ชายแดนใต้ Archives - Decode

TAG ชายแดนใต้
Lorem ipsum dolor sit amet.

Play Read

‘ปาตานี’ ฉบับชาติ(ไม่)นิยม

Reading Time: 2 minutes ความเชื่อต่อทั้งสองประวัติศาสตร์ไม่นับว่าเป็นเรื่องแปลก สำหรับผู้ที่ศึกษาประวัติศาสตร์เพราะนักเรียนประวัติศาสตร์จะระลึกอยู่เสมอว่า “ประวัติศาสตร์มีชุดความจริงมากกว่าหนึ่งเสมอ” แต่ความแปลกของเรื่องนี้คืออะไร เป็นคำถามเปิดชวนคิดและตั้งคำถาม ต่อใต้จิตสำนึกในฐานะผู้รักและห่วงแหนดินแดน แม้บางครั้งความรักนี้ได้พลัดพรากสิทธิอันควรจะเป็นจากคนอื่นไปบ้าง อย่างเช่นสิทธิของคนปาตานี ที่เริ่มเลือนหายไป จากจุดเริ่มต้นของ “สนธิสัญญาแองโกล-สยาม 1909”

ชายแดนใต้

‘ปาตานี’ ฉบับชาติ(ไม่)นิยม

Reading Time: 2 minutes ความเชื่อต่อทั้งสองประวัติศาสตร์ไม่นับว่าเป็นเรื่องแปลก สำหรับผู้ที่ศึกษาประวัติศาสตร์เพราะนักเรียนประวัติศาสตร์จะระลึกอยู่เสมอว่า “ประวัติศาสตร์มีชุดความจริงมากกว่าหนึ่งเสมอ” แต่ความแปลกของเรื่องนี้คืออะไร เป็นคำถามเปิดชวนคิดและตั้งคำถาม ต่อใต้จิตสำนึกในฐานะผู้รักและห่วงแหนดินแดน แม้บางครั้งความรักนี้ได้พลัดพรากสิทธิอันควรจะเป็นจากคนอื่นไปบ้าง อย่างเช่นสิทธิของคนปาตานี ที่เริ่มเลือนหายไป จากจุดเริ่มต้นของ “สนธิสัญญาแองโกล-สยาม 1909”

ฟาห์เรนน์ นิยมเดชา
ชายแดนใต้

‘ปาตานี’ ในสายตาคนรุ่นหลัง ยังมีไหม ‘ความหวัง’ แห่งสันติภาพ

Reading Time: 3 minutes คำว่า “ปาตานี” และ “เอกราช” ไม่ใช่คำที่ใส่เข้ามาอย่างไม่มีต้นสายปลายเหตุ คำทั้งสองเกิดจากความเข้าใจความเป็นมาทางประวัติศาสตร์ของพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และความเข้าใจต่อปัญหาในพื้นที่ปัจจุบันของอีแป็งและเพื่อน บทสนทนานี้อาจจะช่วยให้เข้าใจเจตนาของพวกเขาได้บ้าง โดยตลอดทั้งบทความ (รวมถึงชื่อบทความ) จะขอเรียกพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ว่า “พื้นที่ปาตานี” เพื่อให้สื่อสาร “เสียง” ของคู่สนทนาออกมาได้อย่างชัดเจนที่สุด

ปิยวัฒน์ สีแตงสุก
ชายแดนใต้

รักหม้ายยอมเปลี่ยนแปลง? บทใหม่การเมืองภาคใต้กับหัวหน้าพรรคคนใหม่

Reading Time: 2 minutes วิกฤตที่เกิดขึ้นกับพรรคประชาธิปัตย์ครั้งนี้ ไม่ใช่แค่เรื่องของตัวพรรค แต่เกี่ยวโยงกับอุดมการณ์ทางการเมืองในภาคใต้ ซึ่งในบทสนทนานี้ De/code ชวน รศ. ดร. บูฆอรี ยีหมะ อาจารย์ประจำคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา มาร่วมถอดรหัสบทใหม่(?)ของการเมืองภาคใต้ ที่ไม่ใช่แค่ “ส่งเสาไฟฟ้าลงก็ชนะ” อีกต่อไป

