Education Archives - Page 3 of 4 - Decode

CATEGORY Education
Lorem ipsum dolor sit amet.

Education

วงจรอุบาทว์ยากจนเริ่มต้นที่ระบบการศึกษา

Reading Time: < 1 minute หลังวิกฤตโควิด มีเยาวชน’หลุด’ออกจากระบบการศึกษาทันทีราวๆ สองแสนคน
ในจำนวนนี้มีคนหนุ่มสาวน้อยมากที่สามารถระเกียกตะกายกลับเข้าระบบการศึกษาได้อีก หากไม่ได้รับความช่วยเหลือที่เหมาะสมจากรัฐ
ความยากจนทำให้ประชากรของเราไม่สามารถรับมือกับ’อุบัติเหตุ’ของโลกได้มากไปกว่าแล่เนื้อเถือหนังตัวเองเอาชีวิตรอด หลายครอบครัวจำเป็นต้องเลือกส่งแค่ลูกคนใดคนหนึ่งเรียน เพราะไม่มีรายได้มากพอจะสามารถส่งเสียลูกๆ ได้ทุกคน และจะเลือกส่งเฉพาะลูกคนที่’หัวดี’หรือเรียนได้คะแนนดีพอ ซึ่งในแง่เศรษฐศาสตร์คือเป็นการลงทุนที่คุ้มความเสี่ยงกว่า

Education

แฟนตาซีของความจน ในสายตาผู้กำหนดนโยบายจากยอดพีระมิด

Reading Time: 2 minutes “อาจารย์หนูมีเรื่องจะเล่าให้ฟัง” เธอเป็นนักศึกษาปี 1 มหาวิทยาลัยมักจะโฆษณาอยู่เสมอว่ามีทุนการศึกษาสำหรับผู้ที่ยากจนและมีความต้องการจริงๆ และทุกคนสมควรที่จะได้เรียนก็จะได้ทุน เธอเป็นคนหนึ่งที่ทางบ้านได้รับผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจนี้

รศ.ดร.ษัษฐรัมย์ ธรรมบุษดี
Education

ผิดที่ไว้ใจ?…รัฐปกป้องใครในวันที่เด็กที่ลุกขึ้นมาปกป้องสิทธิ

Reading Time: 2 minutes นักกิจกรรมที่เดินทางมาจากทั่วทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ร่วมเสวนาในหัวข้อ “When Children Defend Human Rights: Thailand’s Response?” เมื่อเยาวชนลุกขึ้นมาปกป้องสิทธิและรัฐปกป้องใคร” เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2563 ที่ผ่านมา พร้อมเปิดกล่องรับไอเดียส่งให้องค์กรเด็กอย่างยูนิเซฟไม่ให้เพิกเฉยต่อการคุกคามเด็กและเยาวชนที่กำลังเกิดขึ้น

Decode
Education

เพราะเราต่างมีส่วนสร้างพลเมือง ประชาธิปไตยจะไม่ใช่แค่วิชาสังคม

Reading Time: 2 minutes Decode สรุปความจากวงเสวนา ‘พลเมืองประชาธิปไตยและพลังขับเคลื่อนสังคมของเยาวชน (Democratic Citizens and Civic Engagement of the Youth)’ ช่วงที่ 2 นิเวศการเรียนรู้ความเป็นพลเมือง ซึ่งจัดขึ้นโดย มูลนิธิการศึกษาเพื่อสร้างพลเมืองไทย (Thai Civic Education Foundation ร่วมกันกับภาคีเครือข่าย เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน ณ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ภาวิณี คงฤทธิ์
Education

ห้องเรียนของ“หน้าที่” แต่ไม่มี “สิทธิ” ของพลเมือง

Reading Time: 2 minutes เวทีเสวนา “พลเมือง ประชาธิปไตย และความเป็นธรรมทางสังคม” ที่จัดขึ้นกลางเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา นิ้ง-ธญานี เจริญกูล กลุ่มนักเรียนเลว และ มายมิ้น-ศุกรียา วรรณายุวัฒน์ นิสิตคุรุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตอบเปิดเวทีในทิศทางเดียวกันว่า ความเป็นธรรมคือการที่ทุกคนมีสิทธิ์เท่ากัน ขณะเดียวกันก็ได้รับการคุ้มครองสิทธิ์นั้นเช่นกัน ทั้งสองร่วมเวทีท่ามกลาง “ครู” ในโรงเรียน และมหาวิทยาลัย

