจารย์ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ ไปแล้ว 3 ประเด็นว่าด้วยรอยต่อที่ไม่แนบสนิทระหวางรัฐบาลของสองนายพล คือ สฤษดิ์ ธนะรัชต์กับถนอม กิตติขจร ประเด็นความไม่เป็นเอกภาพในกองทัพ และประเด็นคณะรัฐประหารกับการสืบทอดอำนาจผ่านการเลือกตั้ง ในตอนที่สองซึ่งเป็นตอนจบนี้จะว่าด้วยประเด็นอื่น ๆ ที่เหลืออีก 4 ประเด็นด้วยกัน

รศ.ดร.ประจักษ์ ก้องกีรติ
Columnist

50 ปีระบอบถนอม: นายพล สงครามเย็น และประชาธิปไตยแบบไทย ตอนที่ 1

Reading Time: 2 minutes สังคมไทยควรศึกษาบทเรียนจากอดีตให้ถ่องแท้ว่าระบอบอำนาจนิยมมีกลวิธีสืบทอดอำนาจอย่างไร เพื่อรู้เท่าทันและหาทางป้องกันไม่ให้ประวัติศาสตร์ซ้ำรอยอีกในอนาคต

รศ.ดร.ประจักษ์ ก้องกีรติ
Columnist

ตากใบ กระจกสะท้อนกระบวนการยุติธรรม

Reading Time: 2 minutes ขยายประเด็น นวลน้อย ธรรมเสถียร ผ่านกันไปอีกปีหนึ่งสำหรับวันครบรอบเหตุการณ์ตากใบเมื่อ 25 ตุลาคมที่ผ่านมา หลาย ๆ ฝ่ายได้ใช้โอกาสนี้ในการแสดงออกเรื่องปัญหาความไม่เป็นธรรมซึ่งก็เหมือนกับอีกหลายเหตุการณ์ คือเมื่อถึงคราวครบรอบก็พูดกันทีหนึ่ง แต่สรุปแล้วก็อาจจะแค่ได้พูดถึงเท่านั้น อันที่จริงจะพูดว่าไม่มีอะไรใหม่เกิดขึ้นเลยก็อาจจะไม่ตรงทีเดียวนัก เพราะปีนี้เราได้เห็นกลไกของรัฐสภาออกแถลงการณ์เรื่องตากใบ โดยคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณาศึกษาและเสนอแนวทางการส่งเสริมกระบวนการสร้างเพื่อแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งเป็นกรรมาธิการวิสามัญที่เพิ่งจะตั้งขึ้นมาใหม่ ทำให้รัฐสภามีความเคลื่อนไหวในเรื่องสำคัญคือปัญหาความขัดแย้งในพื้นที่สามจังหวัดภาคใต้ในจังหวะที่สอดรับกับสถานการณ์อย่างมาก เนื้อหาแถลงการณ์ที่ออกมาเมื่อ 25 ตุลาคมที่ผ่านมามีสาระสำคัญเรียกร้องให้รัฐบาลสร้างความเป็นธรรมในกรณีตากใบ โดยระบุอย่างจำเพาะเจาะจงให้มีการดำเนินคดีอาญากับเจ้าหน้าที่รัฐที่เกี่ยวข้องกับการสลายการชุมนุมที่นำไปสู่การเสียชีวิตของคนจำนวน 85 คนให้ทันก่อนที่อายุความของคดีอาญาจะหมดลงในปีหน้า ยิ่งกว่านั้นยังเรียกหามาตรการที่จะจำกัดไม่ให้เจ้าหน้าที่รัฐใช้อำนาจเกินขอบเขต ไม่บังคับใช้กฎหมายจนเกิดการเลือกปฏิบัติและลิดรอนสิทธิเสรีภาพของประชาชน โดยเรียกร้องให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมหรือไม่ก็ยกเลิกกฎหมายความมั่นคงที่ใช้อยู่ในพื้นที่ซึ่งมีอยู่สามฉบับคือกฎอัยการศึก พรก.ฉุกเฉินและพรบ.