คณะราษฎร Archives - Decode

TAG คณะราษฎร
Lorem ipsum dolor sit amet.

Columnist

สองพี่น้องตระกูลสืบแสงกับคณะราษฎรและสามจังหวัดภาคใต้

Reading Time: 2 minutes ขยายประเด็น นวลน้อย ธรรมเสถียร วันสำคัญในเดือนมิถุนายนเพิ่งผ่านพ้นไป เตือนใจให้เรานึกถึงเรื่องของการเปลี่ยนแปลงการปกครองและคณะราษฎร ในฐานะของคนที่ทำงานเกี่ยวพันกับสามจังหวัดภาคใต้ ผู้เขียนคิดไปถึงเรื่องราวของคณะราษฎรกับความพยายามแก้ปัญหาความขัดแย้งในพื้นที่นี้ของคนในกลุ่ม ซึ่งพลันที่คิดเรื่องนี้ ชื่อของสองพี่น้องตระกูลสืบแสงก็ผลุบโผล่ขึ้นมาทันที เช่นเดียวกันกับชื่อบุคคลสำคัญในคณะราษฎร และรวมไปถึงผู้นำศาสนาคนสำคัญที่ถูกอุ้มหายในอดีตคือหะยีสุหลง อับดุลกาเดร์ การจะเขียนถึงเรื่องนี้ทำให้ต้องพิจารณาสองเรื่องประกอบกัน หากเราไล่ไทม์ไลน์ทางประวัติศาสตร์สองเรื่องคือเหตุการณ์ในพื้นที่ภาคใต้ กับการเมืองในกรุงเทพฯ จะพบว่าในช่วงเวลาก่อนหน้าที่จะมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองปี 2475 มีเหตุการณ์ที่น่าสนใจเกิดขึ้นในพื้นที่ภาคใต้ กล่าวคือในปี 2470 หะยีสุหลงเดินทางจากตะวันออกกลางกลับบ้านเกิดคือปัตตานี โดยมาจากเมกกะที่ซึ่งเขาไปศึกษาและใช้ชีวิตมาเนิ่นนาน การกลับสู่พื้นที่หนนี้จะทำให้หะยีสุหลงกลายเป็นผู้ที่มีบทบาทอย่างสำคัญโดยเฉพาะด้านศาสนาในพื้นที่ ส่วนพี่น้องตระกูลสืบแสงในที่นี้หมายถึงจรูญ สืบแสง และเจริญ สืบแสง พวกเขาเป็นชาวปัตตานีที่แม้จะมีอาชีพคนละอย่าง ทำงานคนละด้าน แต่ในที่สุดแล้วงานของพวกเขาล้วนเป็นเรื่องรับใช้สังคม มีข้อมูลหลายประการที่ทำให้เชื่อได้ว่าพวกเขาทั้งคู่น่าจะมีบทบาทอย่างสำคัญที่ทำให้เกิดการสื่อสารสัมพันธ์ระหว่างหะยีสุหลงกับคณะราษฎร ปรากฏการณ์ที่น่าสนใจที่เกิดขึ้นในสายสัมพันธ์นี้คือทำให้เกิดการพูดคุยเพื่อจะคลี่คลายปัญหาในพื้นที่ในช่วงหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองแล้ว ซึ่งถ้าจะเรียกมันว่าเป็นกระบวนการสันติภาพช่วงแรก ๆ ก็อาจจะไม่ขัดเขินจนเกินไปนัก  จรูญ สืบแสงเป็นข้าราชการทำงานด้านการเกษตร จบการศึกษาด้านนี้มาจากฟิลิปปินส์ เขาเป็นคนหนึ่งที่ได้เข้าเป็นสมาชิกพลเรือนผู้ร่วมก่อตั้งคณะราษฎร จรูญเป็นผู้ที่กระตือรือร้นอย่างมากและเขานี่เองที่เร่งรัดผลักดันใหัมีการตัดสินใจลงมือในวันเวลาที่ชัดเจน เขาน่าจะมีสายสัมพันธ์ที่แนบแน่นกับปรีดี เพราะปรากฎในเกร็ดประวัติศาสตร์อ้างโดยงานเขียนในเว็บไซต์สถาบันปรีดี พนมยงค์ว่า ในการออกเดินทางลี้ภัยปี 2476 ของปรีดีซึ่งต้องผ่านไปทางสิงคโปร์นั้น จรูญเป็นหนึ่งในสามคนที่เดินทางไปส่ง แม้จะมีรายละเอียดที่ไม่ลงรอยนักว่าไปส่งที่ไหนแน่เพราะบทความหนึ่งเขียนไว้ว่าไปส่งถึงปีนัง ขณะที่อีกบทความหนึ่งบอกว่าไปถึงสิงคโปร์ อย่างไรก็ตามนายจรูญไปส่งปรีดีพร้อมกับบุคคลอีกสองคนคือหลวงทัศนัยนิยมศึก และ ร.ท.ทวน วิชัยขัทคะ (ก่อนการอภิวัฒน์สยาม 2475: […]

