ความขัดแย้งทางการเมือง Archives - Decode

TAG ความขัดแย้งทางการเมือง
Lorem ipsum dolor sit amet.

Crack Politics

โลกเดือดทางสภาวะภูมิรัฐศาสตร์

Reading Time: < 1 minute หากเอ่ยคำว่า “โลกเดือด” คนส่วนใหญ่อาจจะนึกถึงสภาวะที่อุณหภูมิโลกสูงขึ้นหรือร้อนขึ้นเรื่อยๆ โดยในปีที่แล้วและปีนี้ โกของเราถูกบันทึกว่า “ร้อนที่สุดเป็นประวัติการณ์” กระทั่งถึงจุดที่ส่งผลกระทบร้ายแรงอย่างยิ่งต่อการดำรงอยู่ของมนุษยชาติทั้งในทางเศรษฐกิจ การเมือง สังคม ระบบนิเวศ รวมถึงสุขภาพของมนุษย์ ผู้เชี่ยวชาญจำนวนมากรวมถึงองค์การสหประชาชาติจึงกล่าวว่า ณ ห้วงเวลาปัจจุบันถือว่ายุคโลกร้อนสิ้นสุดลงแล้ว และเรากำลังเดินหน้าเข้าสู่ยุคโลกเดือด (Global Boiling)

ความขัดแย้งทางการเมือง

โลกเดือดทางสภาวะภูมิรัฐศาสตร์

Reading Time: < 1 minute หากเอ่ยคำว่า “โลกเดือด” คนส่วนใหญ่อาจจะนึกถึงสภาวะที่อุณหภูมิโลกสูงขึ้นหรือร้อนขึ้นเรื่อยๆ โดยในปีที่แล้วและปีนี้ โกของเราถูกบันทึกว่า “ร้อนที่สุดเป็นประวัติการณ์” กระทั่งถึงจุดที่ส่งผลกระทบร้ายแรงอย่างยิ่งต่อการดำรงอยู่ของมนุษยชาติทั้งในทางเศรษฐกิจ การเมือง สังคม ระบบนิเวศ รวมถึงสุขภาพของมนุษย์ ผู้เชี่ยวชาญจำนวนมากรวมถึงองค์การสหประชาชาติจึงกล่าวว่า ณ ห้วงเวลาปัจจุบันถือว่ายุคโลกร้อนสิ้นสุดลงแล้ว และเรากำลังเดินหน้าเข้าสู่ยุคโลกเดือด (Global Boiling)

รศ.ดร.ประจักษ์ ก้องกีรติ
ความขัดแย้งทางการเมือง

4,300 คดี ระเบิดเวลาทางการเมืองในระยะเปลี่ยนผ่าน

Reading Time: 3 minutes ตามบันทึกของศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนมีคดีความความที่เกิดจากแรงจูงใจทางการเมืองมากกว่า 4,000 คดี สูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่มีคดีความทางการเมืองเกิดขึ้น ในช่วงที่มีรัฐบาลจากการยึดอำนาจโดยคณะรัฐประหาร และรัฐบาลจากการเลือกตั้ง

ฟาห์เรนน์ นิยมเดชา
ความขัดแย้งทางการเมือง

นิรโทษกรรมประชาชนของคน 3 รุ่น ‘ณัฐชนน-จตุพร-พิภพ’ ชำระประวัติศาสตร์ 20 ปีแห่งความขัดแย้ง

Reading Time: 2 minutes ความขัดแย้งทางการเมืองไทยดำรงอยู่เกือบ 20 ปี หลังจากพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ขับไล่ “รัฐบาลทักษิณ” และเกิดการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 กระทั่งปัจุบันประเทศไทยอยู่ในวังวนความขัดแย้งไม่สิ้นสุด ข้อมูลจากศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน มีคนโดนคดีจากการออกมาเคลื่อนไหวในสองทศวรรษนี้แล้วกว่า 6,000 คน ตั้งแต่พ.ร.ก.ฉุกเฉิน พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ พ.ร.บ.ความสะอาด ประกาศคำสั่งจากคณะยึดอำนาจ ความตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา  110 (ประทุษร้ายต่อพระราชินี) 112 และ116

ฟาห์เรนน์ นิยมเดชา
ความขัดแย้งทางการเมือง

ปริศนาความรุนแรงโดยรัฐไทย (ตอนที่ 2)

