สันติภาพชายแดนใต้ Archives - Decode

TAG สันติภาพชายแดนใต้
Lorem ipsum dolor sit amet.

Crack Politics

สันติภาพยิ่งพร่าเลือน วิธีแก้ปัญหาสามจังหวัดชายแดนใต้ยิ่งต้องทบทวน

Reading Time: 3 minutes ที่ผ่านมาเรามักมีคำถามกันเสมอว่าเพดานของการแก้ไขปัญหาสามจังหวัดภาคใต้ของรัฐบาลอยู่ที่ไหน ถ้าพิจารณาเงื่อนไขการพูดคุยสันติภาพระหว่างรัฐบาลกับกลุ่มบีอาร์เอ็นจะพบว่า มีการกำหนดเอาไว้ว่าการพูดคุยจะต้องกระทำโดยอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ นั่นก็น่าจะชัดแล้วว่า ยกเว้นเรื่องของการแยกดินแดนแล้วเรื่องอื่นๆที่รัฐธรรมนูญยอมให้ทำได้ย่อมเป็นไปได้ทั้งสิ้น หนทางเดินต่อไปในการแก้ปัญหาจึงไม่ใช่เรื่องลี้ลับพิสดารอันใด อยู่ที่ว่าจะเสนอกันแค่ไหนและองคาพยพต่างๆของรัฐไทยจะยอมรับกันได้หรือไม่เท่านั้น ผู้เขียนเชื่อว่าข้อเสนอของกรรมาธิการฯจะเป็นเพียงจุดตั้งต้นให้ฝ่ายต่างๆเหล่านี้ได้ต่อรองกัน อย่างน้อยที่สุดก็ในรัฐสภาซึ่งในเวลานี้เห็นชัดเจนว่าฝ่ายที่อนุรักษ์ส่วนใหญ่ไปกระจุกตัวกันอยู่ในกลุ่มสว.และสว.นั่นเองที่เกาะติดการทำงานแก้ปัญหาภาคใต้ของรัฐบาลที่ผ่านมา  

สันติภาพชายแดนใต้

สันติภาพยิ่งพร่าเลือน วิธีแก้ปัญหาสามจังหวัดชายแดนใต้ยิ่งต้องทบทวน

Reading Time: 3 minutes ที่ผ่านมาเรามักมีคำถามกันเสมอว่าเพดานของการแก้ไขปัญหาสามจังหวัดภาคใต้ของรัฐบาลอยู่ที่ไหน ถ้าพิจารณาเงื่อนไขการพูดคุยสันติภาพระหว่างรัฐบาลกับกลุ่มบีอาร์เอ็นจะพบว่า มีการกำหนดเอาไว้ว่าการพูดคุยจะต้องกระทำโดยอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ นั่นก็น่าจะชัดแล้วว่า ยกเว้นเรื่องของการแยกดินแดนแล้วเรื่องอื่นๆที่รัฐธรรมนูญยอมให้ทำได้ย่อมเป็นไปได้ทั้งสิ้น หนทางเดินต่อไปในการแก้ปัญหาจึงไม่ใช่เรื่องลี้ลับพิสดารอันใด อยู่ที่ว่าจะเสนอกันแค่ไหนและองคาพยพต่างๆของรัฐไทยจะยอมรับกันได้หรือไม่เท่านั้น ผู้เขียนเชื่อว่าข้อเสนอของกรรมาธิการฯจะเป็นเพียงจุดตั้งต้นให้ฝ่ายต่างๆเหล่านี้ได้ต่อรองกัน อย่างน้อยที่สุดก็ในรัฐสภาซึ่งในเวลานี้เห็นชัดเจนว่าฝ่ายที่อนุรักษ์ส่วนใหญ่ไปกระจุกตัวกันอยู่ในกลุ่มสว.และสว.นั่นเองที่เกาะติดการทำงานแก้ปัญหาภาคใต้ของรัฐบาลที่ผ่านมา  