ปิยวัฒน์ สีแตงสุก
ชายแดนใต้

คำ(บังคับ)สารภาพของจำเลยใต้กฎอัยการศึก

Reading Time: 3 minutes ความผิดปกติของกระบวนการยุติธรรมภายใต้กฎอัยการศึก
“เขาใช้เท้าเตะก้านคอผม และบอกให้ผมรับสารภาพ” และ  “เขาบอกให้ผมรับสารภาพ ครอบครัวผมจะได้ปลอดภัย” นี่คือส่วนหนึ่งจากจดหมายคำให้การของจำเลยที่ถูกจับกุมและถูกควบคุมตัวจากคดีระเบิดป่วนกรุงเทพฯเมื่อปี2562 ซึ่งจำเลยได้ตัดสินใจเขียนเล่าให้ทนายว่าเขาถูกปฏิบัติอย่างไรขณะควบคุมตัว

ฟาห์เรนน์ นิยมเดชา
ชายแดนใต้

ผู้หญิงในสนามผู้แทนชายแดนใต้ ถอนคำสบประมาท “อย่าไปเลือกผู้หญิง”

Reading Time: 2 minutes การเมืองในทุกระดับ ทุกสนามการแข่งขัน มีผู้ชายมากกว่าผู้หญิงในทุกสนาม การเลือกตั้งผู้แทนราษฎร 2566 ครั้งนี้ก็เช่นเคย ที่สัดส่วนผู้หญิงคิดเป็น18.3% เมื่อเทียบขจาดสัดส่วนทั้งหมด ยิ่งในสนามจังหวัดชายแดนใต้ด้วยแล้ว ผู้หญิงในสนามผู้แทน จากปากหมอเพชรดาว ส.ส.หญิงหนึ่งเดียวในชายแดนใต้จากบัญชีรายชื่อของพรรคภูมิใจไทยในรัฐสภาชุดที่ผ่านมาบอกว่า ผู้หญิงจะเจอความไม่พร้อมมากกว่าผู้ชาย “เพราะในอิสลาม ต้องขออนุญาตสามีก่อน”

ฟาห์เรนน์ นิยมเดชา
ชายแดนใต้

สันติภาพชายแดนใต้เดินมาได้ไม่ไกลพอ

Reading Time: 2 minutes จากการยุติการพูดคุยอย่างเป็นทางการหลังรัฐประหารในปี 2557 เวทีพูดคุยเจรจาก็เกิดขึ้นอีกครั้งในปี 2562 หลังจากได้รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ซึ่งครั้งนี้ ได้พล.อ.วัลลภ รักเสนาะ อดีตเลขาธิการ สมช.เป็นหัวหน้าคณะพูดคุยของ Party A จวบจนถึงปัจจุบัน แม้เมื่อพิจารณาจากรายละเอียดแล้ว ยังไม่มีความคืบหน้าอย่างเป็นรูปธรรม แต่ก็เห็นความพยายามของทั้งสองฝ่ายในการลดท่าทีที่แข็งกร้าวลง เพื่อรักษาเวทีและบรรยากาศของการพูดคุยเพื่อหาทางออกให้ได้

ฟาห์เรนน์ นิยมเดชา
ชายแดนใต้

ลดความรุนแรงก่อนคุยสันติภาพ ?

Reading Time: < 1 minute ถ้อยแถลงของทุกฝ่ายบ่งชี้ว่าการพูดคุยสันติภาพกำลังจะเข้าสู่ขั้นตอนสำคัญ นั่นคือจะเริ่มคุยกันในเรื่องของเนื้อหาที่จะนำไปสู่การคลี่คลายความขัดแย้ง

นวลน้อย ธรรมเสถียร
ชายแดนใต้

นั่งแลหนังฟังคนเล่า : หลายฉากหลากทัศนะชายแดนใต้ผ่านหนังสั้นของคน “วงใน”