ความมั่นคง แถลงการณ์บอกว่า การสร้างความเป็นธรรมบังคับใช้กฎหมายอย่างเสมอภาคจะเป็นการ “ถอนฟืนออกจากไฟ” คือลดความรู้สึกเชิงลบที่ประชาชนมีต่อเจ้าหน้าที่และจะเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างบรรยากาศการพูดคุยได้ แถลงการณ์จากรัฐสภาฉบับนี้ผู้เขียนถือว่ามีความหมายอย่างยิ่ง แม้ว่าในทางความเป็นจริงของชีวิต จะเป็นที่รู้กันว่าการจัดการปัญหาภาคใต้ยังคงอยู่ในมือของข้าราชการประจำฝ่ายความมั่นคงซึ่งระบบเข้มแข็งขึ้นอย่างมากภายในเวลาเกือบเก้าปีของรัฐบาลประยุทธ์ จันทร์โอชา และก็ต้องยอมรับด้วยว่ากลไกของรัฐบาลพลเรือนชุดใหม่ยังไม่เข้มแข็งพอในอันที่จะกำหนดมาตรการที่เกี่ยวกับสามจังหวัดภาคใต้ได้อย่างเต็มที่ การที่พรรคการเมืองในรัฐสภาสามารถแสดงบทบาทติดตามกระบวนการสร้างสันติภาพได้อย่างเป็นทางการ อย่างน้อยก็เป็นย่างก้าวสำคัญของการที่กลไกที่เป็นตัวแทนประชาชนจะเข้ามามีส่วนในเรื่องกระบวนการแก้ปัญหาสามจังหวัดภาคใต้ได้ การออกแถลงการณ์เรื่องของเหตุการณ์ตากใบถือได้ว่าเป็นการจัดวางท่วงทำนองที่อ่านได้ว่าฝ่ายตัวแทนของประชาชนมองความขัดแย้งในพื้นที่ จชต.เป็นปัญหาด้านการเมืองอย่างชัดเจน กรณีตากใบไม่ได้มีความสำคัญต่อเฉพาะพ่อแม่ญาติพี่น้องของคนที่เสียชีวิต หรือกับสังคมและชุมชนคนในสามจังหวัดเท่านั้น แต่กับสังคมไทยโดยรวมด้วย  เพราะนี่เป็นตัวอย่างที่สำคัญมากที่สุดอันหนึ่งของปัญหาความไม่เป็นธรรมที่กำลังถูกปล่อยผ่านด้วยวิธีการเยียวยาด้วยเงินและปล่อยให้เวลาลบความทรงจำในขณะที่ช่องทางการทวงถามความยุติธรรมตามระบบถึงทางตัน และอาจจะเพราะด้วยเหตุนี้ การจัดงานรำลึกหรือการพูดถึงแม้จะดูซ้ำซากแต่ก็ยังเป็นเรื่องจำเป็นสำหรับสังคมไทยเพราะเราต้องเตือนความทรงจำกันเรื่อยไปว่าปัญหาไม่ได้หายไปไหน เหตุการณ์ละเมิดแบบนี้ซึ่งถือเป็นอาชญากรรมไม่ว่าจะโดยตั้งใจหรือไม่ก็ตาม แต่ควรจะต้องเริ่มคลี่คลายกันด้วยความเป็นธรรมเป็นอันดับแรก ผู้เขียนเป็นหนึ่งในนักข่าวที่เคยสัมภาษณ์ผู้เสียหายหลายกรณีรวมทั้งตากใบและพบว่า สาระสำคัญที่ผู้เสียหายที่ถูกกระทำโดยรัฐเสนอคือพวกเขาไม่ได้ต้องการเงินมากไปกว่าความยุติธรรม ในเรื่องของตากใบที่มาพูดกันหนักในปีสองปีนี้เนื่องจากเริ่มมีผู้แสดงความเป็นห่วงกันมากกรณีอายุของคดีความที่กำลังจะหมดลงในปีหน้า จากที่ได้สนทนากับนักกฎหมายหลายคน พวกเขายอมรับว่าความเคลื่อนไหวเรื่องนี้ถึงทางตันไปนานแล้วตั้งแต่ขั้นตอนของการไต่สวนการตายซึ่งปกติแล้วถือเป็นจุดเริ่มต้นนับหนึ่งสำหรับการจะดำเนินคดีอาญาในกรณีที่พบว่ามีการตายเกิดขึ้นภายใต้การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ คำสั่งไต่สวนการตายกรณีตากใบมีออกมาห้าปีให้หลังเหตุการณ์ เมื่อเดือน พ.ค.2552 ศาลสงขลาอ่านคำสั่งไต่สวนการตายกรณี 78 […]