นวลน้อย ธรรมเสถียร
สันติภาพชายแดนใต้

‘ปาตานี’ ฉบับชาติ(ไม่)นิยม

Reading Time: 2 minutes ความเชื่อต่อทั้งสองประวัติศาสตร์ไม่นับว่าเป็นเรื่องแปลก สำหรับผู้ที่ศึกษาประวัติศาสตร์เพราะนักเรียนประวัติศาสตร์จะระลึกอยู่เสมอว่า “ประวัติศาสตร์มีชุดความจริงมากกว่าหนึ่งเสมอ” แต่ความแปลกของเรื่องนี้คืออะไร เป็นคำถามเปิดชวนคิดและตั้งคำถาม ต่อใต้จิตสำนึกในฐานะผู้รักและห่วงแหนดินแดน แม้บางครั้งความรักนี้ได้พลัดพรากสิทธิอันควรจะเป็นจากคนอื่นไปบ้าง อย่างเช่นสิทธิของคนปาตานี ที่เริ่มเลือนหายไป จากจุดเริ่มต้นของ “สนธิสัญญาแองโกล-สยาม 1909”

ฟาห์เรนน์ นิยมเดชา
สันติภาพชายแดนใต้

‘ปาตานี’ ในสายตาคนรุ่นหลัง ยังมีไหม ‘ความหวัง’ แห่งสันติภาพ

Reading Time: 3 minutes คำว่า “ปาตานี” และ “เอกราช” ไม่ใช่คำที่ใส่เข้ามาอย่างไม่มีต้นสายปลายเหตุ คำทั้งสองเกิดจากความเข้าใจความเป็นมาทางประวัติศาสตร์ของพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และความเข้าใจต่อปัญหาในพื้นที่ปัจจุบันของอีแป็งและเพื่อน บทสนทนานี้อาจจะช่วยให้เข้าใจเจตนาของพวกเขาได้บ้าง โดยตลอดทั้งบทความ (รวมถึงชื่อบทความ) จะขอเรียกพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ว่า “พื้นที่ปาตานี” เพื่อให้สื่อสาร “เสียง” ของคู่สนทนาออกมาได้อย่างชัดเจนที่สุด

