Crack Politics

ผู้ลี้ภัยนับแสนยังไร้ ‘สถานะ’ กลายเป็นปัญหาของเราทุกคน

Reading Time: 2 minutes วงเสวนาที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ผู้ลี้ภัยในประเทศไทยเกิดขึ้นบริเวณย่านรามคำแหง มีตัวแทนทั้งจากสภาผู้แทนราษฎร คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน ภาคประชาสังคมที่ทำงานเกี่ยวกับผู้ลี้ภัย หน่วยงานรัฐ และภาคส่วนอื่น ๆ ที่ไม่อาจเปิดเผยรายละเอียดได้ เนื่องด้วยเป็นวงเสวนาแบบปิดที่ไม่อาจเปิดเผยรายละเอียดและเนื้อหาทั้งหมด ผู้สื่อข่าวได้ขออนุญาตนำเสนอเนื้อหาบางส่วน อันเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ

ฟาห์เรนน์ นิยมเดชา

เหลือเพียงความทรงจำ เมื่อกำแพงกันคลื่น กลืนชายหาด

Reading Time: 2 minutes ผมเกิดที่ทะเล โตมากับทะเล อยู่กับชายหาดตั้งแต่จำความได้ ผมและเพื่อนเตะบอลชายหาดหลังเลิกเรียนทุกวันและชะล้างเศษทรายบนร่างกายด้วยการโดดน้ำทะเล ก่อนจะกลับไปเจอกับไม้เรียวพ่อที่ถือท่ารออยู่ เพราะเป็นบ้านที่พ่อไม่อนุญาติให้เล่นทะเล ทุกเดือนเมษาจะมีหน้าทรายก่อตัวขึ้นบนผิวน้ำที่เดินลงไปในทะเลเกือบ 50 เมตร เหมือนพวกเราเดินอยู่บนน้ำได้อย่างไรอย่างนั้น ผมเพิ่งรู้จากหนังสือเล่มนี้เช่นกัน ว่าหน้าทรายที่ก่อตัวขึ้น คือตะกอนทรายที่รอเข้าทับถมชายหาดเข้าเติมหาดทราย หลังจากผ่านหน้ามรสุมมาอย่างยาวนาน (หน้ามรสุมก่อตัวขึ้นตั้งแต่เดือนกรกฎาคมและลาจากไปในเดือนธันวาคม) แต่ชายหาดวันนี้ไม่เหมือนเดิม ไม่มีหาดทรายให้เหล่าเด็กผู้ชายได้เตะบอล ไม่มีหน้าทรายที่ก่อตัวขึ้นในช่วงเดือนเมษายน ทั้งหมดทั้งมวลนี้ เป็นผลมาจากกำแพงกันคลื่นยาวกว่าหนึ่งกิโลเมตร จนผมได้มาเจอนักเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อม น้ำนิ่ง อภิศักดิ์ ทัศนี ที่ทำงานด้านการกัดเซาะชายฝั่ง และรณรงค์ให้ข้อมูลว่ากำแพงกันคลื่นไม่ได้คืนชายหาดอย่างที่ทางการไทยชอบว่าไว้ แต่มันกลืนชายหาด และปล่อยโครงสร้างทางกายภาพทิ้งไว้ ให้เป็นแผลเป็นจากรุ่นสู่รุ่นสืบไป โครงสร้างแข็งยาแรงที่มีผลข้างเคียง ยากจะเยียวยา ก่อนจะเข้าใจเนื้อหาโดยรวมของหนังสือ ผู้เขียนเริ่มต้นด้วยการพาเรารู้จักกับรูปแบบต่าง ๆ ของโครงสร้างทางวิศวกรรมที่เอาไว้ป้องกันแนวชายฝั่ง ซึ่งแบ่งออกเป็นสามแบบที่มีการใช้อยู่ในปัจจุบันอย่างแพร่หลาย คือ กำแพงกันคลื่น รอดักทราย และเขื่อนกันคลื่น โครงสร้างแต่ละประเภททำหน้าที่ต่างกัน แต่ล้วนมีผลกระทบต่อชายหาดทั้งสิ้น ซึ่งรูปแบบที่ถูกใช้มากที่สุดในบ้านเราคือโครงสร้างประเภทกำแพงกันคลื่น ที่เป็นโครงสร้างแบบคอนกรีตเสริมเหล็ก หรือหินก้อนใหญ่เรียงต่อกันไปตามแนวชายฝั่ง นับตั้งแต่ปี 2550 เราสูญเสียงบประมาณในการถล่มชายหาดไปแล้วกว่าหมื่นล้าน แต่ตัวเลขนี้ยังไม่น่าจะตกใจเมื่อเราเทียบดูว่าในช่วง 2550-2557 รัฐใช้เงินในการสร้างกำแพงกันคลื่นไปเพียงแค่ 1,900 ล้าน แต่หลังจากประกาศยกเลิกว่ากำแพงกันคลื่นต้องทำ EIA […]