นวลน้อย ธรรมเสถียร
Columnist

พื้นที่สาธารณะของบางกอก

Reading Time: < 1 minute ประเทศเต็มไปด้วยคำตอบอันปราศจากคำถาม วีรพร นิติประภา เมืองคือที่ผู้คนอยู่อาศัยร่วมกัน  หัวใจของเมืองจึงอยู่ที่พื้นที่สาธารณะหรือพื้นที่ที่ไม่ใช่ของใครคนใดแต่เป็นของทุกคน  ไม่ใช่บ้านเรือนส่วนตัวของใครของมัน สำหรับคนชั้นกลางในกรุงเทพฯ ที่มีรายได้มากพอจะมีที่อยู่อาศัยกว้างขวางสักหน่อย …ไม่ต้องใหญ่ มีเงินเหลือพอท่องเที่ยวใกล้ไกลบ้าง …ไม่ต้องบ่อย หรือมีรายได้มากพอจะขับรถยนต์ส่วนตัวขับไปกินอาหารตามร้านชานเมืองหรือริมน้ำ …บางครั้ง พื้นที่สาธารณะอาจไม่มีความสำคัญมากนัก แต่คนจำนวนมากของกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นหนึ่งเมืองประชากรมากที่สุดในโลก นอกจากจะใช้ชีวิตประจำวันในพื้นที่จอแจพลุกพล่าน เดินทางโดยรถโดยสารยัดเยียดแออัด มีความสามารถเช่าพักที่อาศัยได้แค่ห้องเล็ก ๆ คับแคบ และหลายคน…ห้องที่ว่ายังใช้อาศัยร่วมกันทั้งครอบครัวจนล้น มิหนำซ้ำยังซ่อนอยู่ในกลางชุมชนแออัดทั้งแนวตั้งและแนวนอน …พวกเขาไม่มีรายได้มากพอจะเดินทางออกไปสูดอากาศหรือหย่อนใจที่ไหน พื้นที่สาธารณะที่มีไม่มากนักเมื่อเทียบกับอัตราประชากรจึงเรียกได้ว่าเป็นหนึ่งในสิ่งจำเป็นขั้นพื้นฐานด้วยซ้ำ มันสำคัญยิ่งยวดต่อสุขภาวะทางกายและใจ และเป็นสิ่งเหลือหล่อเลี้ยงยืนยันความเป็นมนุษย์ก็ว่าได้ ไม่ใช่แค่ที่ให้หย่อนใจซึ่งฟังดูหรูหราและไม่มีความจำเป็น พื้นที่สาธารณะในเมืองส่วนใหญ่คือทางเท้า ซึ่งก็แคบ ๆ  เป็นคอนกรีตเปลือยร้อน ๆ ใกล้ย่านชุมชนก็จะทั้งพลุกพล่านและสกปรก ไม่มีที่ให้นั่งพักเวลาเมื่อยด้วยซ้ำอย่าว่าแต่หย่อนใจ แถมยังทอดขนาบไปกับถนนจอแจที่รถติดขนัดเกือบทุกเส้น และเต็มไปด้วยควันไอเสีย พื้นที่ว่างอย่างลานคอนกรีตหรือสนามหญ้าตามหน้าอาคารก็ไม่ใช่พื้นที่สาธารณะ แต่เป็นสิทธิ์ของทั้งเอกชนและราชการ ซึ่งก็ปล่อยว่างไว้เพียงเพื่อให้สถานที่ดูร่มรื่นสวย กับสงวนไว้ใช้จัดกิจกรรมส่วนตัวเท่านั้น และมีรักษาความปลอดภัยคอยตรวจตราดูแลไม่ให้คนเข้าไปนั่งเล่นหย่อนใจ พื้นที่สาธารณะจริง ๆ จึงเหลือแค่สวนสาธารณะ ที่มีพื้นที่โล่งกว้างกับต้นไม้ใหญ่หน่อยก็มีสวนลุมพินี สวนเบญจกิตติ สวนรถไฟ สวนสราญรมย์ สวนรมณีนาถ สวนปทุมวนานุรักษ์ที่เพิ่งเปิดใหม่ กับที่น่าตื่นใจและเป็นความหวังของชาวกรุงคืออุทยานเฉลิมพระเกียรติที่ยังไม่เสร็จเปิดที่สนามม้านางเลิ้งเดิม ซึ่งสวนเหล่านี้จะว่าเข้าถึงได้ง่ายก็ง่ายเพราะอยู่ใจกลางเมือง จะว่ายากก็ยากเพราะล้อมรอบด้วยรถติดหนัก และจะว่าไปยังขาดแคลนอากาศหายใจ ส่วนสวนหลวงร.