ปิยวัฒน์ สีแตงสุก
สันติภาพชายแดนใต้

ตากใบ กระจกสะท้อนกระบวนการยุติธรรม

Reading Time: 2 minutes ขยายประเด็น นวลน้อย ธรรมเสถียร ผ่านกันไปอีกปีหนึ่งสำหรับวันครบรอบเหตุการณ์ตากใบเมื่อ 25 ตุลาคมที่ผ่านมา หลาย ๆ ฝ่ายได้ใช้โอกาสนี้ในการแสดงออกเรื่องปัญหาความไม่เป็นธรรมซึ่งก็เหมือนกับอีกหลายเหตุการณ์ คือเมื่อถึงคราวครบรอบก็พูดกันทีหนึ่ง แต่สรุปแล้วก็อาจจะแค่ได้พูดถึงเท่านั้น อันที่จริงจะพูดว่าไม่มีอะไรใหม่เกิดขึ้นเลยก็อาจจะไม่ตรงทีเดียวนัก เพราะปีนี้เราได้เห็นกลไกของรัฐสภาออกแถลงการณ์เรื่องตากใบ โดยคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณาศึกษาและเสนอแนวทางการส่งเสริมกระบวนการสร้างเพื่อแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งเป็นกรรมาธิการวิสามัญที่เพิ่งจะตั้งขึ้นมาใหม่ ทำให้รัฐสภามีความเคลื่อนไหวในเรื่องสำคัญคือปัญหาความขัดแย้งในพื้นที่สามจังหวัดภาคใต้ในจังหวะที่สอดรับกับสถานการณ์อย่างมาก เนื้อหาแถลงการณ์ที่ออกมาเมื่อ 25 ตุลาคมที่ผ่านมามีสาระสำคัญเรียกร้องให้รัฐบาลสร้างความเป็นธรรมในกรณีตากใบ โดยระบุอย่างจำเพาะเจาะจงให้มีการดำเนินคดีอาญากับเจ้าหน้าที่รัฐที่เกี่ยวข้องกับการสลายการชุมนุมที่นำไปสู่การเสียชีวิตของคนจำนวน 85 คนให้ทันก่อนที่อายุความของคดีอาญาจะหมดลงในปีหน้า ยิ่งกว่านั้นยังเรียกหามาตรการที่จะจำกัดไม่ให้เจ้าหน้าที่รัฐใช้อำนาจเกินขอบเขต ไม่บังคับใช้กฎหมายจนเกิดการเลือกปฏิบัติและลิดรอนสิทธิเสรีภาพของประชาชน โดยเรียกร้องให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมหรือไม่ก็ยกเลิกกฎหมายความมั่นคงที่ใช้อยู่ในพื้นที่ซึ่งมีอยู่สามฉบับคือกฎอัยการศึก พรก.ฉุกเฉินและพรบ.ความมั่นคง แถลงการณ์บอกว่า การสร้างความเป็นธรรมบังคับใช้กฎหมายอย่างเสมอภาคจะเป็นการ “ถอนฟืนออกจากไฟ” คือลดความรู้สึกเชิงลบที่ประชาชนมีต่อเจ้าหน้าที่และจะเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างบรรยากาศการพูดคุยได้ แถลงการณ์จากรัฐสภาฉบับนี้ผู้เขียนถือว่ามีความหมายอย่างยิ่ง แม้ว่าในทางความเป็นจริงของชีวิต จะเป็นที่รู้กันว่าการจัดการปัญหาภาคใต้ยังคงอยู่ในมือของข้าราชการประจำฝ่ายความมั่นคงซึ่งระบบเข้มแข็งขึ้นอย่างมากภายในเวลาเกือบเก้าปีของรัฐบาลประยุทธ์ จันทร์โอชา และก็ต้องยอมรับด้วยว่ากลไกของรัฐบาลพลเรือนชุดใหม่ยังไม่เข้มแข็งพอในอันที่จะกำหนดมาตรการที่เกี่ยวกับสามจังหวัดภาคใต้ได้อย่างเต็มที่ การที่พรรคการเมืองในรัฐสภาสามารถแสดงบทบาทติดตามกระบวนการสร้างสันติภาพได้อย่างเป็นทางการ อย่างน้อยก็เป็นย่างก้าวสำคัญของการที่กลไกที่เป็นตัวแทนประชาชนจะเข้ามามีส่วนในเรื่องกระบวนการแก้ปัญหาสามจังหวัดภาคใต้ได้ การออกแถลงการณ์เรื่องของเหตุการณ์ตากใบถือได้ว่าเป็นการจัดวางท่วงทำนองที่อ่านได้ว่าฝ่ายตัวแทนของประชาชนมองความขัดแย้งในพื้นที่ จชต.เป็นปัญหาด้านการเมืองอย่างชัดเจน กรณีตากใบไม่ได้มีความสำคัญต่อเฉพาะพ่อแม่ญาติพี่น้องของคนที่เสียชีวิต หรือกับสังคมและชุมชนคนในสามจังหวัดเท่านั้น แต่กับสังคมไทยโดยรวมด้วย  เพราะนี่เป็นตัวอย่างที่สำคัญมากที่สุดอันหนึ่งของปัญหาความไม่เป็นธรรมที่กำลังถูกปล่อยผ่านด้วยวิธีการเยียวยาด้วยเงินและปล่อยให้เวลาลบความทรงจำในขณะที่ช่องทางการทวงถามความยุติธรรมตามระบบถึงทางตัน และอาจจะเพราะด้วยเหตุนี้ การจัดงานรำลึกหรือการพูดถึงแม้จะดูซ้ำซากแต่ก็ยังเป็นเรื่องจำเป็นสำหรับสังคมไทยเพราะเราต้องเตือนความทรงจำกันเรื่อยไปว่าปัญหาไม่ได้หายไปไหน เหตุการณ์ละเมิดแบบนี้ซึ่งถือเป็นอาชญากรรมไม่ว่าจะโดยตั้งใจหรือไม่ก็ตาม แต่ควรจะต้องเริ่มคลี่คลายกันด้วยความเป็นธรรมเป็นอันดับแรก ผู้เขียนเป็นหนึ่งในนักข่าวที่เคยสัมภาษณ์ผู้เสียหายหลายกรณีรวมทั้งตากใบและพบว่า สาระสำคัญที่ผู้เสียหายที่ถูกกระทำโดยรัฐเสนอคือพวกเขาไม่ได้ต้องการเงินมากไปกว่าความยุติธรรม ในเรื่องของตากใบที่มาพูดกันหนักในปีสองปีนี้เนื่องจากเริ่มมีผู้แสดงความเป็นห่วงกันมากกรณีอายุของคดีความที่กำลังจะหมดลงในปีหน้า จากที่ได้สนทนากับนักกฎหมายหลายคน พวกเขายอมรับว่าความเคลื่อนไหวเรื่องนี้ถึงทางตันไปนานแล้วตั้งแต่ขั้นตอนของการไต่สวนการตายซึ่งปกติแล้วถือเป็นจุดเริ่มต้นนับหนึ่งสำหรับการจะดำเนินคดีอาญาในกรณีที่พบว่ามีการตายเกิดขึ้นภายใต้การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ คำสั่งไต่สวนการตายกรณีตากใบมีออกมาห้าปีให้หลังเหตุการณ์ เมื่อเดือน พ.ค.2552 ศาลสงขลาอ่านคำสั่งไต่สวนการตายกรณี 78 […]