ฟาห์เรนน์ นิยมเดชา
ฟาห์เรนน์ นิยมเดชา

ค่ายนรกในซินเจียงอุยกูร์

Reading Time: 2 minutes ย ซึ่งหลายคนล้วนเป็นผู้สูงอายุ ไม่สามารถสื่อสารภาษาจีน และนับถือศาสนาอิสลาม เวร่าเอาแต่นึกว่า “ฉันรักประเทศชาติไม่มากพอไม่ได้ช่วยเหลือพรรครัฐบาลและประเทศชาติ แต่นี่ไม่ใช่ความผิดของฉัน มันเกิดจากความกลัวอิสลามที่แพร่กระจายและเพ่งเล็งมาที่ฉัน

ฟาห์เรนน์ นิยมเดชา
ฟาห์เรนน์ นิยมเดชา

คำ(บังคับ)สารภาพของจำเลยใต้กฎอัยการศึก

Reading Time: 3 minutes ความผิดปกติของกระบวนการยุติธรรมภายใต้กฎอัยการศึก
“เขาใช้เท้าเตะก้านคอผม และบอกให้ผมรับสารภาพ” และ  “เขาบอกให้ผมรับสารภาพ ครอบครัวผมจะได้ปลอดภัย” นี่คือส่วนหนึ่งจากจดหมายคำให้การของจำเลยที่ถูกจับกุมและถูกควบคุมตัวจากคดีระเบิดป่วนกรุงเทพฯเมื่อปี2562 ซึ่งจำเลยได้ตัดสินใจเขียนเล่าให้ทนายว่าเขาถูกปฏิบัติอย่างไรขณะควบคุมตัว

ฟาห์เรนน์ นิยมเดชา
ฟาห์เรนน์ นิยมเดชา

เอเรวอน ดินแดนไร้แห่งหน

Reading Time: 2 minutes ดินแดนที่ท้าทายต่อขนบวิธีคิดแบบเดิม ไร้เหตุผลและหลักการทางวิทยาศาสตร์มารองรับ มองถึงจินตนาการที่ไม่อาจนึกถึง นี่จึงเป็นเสน่ห์อย่างเดียวของเอเรวอนที่ชัดเจนแจ่มแจ้งที่สุด บัตเลอร์ชวนคิดกับผู้อ่าน ตั้งคำถามกับการเปลี่ยนแห่งยุคสมัยที่ไม่มีใครอาจไปถึง

ฟาห์เรนน์ นิยมเดชา
ฟาห์เรนน์ นิยมเดชา

ผู้หญิงในสนามผู้แทนชายแดนใต้ ถอนคำสบประมาท “อย่าไปเลือกผู้หญิง”

Reading Time: 2 minutes การเมืองในทุกระดับ ทุกสนามการแข่งขัน มีผู้ชายมากกว่าผู้หญิงในทุกสนาม การเลือกตั้งผู้แทนราษฎร 2566 ครั้งนี้ก็เช่นเคย ที่สัดส่วนผู้หญิงคิดเป็น18.3% เมื่อเทียบขจาดสัดส่วนทั้งหมด ยิ่งในสนามจังหวัดชายแดนใต้ด้วยแล้ว ผู้หญิงในสนามผู้แทน จากปากหมอเพชรดาว ส.ส.หญิงหนึ่งเดียวในชายแดนใต้จากบัญชีรายชื่อของพรรคภูมิใจไทยในรัฐสภาชุดที่ผ่านมาบอกว่า ผู้หญิงจะเจอความไม่พร้อมมากกว่าผู้ชาย “เพราะในอิสลาม ต้องขออนุญาตสามีก่อน”

ฟาห์เรนน์ นิยมเดชา