คณะราษฎร

สองพี่น้องตระกูลสืบแสงกับคณะราษฎรและสามจังหวัดภาคใต้

Reading Time: 2 minutes ขยายประเด็น นวลน้อย ธรรมเสถียร วันสำคัญในเดือนมิถุนายนเพิ่งผ่านพ้นไป เตือนใจให้เรานึกถึงเรื่องของการเปลี่ยนแปลงการปกครองและคณะราษฎร ในฐานะของคนที่ทำงานเกี่ยวพันกับสามจังหวัดภาคใต้ ผู้เขียนคิดไปถึงเรื่องราวของคณะราษฎรกับความพยายามแก้ปัญหาความขัดแย้งในพื้นที่นี้ของคนในกลุ่ม ซึ่งพลันที่คิดเรื่องนี้ ชื่อของสองพี่น้องตระกูลสืบแสงก็ผลุบโผล่ขึ้นมาทันที เช่นเดียวกันกับชื่อบุคคลสำคัญในคณะราษฎร และรวมไปถึงผู้นำศาสนาคนสำคัญที่ถูกอุ้มหายในอดีตคือหะยีสุหลง อับดุลกาเดร์ การจะเขียนถึงเรื่องนี้ทำให้ต้องพิจารณาสองเรื่องประกอบกัน หากเราไล่ไทม์ไลน์ทางประวัติศาสตร์สองเรื่องคือเหตุการณ์ในพื้นที่ภาคใต้ กับการเมืองในกรุงเทพฯ จะพบว่าในช่วงเวลาก่อนหน้าที่จะมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองปี 2475 มีเหตุการณ์ที่น่าสนใจเกิดขึ้นในพื้นที่ภาคใต้ กล่าวคือในปี 2470 หะยีสุหลงเดินทางจากตะวันออกกลางกลับบ้านเกิดคือปัตตานี โดยมาจากเมกกะที่ซึ่งเขาไปศึกษาและใช้ชีวิตมาเนิ่นนาน การกลับสู่พื้นที่หนนี้จะทำให้หะยีสุหลงกลายเป็นผู้ที่มีบทบาทอย่างสำคัญโดยเฉพาะด้านศาสนาในพื้นที่ ส่วนพี่น้องตระกูลสืบแสงในที่นี้หมายถึงจรูญ สืบแสง และเจริญ สืบแสง พวกเขาเป็นชาวปัตตานีที่แม้จะมีอาชีพคนละอย่าง ทำงานคนละด้าน แต่ในที่สุดแล้วงานของพวกเขาล้วนเป็นเรื่องรับใช้สังคม มีข้อมูลหลายประการที่ทำให้เชื่อได้ว่าพวกเขาทั้งคู่น่าจะมีบทบาทอย่างสำคัญที่ทำให้เกิดการสื่อสารสัมพันธ์ระหว่างหะยีสุหลงกับคณะราษฎร ปรากฏการณ์ที่น่าสนใจที่เกิดขึ้นในสายสัมพันธ์นี้คือทำให้เกิดการพูดคุยเพื่อจะคลี่คลายปัญหาในพื้นที่ในช่วงหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองแล้ว ซึ่งถ้าจะเรียกมันว่าเป็นกระบวนการสันติภาพช่วงแรก ๆ ก็อาจจะไม่ขัดเขินจนเกินไปนัก  จรูญ สืบแสงเป็นข้าราชการทำงานด้านการเกษตร จบการศึกษาด้านนี้มาจากฟิลิปปินส์ เขาเป็นคนหนึ่งที่ได้เข้าเป็นสมาชิกพลเรือนผู้ร่วมก่อตั้งคณะราษฎร จรูญเป็นผู้ที่กระตือรือร้นอย่างมากและเขานี่เองที่เร่งรัดผลักดันใหัมีการตัดสินใจลงมือในวันเวลาที่ชัดเจน เขาน่าจะมีสายสัมพันธ์ที่แนบแน่นกับปรีดี เพราะปรากฎในเกร็ดประวัติศาสตร์อ้างโดยงานเขียนในเว็บไซต์สถาบันปรีดี พนมยงค์ว่า ในการออกเดินทางลี้ภัยปี 2476 ของปรีดีซึ่งต้องผ่านไปทางสิงคโปร์นั้น จรูญเป็นหนึ่งในสามคนที่เดินทางไปส่ง แม้จะมีรายละเอียดที่ไม่ลงรอยนักว่าไปส่งที่ไหนแน่เพราะบทความหนึ่งเขียนไว้ว่าไปส่งถึงปีนัง ขณะที่อีกบทความหนึ่งบอกว่าไปถึงสิงคโปร์ อย่างไรก็ตามนายจรูญไปส่งปรีดีพร้อมกับบุคคลอีกสองคนคือหลวงทัศนัยนิยมศึก และ ร.ท.ทวน วิชัยขัทคะ (ก่อนการอภิวัฒน์สยาม 2475: […]

