Interviews Archives - Page 8 of 11 - Decode

CATEGORY Interviews
Lorem ipsum dolor sit amet.

Interviews

ลาก่อน “ลุงพล” การลาออกครั้งสุดท้ายของคนข่าวภาคสนาม ในสภาพอึดอัด เลยเถิด เกินพอกับระบบ ‘ข้างในอยากได้’

Reading Time: 2 minutes ข่าวดังที่เริ่มต้นจากประเด็นที่มีคุณค่าข่าว เด็กน้อยวัย 3 ขวบหายตัวไป ต่อมาถูกพบเป็นศพ และต้องสืบสวนว่าทั้งหมดมีที่มาอย่างไร ระหว่างทางของคดี “ที่ยังไม่จบ” ตัวละครแวดล้อมเพิ่มมาเรื่อย ๆ ลุงพล “ไชย์พล วิภา” วัย 44 ปีคือหนึ่งในนั้น เรื่องราวชีวิตลุงพลแบบเรียลลิตี้เพิ่มขึ้นวันต่อวัน

กัลยาวีร์ แววคล้ายหงษ์
Interviews

‘เราชนะแล้ว’ ใคร ‘ปลดแอก’ ถอดความสัมพันธ์ระหว่างภาษา กาลเวลา และประชาธิปไตยข้ามรุ่น

Reading Time: 4 minutes ถอดรหัสที่มาของคำว่า ‘ปลดแอก’ ในความหมายของกลุ่ม Free people ว่า สำหรับพวกเขาแล้ว ‘แอก’ นี้คืออะไร และนัยยะเบื้องหลังการก่อตั้งองค์กรใหม่อย่าง ‘คณะประชาชนปลดแอก’ ขึ้นมา มีจุดประสงค์อย่างไร ปิดท้ายด้วยคำถามที่ว่า เขามองเห็นชัยชนะจากการต่อสู้ในครั้งนี้แล้วหรือยัง นอกจากนี้เพื่อไม่ให้ดีกรีของบทความนี้ร้อนแรงจนเกินไป Decode เลยชวน ครูทอม คำไทย จักรกฤต โยมพยอม มาเล่าเชิงอรรถสนุกๆ ของ คำว่าปลดแอกว่า คำคำนี้ถูกใช้อยู่ในบริบทไหนบ้าง และ ในฐานะครูภาษาไทย เขาคิดเห็นอย่างที่ภาษาภายในม็อบทุกวันนี้ปังปุริเย่ขึ้นทุกวันจนหลายคนตามไม่ทัน

ภาวิณี คงฤทธิ์
Interviews

#มหาลัยมีไว้ทำไม ว่าด้วยเรื่องบทบาท’มหาลัย’ ในการเคลื่อนไหวของนักศึกษา

Reading Time: 3 minutes Decode จึงชวน ผศ. ดร. ษัษฐรัมย์ ธรรมบุษดี อาจารย์ประจำวิทยาลัยสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มาร่วมถอดรหัสหน้าที่ของมหาวิทยาลัยในวันที่นักศึกษาลุกมาเคลื่อนไหว โดยเริ่มต้นตั้งแต่การวิเคราะห์ตัวละครนักศึกษาในขบวนการที่เปลี่ยนแปลงไป ทั้งความคิดตั้งต้นและการสื่อสารที่เลือกใช้ ไปจนถึงร่วมมองหาแนวทางที่มหาวิทยาลัยควรทำเพื่อรักษาไว้ซึ่งสิทธิและเสรีภาพอย่างแท้จริง

ภาวิณี คงฤทธิ์
Interviews

ยินยอมไม่ใช่คำตอบของการใช้ ‘ข้อมูลส่วนบุคคล’ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลฯ บรรทัดฐานใหม่ของชีวิตดิจิทัล

Reading Time: 3 minutes ความทรงจำที่เลือนรางของคนเราอาจไม่ได้เพียงแปรผันตามอายุขัย แต่อาจแปรผันตามปริมาณอย่างที่เกิดขึ้นกับ “ข้อมูลส่วนบุคคล” ก็เป็นได้ ด้วยโลกปัจจุบันข้อมูลส่วนบุคคลจำนวนมหาศาลถูกใช้ขับเคลื่อนชีวิต เศรษฐกิจ และสังคมให้เดินไปข้างหน้าอย่างไม่รู้จบ จึงไม่ใช่เรื่องแปลกหากคนเราจะจดจำได้ไม่หมดว่าเคยเปิดเผยข้อมูลอะไรไปบ้าง

สมิตานัน หยงสตาร์
Interviews

พอเถอะ! ทุนนิยมเลยเถิด การเกิดแพลตฟอร์ม+Co-op อาจเป็นทางเลือกใหม่

Reading Time: 3 minutes ในวันที่การงานแห่งอนาคตพามนุษย์กลับไปทำงานหนักและเปราะบางยิ่งกว่ายุคไหน ๆ คุยกับนักวิชาการแรงงาน จาก ‘แรงงานขี่มอเตอร์ไซต์ส่งอาหาร’ ถึง ‘เศรษฐกิจสมานฉันท์’ ดร.เกรียงศักดิ์ ธีระโกวิทขจร ผู้อำนวยการสถาบันแรงงานและเศรษฐกิจที่เป็นธรรม