Reading Time: 2 minutes ในความเคลื่อนไหว รศ.ดร.ประจักษ์ ก้องกีรติ นับตั้งแต่เกิดวิกฤตการเมืองในสังคมไทยตั้งแต่ปี 2548 เป็นต้นมา การชุมนุมของประชาชนบนท้องถนนกลายเป็นปรากฏการณ์ปรกติของสังคมไทย ในด้านดีการชุมนุมแสดงออกทางการเมืองของประชาชนถือเป็นชีพจรที่เข้มแข็งของประชาธิปไตย เพราะสะท้อนถึงความตื่นตัวของประชาชนที่ต้องการเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดทิศทางบ้านเมือง และยังสะท้อนถึงความเป็นพลเมืองที่แข็งขัน อันเป็นหัวใจของสังคมการเมืองแบบประชาธิปไตย สิ่งที่น่าเสียดายและยังคงเป็นปัญหาเรื้อรังในสังคมไทย คือ ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในห้วงสถานการณ์การชุมนุมของประชาชน ซึ่งมีทั้งรูปแบบที่เป็นการปะทะกันระหว่างขบวนการประชาชนต่างอุดมการณ์ และความรุนแรงจากรัฐ โดยจากสถิติในช่วงเกือบ 2 ทศวรรษที่ผ่านมาพบว่าความรุนแรงทางการเมืองที่นำไปสู่การบาดเจ็บสูญเสียของชีวิตผู้คนมากที่สุด คือ ความรุนแรงโดยรัฐในการการสลายการชุมนุมของประชาชน (state repression) บทความในตอนที่แล้ว ผมชี้ให้เห็นว่าปัจจัยเรื่องระบอบการเมืองและความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับกองทัพ (รวมถึงกลไกด้านความมั่นคงทั้งหลาย) เป็นปัจจัยสำคัญที่กำหนดแบบแผนและระดับความรุนแรงโดยรัฐในสังคมไทย แต่ข้อค้นพบอีกประการจากงานวิจัยพบว่ามุมมองของรัฐต่อผู้ชุมนุมทั้งระดับผู้วางแนวนโยบายและระดับเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ ส่งผลสำคัญต่อระดับความรุนแรงของรัฐที่เกิดขึ้นในแต่ละช่วงเวลา ซึ่งมุมมองของรัฐต่อผู้ชุมนุมถูกกำหนดมาจากยุทธวิธีการเคลื่อนไหวและแนวคิดของผู้ชุมนุมแต่ละกลุ่มที่แตกต่างกันไป ฉะนั้นการพิจารณามุมมองของรัฐ จึงแยกไม่ออกจากการวิเคราะห์ทำความเข้าใจวิธีการเคลื่อนไหว และอุดมการณ์ทางการเมืองของขบวนการประชาชน สันติวิธี-รุนแรง ผู้มีอำนาจรัฐและเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบดูแลการชุมนุมมองผู้ชุมนุมแต่ละกลุ่มไม่เหมือนกัน จากการรวบรวมข้อมูลเอกสารและการสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่รัฐ พบว่ารัฐมีวิธีคิดในการแบ่งประเภทผู้ชุมนุมกลุ่มต่าง ๆ ออกเป็น 2 ประเภทหลัก โดยใช้เกณฑ์ 2 ประการด้วยกัน คือ หนึ่ง พิจารณาว่าวิธีการเคลื่อนไหวว่าเป็นแบบแนวทางสันติหรือมีแนวโน้มใช้ความรุนแรง และสอง อุดมการณ์หรือเนื้อหาของข้อเรียกร้องว่าเป็นเรื่องปากท้องหรือเรื่อง “การเมือง” และในกลุ่มที่เป็นการเมืองก็ยังพิจารณาต่อไปว่าเป็นการเมืองที่มีเป้าหมายมุ่งไปที่การประท้วงรัฐบาล หรือมีเป้าหมายเปลี่ยนโครงสร้างอำนาจและท้าทายไปถึงสถาบันทางการเมืองที่สำคัญสูงสุดต่อชาติและความเป็นไทยซึ่งเจ้าหน้าที่รัฐเน้นไปที่สถาบันกษัตริย์ แน่นอนว่าการแบ่งประเภทผู้ชุมนุมของเจ้าหน้าที่รัฐเช่นนี้เป็นการแบ่งโดยใช้คำว่า “การเมือง” ในความหมายแคบ […]

รศ.ดร.ประจักษ์ ก้องกีรติ
ความขัดแย้งทางการเมือง

ปริศนาความรุนแรงโดยรัฐไทย (ตอนที่ 1)

Reading Time: 2 minutes รัฐบาลแต่ละยุครับมือกับการแสดงออกทางการเมืองของประชาชนด้วยแนวทางและระดับความเข้มข้นที่ต่างกันออกไป มีทั้งการใช้มาตรการทางกฎหมาย การเจรจา การหาทางออกผ่านกระบวนการทางการเมือง รวมถึงการใช้ความรุนแรงอย่างเด็ดขาดในการสลายการชุมนุม ซึ่งส่งผลให้เกิดความสูญเสียต่อทรัพย์สิน ร่างกาย และชีวิตของประชาชน

รศ.ดร.ประจักษ์ ก้องกีรติ
ความขัดแย้งทางการเมือง

ภาษาของความรุนแรง ชายขอบของความเงียบงัน

Reading Time: 2 minutes ในช่วงทำข่าวที่สามจังหวัดภาคใต้ใหม่ๆ ผู้เขียนเคยไปที่หมู่บ้านหนึ่งในจังหวัดนราธิวาสเพื่อจะสัมภาษณ์ภรรยาของคนที่โดนอุ้มหายไป

นวลน้อย ธรรมเสถียร
ความขัดแย้งทางการเมือง

2564 ยังไร้สัญญาณประนีประนอม

Reading Time: < 1 minute หลายประเทศติดกับดักของความขัดแย้งแบ่งขั้วรุนแรง (Deep polarization) ประเทศไทยเป็นหนึ่งในนั้น และเมื่อประเทศใดก็ตามเข้าสู่กับดักของความขัดแย้งชนิดนี้ นักวิจัยสรุปว่าจะหาทางออกจากกับดักนี้ได้ค่อนข้างยาก

รศ.ดร.ประจักษ์ ก้องกีรติ