นวลน้อย ธรรมเสถียร
คณะราษฎร

เคาะสนิมเนื้อใน บทสนทนาของเพนกวิน เริ่มที่ประวัติศาสตร์คนข้างล่าง แต่ไม่จบที่ “ประยุทธ์ออกไป”

Reading Time: 3 minutes เรากำลังสู้กับสิ่งที่ครอบงำประเทศนี้มาพันปี แน่นอนว่ามันไม่ได้จบในวันสองวัน ผมตอบอย่างนี้ว่ามันเป็นเกมยาวแต่ถึงเวลาสั้นมันก็สั้น

ปิยวัฒน์ สีแตงสุก
คณะราษฎร

ผู้หญิงกับการปฏิวัติที่ยังไม่จบสิ้น

Reading Time: 3 minutes สายธารของการนำผู้หญิงกลับมาสู่พื้นที่ของความทรงจำ จากเดิมจากที่ประวัติศาสตร์มักจะบันทึกโดยผู้ชนะและผ่านมุมมองของผู้ชาย

รศ.ดร.ประจักษ์ ก้องกีรติ
คณะราษฎร

อ่านแถลงการณ์ คณะราษฎร ฉบับที่ 1: 24 มิถุนายน 2475 ความเหลื่อมล้ำที่ไม่จางหาย และความปรารถนาความเสมอภาคที่ไม่เคยลดลง

Reading Time: 2 minutes ชวนอ่านเอกสารชิ้นแรกของการอภิวัฒน์สยาม “แถลงการณ์คณะราษฎรฉบับที่ 1” ว่าความเหลื่อมล้ำที่ไม่จางหายแม้เวลาผ่านไป 89 ปี และการต่อสู้เพื่อความเท่าเทียมที่หวนกลับมาในปัจจุบันโดยกระแสการต่อสู้ของคนรุ่นใหม่ในปัจจุบัน

รศ.ดร.ษัษฐรัมย์ ธรรมบุษดี
คณะราษฎร

“ประเทศนี้เป็นของราษฎร” 89 ปีอภิวัฒน์สยาม

Reading Time: 3 minutes “ประเทศนี้เป็นของราษฎร” วันแห่งการเปลี่ยนแปลงปกครอง 2475 คณะราษฎร นำโดยอานนท์ นำภา, จตุภัทร์ บุญภัทรรักษา (ไผ่ ดาวดิน), ครูใหญ่ อรรถพล บัวพัฒน์, ฟ้า พรหมศร และแนวร่วมกลุ่มอื่น ๆ เช่น ราษฎรมูเตลู, กลุ่มเดินทะลุฟ้า, กลุ่มนักเรียนเลว จัดกิจกรรม “ราษฎรยืนยันดันเพดาน” ช่วงเวลาย่ำรุ่งวันนี้ 24 มิถุนายน 2564 ที่อนุเสาวรีย์ประชาธิปไตย ด้วยการจุดเทียนรำลึกถึงเหตุการณ์ ท่ามกลางเจ้าหน้าที่ตำรวจที่รายล้อมอยู่ในรอบ ๆ บริเวณกิจกรรม

