รัฐสวัสดิการ Archives - Page 2 of 7 - Decode

TAG รัฐสวัสดิการ
Lorem ipsum dolor sit amet.

Columnist

จดหมายถึงลูกสาวฉบับที่ 2 : มีผู้คนต่อสู้มาก่อนเรา เจ็บช้ำมาก่อนเรา และพวกเขาทำให้เรามีวันนี้

Reading Time: < 1 minute ประกายไฟลามทุ่ง รศ.ดร.ษัษฐรัมย์ ธรรมบุษดี จดหมายฉบับที่สองก่อนที่พ่อจะได้เจอหน้าลูกสาวของพ่อ ลูกจะได้เกิดและเติบโตมาในโลกที่มีหลากหลายความหมาย โลกที่บางมุมก็สวยงามและมหัศจรรย์ แต่ก็มีอีกหลายมุมที่ลูกอาจฉงนสงสัยว่า ในโลกที่สวยงามขนาดนี้เหตุใดยังมีความโหดร้ายระหว่างกันมากมาย ในความขัดแย้งนี้สิ่งที่พ่ออยากจะบอกลูกคือ โลกมนุษย์เราเคยมีช่วงเวลาที่เลวร้ายไม่ว่าพวกเราจะตั้งใจหรือไม่ตั้งใจ เราสร้างความอดอยากขึ้นท่ามกลางความอุดมสมบูรณ์ สร้างความยากจนขึ้นมาท่ามกลางความร่ำรวย เราสร้างยารักษาโรคมากมายที่ทำให้ชีวิตมนุษย์ยืนนานเพิ่มได้หลายสิบปีพร้อม ๆ กับสร้างอาวุธสงครามที่คร่าชีวิตมนุษย์นับแสนได้ในไม่กี่วินาที และมนุษย์เราก็ก้าวพ้นความขัดแย้งเหล่านี้ได้ ไม่ได้เกิดขึ้นโดยคนที่มีสติปัญญาปราดเปรื่อง นักรบที่กล้าหาญ หรือเศรษฐีคนใด แต่มันเกิดจากการส่งเสียงของคนธรรมดา ที่ไม่ยอมจำนนต่อความไม่เป็นธรรม ก่อนหน้านี้ มนุษย์แบ่งแยกกันด้วยสีผิวและชาติกำเนิด คนสีผิวหนึ่งไม่ได้รับการคุ้มครองด้วยหลักการที่เท่าเทียมกัน ไม่ถูกคำนึงว่าเป็นมนุษย์ พวกเขาทำงานโดยไม่ได้รับค่าจ้าง ถูกกังขังเหมือนสัตว์เลี้ยง และไม่มีสิทธิ์เสียงในการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับความเป็นไปของสังคมที่พวกเขาอยู่ พ่อไม่ได้จะบอกลูกว่าสิ่งเหล่านี้ได้หายไปหมด มนุษย์ยังคงแบ่งแยกกดขี่ระหว่างกัน เมื่อครั้งที่มนุษย์ต่อสู้เพื่อการเลิกทาส ยังมีนายทุนจำนวนมากบอกว่าเศรษฐกิจจะล้มละลายถ้ามีการเลิกทาสและทำให้ทุกคนได้รับค่าจ้างที่เป็นธรรมรวมถึงมีสิทธิเสมอภาคกับเหล่านายทาส ถ้าเราใช้หลักเศรษฐศาสตร์กำหนดความเป็นไปของโลก เรายังคงมีทาสอยู่ การเปลี่ยนแปลงทั้งหมดนี้ไม่ได้เกิดจากการคำนวณแต่เกิดจากการยืนยันต่อสู้ของคนธรรมดาที่ไร้อำนาจ ใช้วิธีที่สันติอารยะขัดขืนบ้าง และบางครั้งพวกเขาก็เดิมพันด้วยชีวิตของพวกเขาในการยืนยันสิทธิที่พวกเขาควรมีตั้งแต่แรก พวกเขาทำให้เราสามารถมีชีวิตที่ดีได้ในวันนี้ มนุษยชาติดูเหมือนจะฉลาดกว่าสิ่งมีชีวิตอื่น แต่ก็มีบางเรื่องที่พวกเขาโง่เง่ามาหลายศตวรรษ มนุษย์ที่ไม่ใช่เพศกำเนิดชายเพิ่งจะมีโอกาสที่เสมอภาคกันหน้าคูหาเลือกตั้งเมื่อไม่ร้อยกว่าปีมานี่เอง การเลือกปฏิบัติสำหรับเพศหญิง และคนที่มีเพศสภาวะไม่ตรงกับเพศกำเนิดเคยเป็นเรื่องรุนแรงในศตวรรษที่แล้ว มีหลายคนที่เสียชีวิตและถูกทำร้ายโดยกระบวนยุติธรรมอย่างเป็นทางการของรัฐ รวมถึงศาลเตี้ยของระบบชายเป็นใหญ่เพียงแค่พวกเขามีความปรารถนาในชีวิต และวิถีทางเพศที่แตกต่างไป แต่การต่อสู้ของคนธรรมดาที่ไร้อำนาจ ผลักดันให้ความเท่าเทียมกันเป็นเรื่องปกติ ทำให้ผู้หญิงธรรมดาสามารถที่จะท้าทาย มีความรักได้อย่างเสรี เมื่อสมัยพ่อเด็ก ๆ คำว่า “ชายแท้” หรือ […]