เก้า พุทธมณฑล สวนพฤกษชาติคลองจั่น สวนศรีนครเขื่อนขันธ์บางกระเจ้า ที่ร่มรื่นกว่ามากและอากาศดีก็ห่างไกล กับจะสะดวกต่อการไปมาก็ต่อเมื่อมีพาหนะส่วนตัว พื้นที่ริมน้ำนอกจากสวนสันติไชยปราการซึ่งไม่ใหญ่นักก็นึกไม่ออกว่ามีที่ไหนอีก สวนที่เหลือก็เป็นแค่ส่วนหย่อมเล็ก ๆ และไม่มีต้นไม้ใหญ่ทั่วไปตรงนั้นตรงนี้ โดยรวมการดูแลบำรุงรักษาสวนสาธารณะของ กทม.ยังต้องขอบอกว่าไม่ดีเท่าไหร่นัก  ต้นไม้แคระแกร็น ไม่ใคร่สมบูรณ์ สนามกีฬาใหญ่มีที่ปทุมวัน หัวหมาก และไทย-ญี่ปุ่นดินแดง ทั้งสามแห่งมีพื้นที่ว่างโดยรอบที่ให้เข้าไปใช้สอยหย่อนใจได้พอควร แต่ก็ยังน้อยแห่งเกินไป นอกจากนั้นก็มีวัดวาต่าง ๆ ที่มีที่นั่งและพื้นที่ให้ญาติโยมเข้าไปใช้ได้ แต่ความที่เป็นสถานศักดิ์สิทธิ์รวมทั้งยังเป็นสถานฌาปนกิจตั้งสวด ก็อาจทำให้ไม่ค่อยได้รับความนิยมเท่าที่ควร นอกจากนั้นก็มีห้องสมุดสาธารณะ ซึ่งก็มีหลายแห่งมาก ๆ แต่เท่าที่เคยผ่านไปไม่กี่แห่งก็ต้องยอมรับว่าไม่น่าประทับใจนัก ขนาดเล็กจ้อย หนังสือก็มีไม่กี่เล่ม ไม่น่าสนใจและเก่า หนังสือวิชาการ ความรู้ และวรรณกรรมน้อยมากทั้งที่ห้องสมุดสาธารณะคือสถานพัฒนา เพิ่มพูนความรู้ และเกื้อกูลชดเชยให้กับคนด้อยโอกาสทางการศึกษา เห็นได้ชัดว่าได้รับทุนอุดหนุนน้อย และไม่มีเจตจำนงแข็งแรงในการบริหารจัดการ มองจริงจังจะพบว่าเรามีพื้นที่สาธารณะในเมืองไม่น้อยโดยเฉพาะพื้นที่กลางแจ้ง แต่ผู้คนกลับใช้สอยไม่มากเท่าที่ควร ด้วยเหตุไม่กี่เหตุ ไม่ว่าจะเป็นสิ่งก่อสร้างใหญ่จำนวนมากที่ทำให้ตัวเมืองเก็บความร้อน ปัญหาจราจรที่ไม่เคยแก้ไขได้จริงจัง ซึ่งทำให้พื้นที่สาธารณะกลายเป็นพื้นที่เปิดสำหรับมลภาวะอย่างหนักทั้งเสียงและอากาศ  รวมทั้งใช้เวลานานกว่าจะไปถึง กับขนส่งมวลชนไม่ทั่วถึงที่ทำให้การเข้าถึงพื้นที่สาธารณะเป็นไปได้ยากลำบากเกินไป เป็นเรื่องน่าตกใจไม่น้อยที่เมื่อมองลงไปจะพบว่าคุณภาพเมือง คุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ สุขภาพทางกายและใจ ของคนนับสิบล้าน ตามทะเบียนราษฎร์และอาจมีจำนวนอยู่จริงมากกว่านั้นถึงเท่าตัวของเมืองขนาดเมกก้า  ตกต่ำและผุกร่อนจากปัญหาแค่ผังเมืองที่ยังคงขยายตัวไร้ระเบียบ การบริหารจัดการการจราจรและขนส่งมวลชน …ซึ่งไม่มีปัญหาใด ๆ ในโลกที่หากแก้ไขจริงจังจะแก้ไขไม่ได้

วีรพร นิติประภา