ณฐาภพ สังเกตุ
คณะราษฎร

สู้แค่ไหนก็ถึงทางตัน: แรงสั่นไหวในคดี 112 ผ่านไป 7 ปีเพิ่มระดับ “ผันผวน รุนแรง” สร้างวัฒนธรรมเผือกร้อน “ทำให้ผ่านไป ถือไว้มันจะร้อน”

Reading Time: 4 minutes กฎหมายต้องมั่นคง ไม่ผันผวน แต่วันนี้การใช้ ม.112 กำลังผันผวนมากที่สุด ใต้คำถาม “เราจะอยู่กับกระบวนกระยุติธรรมเช่นนี้หรือ” De/Code คุยกับ ทนายเมย์-พูนสุข พูนเจริญ ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ถึงความผันผวนของการใช้ ม.112 ที่วันนี้ไม่ใช่แค่เรื่องของคนที่ต้องคดี แต่หมายถึงหากยังมีคนเพิกเฉยนั่นอาจแปลได้ถึงการยอมรับกระบวนแบบนี้ในวันที่คุณเป็น “เหยื่อ” เสียเอง

กัลยาวีร์ แววคล้ายหงษ์
คณะราษฎร

“มีคนใจบางกับความอยุติธรรม” #เดินทะลุฟ้า เก็บปัญหารายทาง-พิสูจน์การเรียกร้องแบบสันติชน

Reading Time: 3 minutes วันที่ 16 ของกิจกรรม #เดินทะลุฟ้า ตามหาอนาคต กับ 4 ข้อเรียกร้อง คือ ปล่อยเพื่อนเรา ยกเลิก 112 เขียนรัฐธรรมนูญใหม่ และ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ลงจากตำแหน่ง Decode คุยกับแกนนำการเคลื่อนไหวของกลุ่มต่าง ๆ ที่เข้าร่วมขบวนเดินเท้าเพื่อความฝันประเทศที่มีเสรีภาพ แต่กว่าจะถึงวันนั้น ก่อนที่ฟ้าจะทะลุ…พวกเขาต้องเสียดฟ้าแค่ไหน

กัลยาวีร์ แววคล้ายหงษ์
คณะราษฎร

‘ไม่สู้ก็อยู่แบบนี้’ คุยกับคนร่วมขบวน #เดินทะลุฟ้า 247.5 กม. จากโคราชสู่ใจกลางอำนาจ เพื่ออนาคตของ “คนเท่ากัน”

Reading Time: 2 minutes Decode ร่วมเดินสั้นๆ เพื่อคุยกับ “คนร่วมขบวน” เดินทะลุฟ้า คนธรรมดาที่อยากใช้การเดินเท้า วิถีทางสันติชนเรียกร้อง และเป็นหนึ่งในเสียงที่ยืนยันว่าประเทศไทยดีกว่านี้ได้ และไม่อาจทนอยู่แบบนี้ต่อไปได้อีกแล้ว

กัลยาวีร์ แววคล้ายหงษ์
คณะราษฎร

นักวิชาการนานาชาติขอศาลคืนสิทธิ ‘ประกันตัว’ แกนนำราษฎร หลังยกคำร้องเป็นครั้งที่ 3

Reading Time: 2 minutes เป็นครั้งที่ 3 แล้วที่การยื่นคำร้องของ “ปล่อยตัวชั่วคราว” 4 แกนนำคณะราษฎร “ถูกยกคำร้อง” จากกรณีการชุมนมเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2563 ล่าสุด นักวิชาการด้านไทยศึกษาในต่างประเทศ 25 มหาวิทยาลัยร่วมกันออกแถลงการณ์ในวันเดียวกัน ขอให้ศาลคืนสิทธินี้ให้ผู้ที่ถูกจับกุม

กัลยาวีร์ แววคล้ายหงษ์