รัฐสวัสดิการ

Post-Election (2) การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ เปลี่ยนทุนนิยมให้มีหัวใจ

Reading Time: < 1 minute ความต้องการของประชาชนจึงไม่ใช่ความเมตตาทางเศรษฐกิจ แต่พวกเขาปรารถนาต่อการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ และข้ออ้างของกลุ่มทุนผูกขาดว่าพวกเขาเก่ง ขยัน หรือฉลาดจนได้รับความมั่งคั่งมหาศาลนี้ก็สมเหตุสมผลน้อยลงทุกทีในสายตาของประชาชน

รศ.ดร.ษัษฐรัมย์ ธรรมบุษดี
รัฐสวัสดิการ

ตั้งสหภาพแรงงาน สร้างรัฐสวัสดิการ เมื่อนโยบายเพื่อคนหมู่มาก ถูกมองว่าสุดโต่ง(?)

Reading Time: 3 minutes เชื่อว่าปัญหาแรงงานมีให้พูดถึงได้ทุกวัน ไม่ใช่เฉพาะในวันแรงงาน การกดขี่ขูดรีจากนายจ้าง-นายทุนเกิดขึ้นอยู่ตลอดไม่ว่าจะทางตรงหรือทางอ้อม หลายคนทำงานเกินเวลาโดยไม่ได้รับโอทีจนเป็นเรื่องปกติ และที่ทำงานนหลายแห่งความเป็นไปได้ในการรวมตัวต่อรองเท่ากับศูนย์

ปิยวัฒน์ สีแตงสุก
รัฐสวัสดิการ

บัตรคนจนผลักสวัสดิการไทยให้ล้าหลัง

Reading Time: < 1 minute ชวนพิจารณาถึงฐานความคิด ที่สะท้อนความเป็นอนุรักษนิยมด้านสวัสดิการผ่านสองนโยบายคือนโยบายระบบสวัสดิการแบบคูปองและระบบสวัสดิการที่ผูกกับการพิสูจน์ความจน

รศ.ดร.ษัษฐรัมย์ ธรรมบุษดี
รัฐสวัสดิการ

เขย่าถุงเงิน สปสช. เหยียบคันเร่งสวัสดิการข้ามเพศ

Reading Time: 2 minutes การมีสวัสดิการทางด้านการข้ามเพศ ที่จะทำให้การข้ามเพศไม่ได้เป็นแค่เรื่องของความอยาก แต่เป็นความจำเป็นที่ทุกคนเข้าถึงได้ แล้วสังคมก็จำเป็นต้องเข้าใจและลดความอคติจากเรื่องเพศให้ลดลงด้วย เพราะคนข้ามเพศไม่ได้อยากได้มากกว่าคนอื่น พวกเขาแค่อยากให้สังคมเหล่านั้นโอบรับถึงความแตกต่างและการสนับสนุนสวัสดิการเรื่องการข้ามเพศที่มีความจำเป็นต่อคนข้ามเพศหรือคนที่อาจจะตัดสินใจเป็นคนข้ามเพศในอนาคต

วิชญ์ช​นนท์​ ปิติ​ชัย​ธ​นา​โชติ​
รัฐสวัสดิการ

สังคมที่เริ่มต้นเท่ากันมันดีกับทุกคน?