Reading Time: 2 minutes นอกจาก “ระเบิด” ยังนึกถึงอะไรอีกบ้างเมื่อพูดถึงสามจังหวัดชายแดนใต้?.ภาพจำความรุนแรงที่ถูกฉายซ้ำอาจกำลังเบี่ยงเบนสายตาคนนอกไม่ให้เห็น “ภาพจริง” อีกมากมายที่ตกค้างอยู่ในพื้นที่ หลายปัญหาจึงเรื้อรังและวนลูปไม่จบสิ้น คำถามต่อมาคือแล้ว “คนใน” จะเล่าเรื่องที่ไม่เคยถูกเล่าให้คนนอกฟังอย่างไรได้บ้าง

อติรุจ ดือเระ
ชายแดนใต้

อุ่นแดดที่ตากใบ ความไม่บังเอิญบนเส้นทางสายใหม่ตากใบ-กลันตัน

Reading Time: 2 minutes อุ่นแดด 1,171 กิโลเมตร จากกรุงเทพถึงตากใบ … เราถูกเชื้อเชิญมาที่นี่พร้อมความหวังของชาวบ้านที่ลุกโชนขึ้นกับการก่อรูปก่อร่างเส้นทางใหม่ของการท่องเที่ยวเชิงชุมชนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ จากตากใบ นราธิวาส ถึง กลันตัน มาเลเซีย… 6 โมง 10 นาที พระอาทิตย์โผล่พ้นผืนน้ำไม่ผิดเวลาจากที่ชาวบ้านบอกไว้แม้แต่นาทีเดียว เบื้องหน้าคือทะเลอ่าวไทยไกลสุดลูกหูลูกตา เบื้องหลังคือแม่น้ำตากใบที่ทอดตัวยาวมาจากแม่น้ำสุไหงโกลก สะพานไม้เก่าขนาบคู่สะพานคอนกรีตที่เพิ่งสร้างใหม่ ชาวบ้านที่นี่เรียกว่า ‘สะพานคอย 100 ปี’ สะพานที่ตัดขวางข้ามแม่น้ำตากใบมายัง “เกาะยาว​”  ที่เรายืนอยู่นี้ มันเชื่อมพี่น้องมุสลิมชาวเกาะยาวกับพี่น้องไทยพุทธบนแผ่นดินใหญ่มาเนิ่นนานนับร้อยปี ที่นี่ถูกปักหมุดไว้ให้เป็น 1 ในจุดหมายของเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงชุมชนที่ชาวบ้านกำลังสร้างขึ้นมา เพื่อหวังว่า 3 จังหวัดชายแดนใต้จะกลายเป็นปลายทางหนึ่งของนักท่องที่ยวต่างชาติหรือภายในประเทศเอง …แต่ดูเหมือนภาพความสวยงามเบื้องหน้ากลับขัดแย้งกับความเป็นจริงที่เกิดขึ้นในพื้นที่ 4 มกราคม 2547 หลังเหตุการณ์ปล้นปืนจากกองพันพัฒนาที่ 4 ค่ายกรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ หลังกระสุนนัดแรกถูกลั่นไกออกไป ดูเมือนแรงสั่นสะเทือนของกระสุนนัดนั้นจะสร้างรอยปริแตกให้เกิดขึ้นทั่วทุกพื้นที่ชายแดนใต้ “หลังเหตุการณ์ความรุนแรงเกิดขึ้น ความสัมพันธ์ของพวกเรา 2 ชุมชนก็เปลี่ยนไป จากเคยกินนอนด้วยกัน เดินไปโรงเรียนด้วยกัน ไปมาหาสู่กัน มันกลายเป็นความไม่สนิทใจ ความสงสัยที่เราก็ไม่รู้ว่ามันคืออะไรแต่มันรู้สึกแบบนั้น” คำบอกเล่าของอาจารย์จักรคนในพื้นที่ชุมชนวัดชลธราสิงเห ย้อนให้เราฟังถึงความสัมพันธ์ในครั้งก่อน […]

กาญจนา ปลอดกรรม