อรพิน ลิลิตวิศิษฎ์วงศ์
Interviews

แนวรบ ‘บาซูการวมศูนย์’ สร้างโลกใหม่หลังโควิด-19

Reading Time: 2 minutes เปิดแนวรบกระหน่ำยิงกระสุนทางการคลังเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจด้วยเงินมหาศาล 1.9 ล้านล้านบาท หรือประมาณ 10% ของผลผลิตมวลรวม หรือ GDP ของประเทศ เพื่อหวังสร้างโลกใหม่ในแบบฉบับนิวนอร์มอล เป็นเส้นบาง ๆ ระหว่างความจริงและความน่าจะเป็น Decode พูดคุยกับ ดร.สมชัย จิตสุชน ผู้อำนวยการวิจัยด้านการพัฒนาอย่างทั่วถึง สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย หรือ ทีดีอาร์ไอ และหมวกอีกใบในตำแหน่งกรรมการที่ปรึกษาด้านผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคม ในศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19
ที่ปรึกษาฯที่ยอมรับกับ Decode ตรง ๆ ว่า ไม่เคยเจอนายกรัฐมนตรีเลยสักครั้ง

ภัทราภรณ์ ศรีทองแท้
Interviews

ไม่อยากเป็นแค่ ‘ผู้ปรับตัวที่ดี’ เด็กจบใหม่อยู่ตรงไหนของการจ้างงาน ‘เงินกู้ 4 แสนล้าน’

Reading Time: 3 minutes ‘ผู้ปรับตัวที่ดี’ เราชอบคำนี้ ฟังดูมีพลังบวก ให้พลัง (empower) สามารถอยู่รอด และไปต่อได้ในทุก ๆ สถานการณ์ แต่ ‘ผู้ปรับตัวที่ดี’ ในความหมายของ คณิน ฉินเฉิดฉาย นิสิตปีสุดท้ายของคณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา วัย 22 ปี ที่เราได้คุยนั้นแตกต่างไป มันมีความหมายถึงการ “จำยอม” ต่อโครงสร้างสังคมและเศรษฐกิจที่ไม่ได้เอื้ออวยคนรุ่นใหม่เท่าไหร่นัก ผลักการปรับตัวเป็นหน้าที่…ที่ดี และเป็นที่ของใครของมัน โดยเฉพาะการหางาน และความมั่นคงในชีวิต

กัลยาวีร์ แววคล้ายหงษ์
Interviews

ตายอย่าง New Normal คุยกับดุจดาว วัฒนปกรณ์ เพราะการฆ่าตัวตายไม่ใช่สถิติและเป็นเพียงแค่…

Reading Time: 3 minutes ระลอกข่าวการฆ่าตัวตายของเพื่อนร่วมสังคมมีให้เห็น และชวนหดหู่ใจหลายครั้งในช่วงปีที่ผ่านมา หน้าสื่อหนังสือพิมพ์ เลื่อนไถหน้าฟีดเฟซบุ๊ก หรือเสียงผู้ประกาศจากโทรทัศน์บอกข่าวการจบชีวิตด้วยตัวเองของคนหนึ่งคน หรือหนึ่งครอบครัวจากความเครียด พิษเศรษฐกิจ โรคซึมเศร้า หรือปัญหาส่วนตัวที่รัฐแถลง

ทิพากร ไชย​ประสิทธิ์​
Interviews

เพราะระบบการศึกษาไทยบังคับให้ฉันต้อง(ห)ลอก

Reading Time: 3 minutes ไม่น่าเชื่อว่าแม้เวลาจะผ่านมาหลายยุคหลายสมัย ถึงขนาดที่การเรียนการสอนออนไลน์กลายมาเป็น new normal ของการศึกษาไทยแต่‘ปัญหาเรื่องการลอกข้อสอบ’ ก็ยังคงเป็นปัญหาเรื้อรังที่แก้ไม่ตกสักที การเปลี่ยนบริบทใหม่ของผู้เรียน จากการเรียนในห้องมาเป็นการเรียนด้วยตัวเอง ไร้การจับผิดของครูอาจารย์ ได้เปิดแผลของระบบการศึกษาไทย จะเรียกว่าเปิดก็คงไม่ถูกต้อง ต้องเรียกว่าฉีกแผลเก่าออกมาให้เห็นกันจะๆ

ภาวิณี คงฤทธิ์
Interviews

เดลิเวอรี = ทางรอด #Saveร้านอาหาร ดำน้ำฝ่าวิกฤตโควิด19

Reading Time: 4 minutes หากอยากให้ราเมงชามนี้อร่อยอย่างที่ตั้งใจไว้ เคล็ดไม่ลับที่เจ้าของร้านบอกได้ คือ ต้องใช้เวลาลวกเส้นราว ๆ 2 นาที ความร้อนของน้ำซุป ความนุ่มความเนื้อ และกลิ่นหอม จะปรุงกันจนเป็นความลงตัว เป็นราเมงชามโตที่ไม่ใช่เพียงแค่ช่วยให้ท้องอิ่ม แต่เป็นรสชาติที่ลูกค้าสามารถ “ดื่มด่ำ” ทั้งรส และบรรยากาศในร้าน แต่ทันทีที่โควิด-19 ตีชิดถึงประตูร้าน ทุกกระบวนท่าของการทำราเมงของร้านราเมงเนื้อ นาม “งัว” ร้านนี้ก็เปลี่ยนไป

กัลยาวีร์ แววคล้ายหงษ์
Interviews

คิกออฟยังธน เพราะไม่ไหวจะทน บนที่ยืนที่เหลืออยู่

Reading Time: 3 minutes “จริงๆ บินไปก่อนก็ดีเพราะเราเองก็เริ่มจากการบินไปก่อนเหมือนกัน” คือหนึ่งประโยคจาก เมฆ สายะเสวี สถาปนิกหนุ่มอารมณ์ดีที่มีความฝันต่างไปจากคนรุ่นใหม่ทั่วๆ ไป ในยุคที่ใครหลายคนคิดจะบินหนีไปจากบ้านเพราะทนความปวดใจที่บ้านหลังนี้มอบให้ไม่ไหว

ภาวิณี คงฤทธิ์