Reading Time: < 1 minute เราไม่ได้เรียกร้องให้คนที่เกิดมามีต้นทุนชีวิต +3 +4 ลงมาติดลบหรือเริ่มต้นที่ศูนย์แต่อย่างใด เราแค่อยากให้เด็กน้อยที่ชีวิตติดลบ ได้เริ่มต้นใกล้เคียงกับลูกหลานชนชั้นกลางที่มีโอกาสมากล้นในเมือง มันไม่ใช่เพียงแค่ความยุติธรรมตามกฎหมาย หรือความยุติธรรมในการแข่งขันทางเศรษฐกิจ แต่หมายรวมถึงความยุติธรรมในสังคมที่ทำให้เราสามารถเข้าถึงสวัสดิการที่ดีได้เช่นการเรียนหนังสือ การรักษาพยาบาล เงินบำนาญ ขนส่งสาธารณะ รวมถึงการเข้าถึงการศึกษาระดับมหาวิทยาลัยโดยไม่ต้องมีหนี้สิน สิ่งนี้จะทำให้เราอยู่ในสังคมที่ยุติธรรมมากขึ้น และเริ่มต้นเท่ากัน

รศ.ดร.ษัษฐรัมย์ ธรรมบุษดี
รัฐสวัสดิการ

วิ่งยา-ค้าบริการ-ทัวร์สถานพินิจ สิ้นสุดทางเลื่อนของ ‘เด็กหลุด’

Reading Time: 4 minutes ปัญหาพื้นที่ที่บีบรัดให้พวกเขาไม่ได้มีครอบครัวและโรงเรียนเป็นที่ปลอดภัย มาจนถึงมาตรการนโยบายภาครัฐที่ยังไม่มีวี่แววของการรองรับพวกเขา
จากชานชาลาบ้านเกิดมาถึงหัวลำโพง นี่คือการเดินทางมาสุดขอบของเด็กที่ระบบตกสำรวจหลายคนได้มาถึง และยังไม่มีกริ่งดังให้พวกเขากลับเข้าห้องเรียนสักที

นทธร เกตุชู
รัฐสวัสดิการ

Cyberpunk 2077 Edge runner สู่ดวงจันทร์อันไกลโพ้นยังใกล้กว่าการไปถึงรัฐสวัสดิการ

Reading Time: 2 minutes การถีบตัวเองขึ้นไปเพื่อไขว่คว้าหาคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอาจไม่มีจริงในเมืองแห่งนี้
เพราะตัวเลขในบัญชีต่างหาก ที่จะกำหนดว่าเราจะได้มีชีวิตอยู่อย่างไรและต้องจากไปแบบไหน

นทธร เกตุชู
รัฐสวัสดิการ

Care Income: งานดูแลทุกข์สุขคนในบ้านต้องมีค่าตอบแทน และถูกคิดเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจ

Reading Time: 2 minutes วงเสวนา “การเริ่มต้นบทสนทนาเรื่อง CARE INCOME คุณค่าและค่าตอบแทนงานของแม่และคนทำงานดูแล” ซึ่งมีการพูดถึงและอยากให้สังคมมีการผลักดันให้ “คนทำงานดูแล” มีค่าตอบแทน มีรัฐสวัสดิการ เพราะนี่ก็ถือ “เป็นการงาน” เช่นกัน ซึ่งที่ผ่านมาในปีประเทศไทยเคยลงนามในปฏิญญาและแผนปฏิบัติเพื่อความก้าวหน้าของสตรีเมื่อปี 2538 ซึ่งระบุว่า ต้องคิดมูลค่าเศรษฐกิจของงานดูแลบ้านที่ผู้หญิงทำด้วย แต่จนถึงทุกวันนี้ ยังไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง

