Explain
สถานะอันเลือนรางของอาชีพไรเดอร์
พูดคุยกับตัวแทนไรเดอร์ ที่มองว่าอาชีพนี้ยังไม่ควรค่าแก่การทำมันเป็นงานประจำ และทางออกร่วมกันที่ทั้งบริษัทแพลตฟอร์ม และไรเดอร์จะอยู่ร่วมกันอย่างสมดุล ภายในโลกเศรษฐกิจแพลตฟอร์ม
พูดคุยกับตัวแทนไรเดอร์ ที่มองว่าอาชีพนี้ยังไม่ควรค่าแก่การทำมันเป็นงานประจำ และทางออกร่วมกันที่ทั้งบริษัทแพลตฟอร์ม และไรเดอร์จะอยู่ร่วมกันอย่างสมดุล ภายในโลกเศรษฐกิจแพลตฟอร์ม
พูดคุยกับตัวแทนไรเดอร์ ที่มองว่าอาชีพนี้ยังไม่ควรค่าแก่การทำมันเป็นงานประจำ และทางออกร่วมกันที่ทั้งบริษัทแพลตฟอร์ม และไรเดอร์จะอยู่ร่วมกันอย่างสมดุล ภายในโลกเศรษฐกิจแพลตฟอร์ม
“ดราม่าฟู๊ดแพนด้า” ไม่สามารถทำให้คนตั้งคำถาม ถึงอำนาจของแพลตฟอร์มและสถานะคนงานของไรเดอร์?
เมื่อกฎเกณฑ์ไม่เป็นธรรม จึงเป็นธรรมดาที่การแข่งขันย่อมไม่เป็นธรรมตามไปด้วย และผู้เล่นที่กำลังเสียเปรียบในสนามรบอันป่าเถื่อนของธุรกิจแพลตฟอร์มกลับเป็นผู้มีส่วนได้เสียที่เหลือทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นคนงาน ผู้บริโภค หรือร้านค้า-ผู้ค้ารายย่อย
ลองจินตนาการกันว่าหากเวลาส่วนใหญ่ในการทำงานของคุณหมดไปกับการรอ เวลาที่ถูกใช้ในการทำงานอาจมีน้อย แต่ตราบเท่าที่คุณได้รับค่าตอบแทนจากเวลาที่คุณใช้ไปทั้งหมด ก็คงไม่มีปัญหาอะไรกับการต้องรอ
“อาหารจากเหงื่อและเลือดของคนงาน” ไรเดอร์ส่งอาหารชาวจีนคนหนึ่ง ที่เปลวไฟกำลังลุกไหม้จนเกิดควันไฟขึ้นบนร่าง กลายเป็นไวรัลไปทั่วประเทศจีน หลังจากเขาถูกปฏิเสธการจ่ายค่าแรงที่แพลตฟอร์มยึดเอาไว้
สถาบันแรงงานและเศรษฐกิจที่เป็นธรรม (JELI) ร่วมกับกรรมาธิการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย และมูลนิธิฟรีดริค เอแบร์ท (FES) รวมทั้งตัวแทนจากคนงานแพลตฟอร์ม จัดงานสัมมนา “แรงงานแพลตฟอร์ม: จะกำหนดอนาคตการจ้างงานอย่างไรให้คนงานมีส่วนร่วม” เพื่อทำความเข้าใจสถานการณ์ปัญหาของแรงงานแพลตฟอร์ม
‘อาชีพอิสระ สิทธิ์ที่พึงได้ อายุการใช้งาน ยาพารา และใบจำนำของ’ 4-5 อย่างนี้ คือข้าวของ และเหตุการณ์ที่เราอยากเล่าผ่านชีวิตไรเดอร์คนหนึ่ง
“ไรเดอร์” เข้าพบคณะที่ปรึกษารัฐมนตรีกระทรวงแรงงาน และตัวแทนจากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน เพื่อยื่นหนังสือ และเรียกร้องสิทธิ์การคุ้มครองสวัสดิการการทำงานผ่านระบบแพลตฟอร์มที่ตอนนี้ยังไม่มีการดูและและคุ้มครองที่เป็นธรรม โดยเฉพาะในทางกฎหมาย
แพลตฟอร์มเดลิเวอรี่นั้น ไม่ได้ทำหน้าที่เป็นเพียง “นายหน้า” จับคู่ผู้ให้และผู้รับบริการ ตามความเข้าใจทั่วไปเท่านั้น ในมุมมองด้านแรงงานเชิงวิพากษ์ แพลตฟอร์มเหล่านี้ยังทำหน้าที่เป็นผู้ซื้อ “กำลังแรงงาน” ที่ถูกเสนอขายโดยพนักงานขนส่งหรือไรเดอร์ผ่านช่องทางที่บริษัทแพลตฟอร์มเป็นผู้พัฒนาระบบขึ้น มองจากเลนส์ของการจ้างงานแล้วแพลตฟอร์มเดลิเวอรี่จึงเป็นแพลตฟอร์มแรงงาน
ความนิยมในการสั่งอาหารผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ ทำให้เกิดการขยายตัวของงานส่งอาหารรายชิ้น ที่มีชื่อเรียกอย่างเก๋ไก๋ว่า ‘งานกิ๊ก’ (gig work) โดยพนักงานขี่มอเตอร์ไซต์ส่งอาหารหรือ “ไรเดอร์” ที่บริษัทแพลตฟอร์มกำหนดสถานะเป็น “พาร์ทเนอร์” หรือหุ้นส่วน แต่กระบวนการทำงานที่เป็นจริงไม่ต่างจากพนักงานของบริษัท
ในวันที่การงานแห่งอนาคตพามนุษย์กลับไปทำงานหนักและเปราะบางยิ่งกว่ายุคไหน ๆ คุยกับนักวิชาการแรงงาน จาก ‘แรงงานขี่มอเตอร์ไซต์ส่งอาหาร’ ถึง ‘เศรษฐกิจสมานฉันท์’ ดร.เกรียงศักดิ์ ธีระโกวิทขจร ผู้อำนวยการสถาบันแรงงานและเศรษฐกิจที่เป็นธรรม
‘รายได้ดี มีอิสระ ออกแบบการทำงานได้ด้วยตัวคุณเอง’ คือ 3 คียเวิร์ดหลักของอาชีพที่มาแรงที่สุดแห่งยุค อย่างอาชีพ ‘ไรเดอร์’ หรือ พนักงานรับส่งสินค้าด้วยรถจักรยานยนต์ จากจุดเริ่มต้นที่ใครหลายคนใช้เป็นอาชีพเสริมเพื่อหารายได้พิเศษ มาวันนี้ด้วยพิษเศรษฐกิจที่ไม่มีทีท่าว่าจะดีขึ้น ซ้ำเติมไปด้วยการเข้ามาของโควิดดิสรัปชั่น ส่งผลให้อาชีพไรเดอร์กลายมาเป็นอาชีพหลักของแรงงานยุค 2020