กัลยาวีร์ แววคล้ายหงษ์
Education

รุ่งอรุณของคอซอง กระโปรงบานบนจุดนัดพบซอย‘นมสด’ GIRLS! Let’s speak out! เปล่งเสียง! ปลุกการเมืองให้ตื่นขึ้น เดบิวต์ครูในศตวรรษที่ 21

Reading Time: 4 minutes อาจจะถึงเวลาแล้วที่เราทั้งสังคมต้องตั้งคำถามกับสิ่งที่เกิดขึ้น ว่าภายใต้ดีกรีความโกรธที่ทะลุปรอทแตกของนักเรียนไทย แท้จริงแล้วพวกเขากำลังเผชิญหน้ากับสิ่งใดในพื้นที่(เคย)ปลอดภัยอย่างโรงเรียน Decode เดินทางไปยังโรงเรียนเบญจมราชาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ เพื่อพูดคุยกับ เอ๋-วารุณี ทองอุ่น ผู้ก่อตั้งกลุ่ม บร.ไม่ง้อเผด็จการ หนึ่งในแนวร่วมกลุ่ม sisterhood ที่ขับเคลื่อนประเด็นสิทธิเสรีภาพของนักเรียนหญิงและกลุ่ม LGBTQI เอ๋ย้อนให้เราฟังถึงอะไรคือสิ่งที่ ‘นักเรียนหญิงไทย’ รวมไปถึง ‘ลูกสาวไทย’ ในวันนี้ต้องเจอ และความโกรธจากการโดนละเมิดสิทธิ์จุดประกายอะไรในตัวพวกเธอ พร้อมทั้งมองไปหาอนาคตที่รอบนี้พวกเธอขอเป็นคนกำหนดเองว่า โรงเรียนในฝันของนักเรียนสมัยนี้ควรเป็นอย่างไร

ภาวิณี คงฤทธิ์
Education

‘นักเรียนเลว’ ผลผลิตของโรงฝึกประชากรเชื่อง

Reading Time: 3 minutes ความปกติที่บิดเบี้ยวอย่างหนึ่งของโรงเรียนไทย คือ การใช้อำนาจลงโทษเด็กที่ผิดระเบียบทรงผมด้วยการประจาน ทำให้อาย ฝากรอยไถ ตัด กล้อนบนศรีษะที่คนไทยเรียกว่าของสูง

ทิพากร ไชย​ประสิทธิ์​
Education

#มหาลัยมีไว้ทำไม ว่าด้วยเรื่องบทบาท’มหาลัย’ ในการเคลื่อนไหวของนักศึกษา

Reading Time: 3 minutes Decode จึงชวน ผศ. ดร. ษัษฐรัมย์ ธรรมบุษดี อาจารย์ประจำวิทยาลัยสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มาร่วมถอดรหัสหน้าที่ของมหาวิทยาลัยในวันที่นักศึกษาลุกมาเคลื่อนไหว โดยเริ่มต้นตั้งแต่การวิเคราะห์ตัวละครนักศึกษาในขบวนการที่เปลี่ยนแปลงไป ทั้งความคิดตั้งต้นและการสื่อสารที่เลือกใช้ ไปจนถึงร่วมมองหาแนวทางที่มหาวิทยาลัยควรทำเพื่อรักษาไว้ซึ่งสิทธิและเสรีภาพอย่างแท้จริง