กัลยาวีร์ แววคล้ายหงษ์
รัฐสวัสดิการ

ทบทวนคลื่นกระแสรัฐสวัสดิการ ปี 2565

Reading Time: < 1 minute ในปี 2565 การต่อสู้เรื่องรัฐสวัสดิการยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ความสำคัญที่ยังจำเป็นต้องย้ำเตือนคือแม้ว่าอาจยังไม่ได้สัมผัสถึงนโยบายที่เป็นรูปธรรม แต่การต่อสู้ได้ยกระดับและเพดานของการต่อสู้ให้การต่อสู้เพื่อการสร้างรัฐสวัสดิการในมิติต่าง ๆ กลายเป็นที่พูดถึงและยอมรับมากขึ้นในวงกว้าง หากทำการสรุปประเด็นขับเคลื่อนที่เกี่ยวพันกับเรื่องรัฐสวัสดิการที่ถูกพูดถึงในวงกว้างสามารถสรุปสามประเด็น ประเด็นแรกคือประเด็นบำนาญ ประเด็นที่สองคือ เรื่องล้างหนี้ กยศ. และเรียนมหาวิทยาลัยฟรี ส่วนประเด็นที่สามคือประเด็นการขยายวันลาคลอด 180 วัน บทความนี้จะทำการทบทวนว่าประเด็นทั้งสามถูกผลักดันไปในแนวทางใดบ้างในสังคม

รศ.ดร.ษัษฐรัมย์ ธรรมบุษดี
รัฐสวัสดิการ

มายาคติ ‘ความสำเร็จ’

Reading Time: 2 minutes เริ่มจากแค่ว่า ทุกคนมีโอกาสที่เท่าเทียมกันในการก้าวจากดินสู่ดาวจริงหรือไม่ ข้อเท็จจริงที่แซนเดลชี้ให้เห็น (ซึ่งนักการศึกษาจำนวนมากก็ชี้ให้เห็นมานานแล้ว) นั้นตรงกันข้าม ข้อมูลชี้ว่านักศึกษาที่เข้าเรียนในมหาวิทยาลัยชั้นนำในสหรัฐฯ นั้นส่วนใหญ่มาจากครอบครัวที่มีฐานะร่ำรวยกว่าค่าเฉลี่ยของสังคม และยิ่งนานวันเข้าสัดส่วนของเด็กจากครอบครัวที่ยากจนก็ฝ่าฟันเข้าเรียนมหาวิทยาลัยชั้นนำได้น้อยลงไปเรื่อย ๆ

รศ.ดร.ประจักษ์ ก้องกีรติ
รัฐสวัสดิการ

สวัสดิการ(HPV)ล่องหน หลายพันคนล้มตายเหมือนใบไม้ร่วง

Reading Time: 2 minutes ไขรหัสการเข้าถึงวัคซีนป้องกัน HPV กับ ศาสตราจารย์ น.พ.ภิเศก ลุมพิกานนท์ อดีตประธานราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย และ กรกนก คำตา นักกิจกรรมสิทธิอนามัยเจริญพันธุ์ และความเป็นธรรมทางเพศ พร้อมตั้งคำถามร่วมกันว่า ในขณะที่วันเวลาล่วงเลยผ่านไปแต่ทำไมเรายังแก้ไขปัญหามะเร็งปากมดลูกกันไม่ได้สักที

ณัฐพร เทพานนท์
รัฐสวัสดิการ

Moral Hazard มายาคติและความกลัวประชาชนจะมีสวัสดิการที่ดี

Reading Time: < 1 minute “ความอันตรายทางศีลธรรม-Moral Hazard” เหมือนข้อกล่าวหาว่าหาก มีการรักษาพยาบาล ที่ไม่คิดค่าใช้จ่าย จะทำให้คนไม่ดูแลสุขภาพ หรือหากการศึกษาฟรี ไม่มีค่าใช้จ่ายจะทำให้คนไม่ตั้งใจเรียนหนังสือหรือไปเรียนในสาขาที่ตนไม่ได้มีความสนใจหรือถนัด การกล่าวว่าถ้ามีเงินบำนาญที่เพียงพอจะทำให้คนไม่วางแผนการเงินก่อนการเกษียณ เราจะพบว่าคำกล่าวเหล่านี้เป็นคำกล่าวที่วัดจากปรากฏการณ์บางปรากฏการณ์ที่ผิวเผิน

รศ.ดร.ษัษฐรัมย์ ธรรมบุษดี