นวลน้อย ธรรมเสถียร
สันติภาพชายแดนใต้

ว่าที่รัฐบาลใหม่กับประตูสู่สันติภาพที่ภาคใต้

Reading Time: 3 minutes 7 คณะทำงานแรกว่าที่รัฐบาลใหม่ ความหวังในเงื่อนไข MOU กระบวนสันติภาพชายแดนใต้ “ที่ยั่งยืน”

นวลน้อย ธรรมเสถียร
สันติภาพชายแดนใต้

ทางตันสันติภาพใต้ รอลม (การเมือง) เปลี่ยนทิศ

Reading Time: 2 minutes กระบวนการสันติภาพภาคใต้ระหว่างรัฐบาลและกลุ่มบีอาร์เอ็นนั้นขณะนี้ยังอยู่ในขั้นตอนของการ “พูดคุย” คือ dialogue ยังไปไม่ถึงการ “เจรจา” หรือ negotiate และก็อยู่ในขั้นนี้มาหลายปีแล้วด้วยอาการขึ้น ๆ ลง ๆ

นวลน้อย ธรรมเสถียร
สันติภาพชายแดนใต้

สันติภาพไม่ได้อยู่แค่บนโต๊ะเจรจา

Reading Time: < 1 minute ในหมู่คนทำงานในภาคประชาสังคมชายแดนใต้ เริ่มมีการตั้งคำถามมากขึ้นและอย่างจริงจังว่ากระบวนการสันติภาพที่กำลังดำเนินอยู่นั้นมีพื้นที่ให้กับประเด็นของภาคประชาชนมากน้อยเพียงใด

นวลน้อย ธรรมเสถียร
สันติภาพชายแดนใต้

จินตนาการสังคมใหม่ใน ‘ปาตานี’

Reading Time: 2 minutes ช่วงนี้กระบวนการสันติภาพในสามจังหวัดภาคใต้กำลังเข้าสู่จังหวะก้าวที่น่าสนใจ แม้ว่าหากมองอย่างผิวเผินดูเหมือนจะไม่ค่อยมีความเคลื่อนไหวที่มีนัยสำคัญมากนัก แต่ลึกลงไปแล้ว สิ่งที่กำลังเกิดขึ้นถือเป็นความท้าทายอย่างสำคัญต่อวิธีคิดที่ดำเนินต่อเนื่องมานาน

นวลน้อย ธรรมเสถียร
สันติภาพชายแดนใต้

ลดความรุนแรงก่อนคุยสันติภาพ ?

Reading Time: < 1 minute ถ้อยแถลงของทุกฝ่ายบ่งชี้ว่าการพูดคุยสันติภาพกำลังจะเข้าสู่ขั้นตอนสำคัญ นั่นคือจะเริ่มคุยกันในเรื่องของเนื้อหาที่จะนำไปสู่การคลี่คลายความขัดแย้ง

นวลน้อย ธรรมเสถียร
สันติภาพชายแดนใต้

จับตาการพูดคุยสันติภาพสามจังหวัดใต้ บนโจทย์ใหม่ของการหาทางออกทางการเมือง

Reading Time: < 1 minute การนัดหมายพบปะในเดือนมกราคมจึงมีความสำคัญในเชิงของการสานต่อสิ่งที่เริ่มมาแล้วรวมทั้งกลบภาพของความแน่นิ่งไปด้วยในเวลาเดียวกัน

นวลน้อย ธรรมเสถียร
สันติภาพชายแดนใต้

สนทนาสามจังหวัดชายแดนใต้

Reading Time: 2 minutes พวกเขาล้วนมองเป็นเรื่องไกลตัว ในแง่นี้นั้น เท่ากับว่ามอบหมายอำนาจในการจัดการให้กับกลไกรัฐอย่างสิ้นเชิง

นวลน้อย ธรรมเสถียร