ภาวิณี คงฤทธิ์
Education

เปิดเทอมใหม่กู้เงินว้าวุ่น ขอแค่ได้เรียนความฝันอันสูงสุดของนศ.รุ่นโควิด-19

Reading Time: 4 minutes เดือนสิงหาคมที่ใกล้เข้ามานี้จะถึงฤดูกาลเปิดเทอมใหม่ของมหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2563 แต่เดิมช่วงเวลานี้คงเป็นช่วงเวลาที่ทำให้ใครหลายคนตื่นเต้นและเฝ้ารอการได้เป็นเฟรชชี่ครั้งแรกและอาจจะเป็นครั้งเดียวในชีวิต แต่ด้วยสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้ความรู้สึกนั้นหายไป จากความตื่นเต้นที่จะได้ใช้ชีวิตตามที่ใจฝัน มาวันนี้ว่าที่นักศึกษาหลายคนกลับเกิดความกังวลใจขึ้นมาแทน ว่าจากนี้ต่อไปจะเอาอย่างไรกับชีวิต ยังไม่ต้องพูดถึงเรื่องการเรียนจบไปแล้วจะมีงานทำ ตอนนี้ขอแค่ให้ยังได้เรียนก็ถือว่าเก่งมากแล้ว

ภาวิณี คงฤทธิ์
Education

ไม่อยากเป็นแค่ ‘ผู้ปรับตัวที่ดี’ เด็กจบใหม่อยู่ตรงไหนของการจ้างงาน ‘เงินกู้ 4 แสนล้าน’

Reading Time: 3 minutes ‘ผู้ปรับตัวที่ดี’ เราชอบคำนี้ ฟังดูมีพลังบวก ให้พลัง (empower) สามารถอยู่รอด และไปต่อได้ในทุก ๆ สถานการณ์ แต่ ‘ผู้ปรับตัวที่ดี’ ในความหมายของ คณิน ฉินเฉิดฉาย นิสิตปีสุดท้ายของคณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา วัย 22 ปี ที่เราได้คุยนั้นแตกต่างไป มันมีความหมายถึงการ “จำยอม” ต่อโครงสร้างสังคมและเศรษฐกิจที่ไม่ได้เอื้ออวยคนรุ่นใหม่เท่าไหร่นัก ผลักการปรับตัวเป็นหน้าที่…ที่ดี และเป็นที่ของใครของมัน โดยเฉพาะการหางาน และความมั่นคงในชีวิต

กัลยาวีร์ แววคล้ายหงษ์
Education

เพราะระบบการศึกษาไทยบังคับให้ฉันต้อง(ห)ลอก

Reading Time: 3 minutes ไม่น่าเชื่อว่าแม้เวลาจะผ่านมาหลายยุคหลายสมัย ถึงขนาดที่การเรียนการสอนออนไลน์กลายมาเป็น new normal ของการศึกษาไทยแต่‘ปัญหาเรื่องการลอกข้อสอบ’ ก็ยังคงเป็นปัญหาเรื้อรังที่แก้ไม่ตกสักที การเปลี่ยนบริบทใหม่ของผู้เรียน จากการเรียนในห้องมาเป็นการเรียนด้วยตัวเอง ไร้การจับผิดของครูอาจารย์ ได้เปิดแผลของระบบการศึกษาไทย จะเรียกว่าเปิดก็คงไม่ถูกต้อง ต้องเรียกว่าฉีกแผลเก่าออกมาให้เห็นกันจะๆ

ภาวิณี คงฤทธิ์
Education

ค่าแรงแลกค่าเทอม เมื่องานไม่มี เรียนฟรีก็ไม่มีอยู่จริง

Reading Time: 2 minutes “ปกติเสาร์อาทิตย์จะไปรับขายของตามห้าง เวลามีบู๊ทต่าง ๆ แต่ตอนนี้ห้างก็ปิดหมด” เรื่องเล่านี้ที่ฟังเผิน ๆ อาจเป็นปัญหาความทุกข์ใจของคนวัยทำงานที่ถูกพิษโควิด-19 เล่นงานเสียแล้ว แต่ไม่ใช่ นี่เป็นเรื่องราวของเด็กสาววัย 15 ปี ที่ต้องตกอยู่ในสถานะคนตกงานไม่ต่างจากบรรดาผู้ที่มีสิทธิยื่นขอรัยเงินช่วยเหลือ 5,000 บาทจากรัฐบาลอยู่ในขณะนี้

สมิตานัน หยงสตาร์