“สิ่งที่เหมือนกันไม่ว่าจะเป็นคนรุ่นก่อนหรือคนรุ่นเรา มันโดดเดี่ยวมาก รุ่นก่อนไปอยู่ป่าหรือถูกเกลียดชังจากสังคม หรืออย่างบุ๊ค (ธนายุทธ ณ อยุธยา) คนก็ไม่รู้ด้วยซ้ำว่าเขาคือใคร”
ขณะที่ ‘ประชาธิปไตย’ กำลังเริ่มเบ่งบานในห้วงเวลา 14 ตุลา ความกังวลของฝ่ายอำนาจเก่าก็เริ่มระอุขึ้น สามปีถัดมาในวันที่ 6 ตุลา กลุ่มนักศึกษาในมหาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ กลายเป็นคอมมิวนิสต์ จากการประโคมข่าวและการปลุกความเกลียดชัง “ฆ่าคอมมิวนิสต์ไม่บาป” ทำให้หลายคนต้องหนีเข้าป่าและหลายคนต้องสังเวยชีวิต
“ถ้าเป็นนกคงโดนหักปีกไม่ให้บิน” ไรม์หนึ่งของบุ๊ค-ธนายุทธ ณ อยุธยา บนหน้าหนัง School Town King ที่บอกว่าการเคลื่อนไหวของคนบางกลุ่มไม่ถูกยอมรับจากสังคม ไม่มีพื้นที่ปลอดภัย และกลายเป็น ชนกลุ่มน้อยที่ถูกความเกลียดชังรุมล้อมและ ‘ความโดดเดี่ยว’ เป็นราคาที่พวกเขาต้องจ่าย
“เราไปวันที่บุ๊คเข้าคุก เราไปวันที่บุ๊คฟังคำพิพากษาของศาล
แต่มันไม่มีใครไปเลย มีแค่ป้ากับลุงอีกสองสามคนเท่านั้นเอง”
มวลความโกรธพ่วงผสมไปกับความเศร้าของ เบสท์-วรรจธนภูมิ ลายสุวรรณชัย หนึ่งในผู้ก่อตั้ง Eyedropper Fill สตูดิโอของนักออกแบบประสบการณ์ ที่มีต่อเพื่อนในฉากหนัง School Town King สารคดีที่ว่าด้วยเรื่องราวของการถูกตราหน้า และความฝันที่ถูกช่วงชิงของเด็กจากชุมชนคลองเตย
หรือในอีกหมวกหนึ่งที่เราอาจจะคุ้นเคยกัน ‘กล่องฟ้าสาง’ ทรงจำระหว่างทางของเหตุการณ์ 14 ถึง 5 ตุลา ทั้งทรงจำของแกนนำชาวนา แกนนำกรรมกร หรือขบวนการนักศึกษา โดยทีมงาน หลายชีวิตจากหลายทีม ไม่ว่าจะเป็น Mob Fest, Deadline Always Exists, Rackscene Collective และ Eyedropper Fill
โดยเบสท์ทำหน้าที่เป็น หนึ่งในผู้สังเกตการณ์จาก ‘เสียงเล่า’ คนเดือนตุลาที่ชาวคณะค้นคว้ามาให้ ออกแบบประสบการณ์และบรรจุ ‘ความหวัง’ ที่สะท้อนบนเสียงเล่าเหล่านั้นลงในกล่องดังกล่าว
“การถูกทอดทิ้งจากครอบครัว คนรัก เพื่อน หรือสังคม
มันเป็นอะไรที่รุนแรงต่อภาวะจิตใจคน ๆ หนึ่งมากเลยนะ”
เบสท์อธิบายว่า ความโดดเดี่ยวของนักเคลื่อนไหวทางการเมืองเป็นสิ่งที่สังคมมักจะมองไม่เห็น อย่างที่คนเดือนตุลาบางคนต้องหนีเข้าป่า บางคนแทบไม่อยากออกมาจากป่า หรือบางคนไม่กล้าพูด ด้วยซ้ำว่าตนเองเป็นคนเดือนตุลา
หรืออย่าง บุ๊ค-ธนายุทธ ณ อยุธยา แรปเปอร์หนุ่มจากชุมชนคลองเตย ที่เพิ่งถูกศาลพิพากษาจำคุก ในคดีครอบครองวัตถุระเบิดเมื่อวันที่ 22 กันยายน 2566 ที่ก็ประสบกับความเจ็บปวดทางจิตใจอย่าง รุนแรงจากการถูกจับกุมจากการให้เบาะแส ตำรวจจากคนในชุมชน หรือกระทั่ง หยก ธนลภย์ ผู้ถูกกล่าวหาด้วยคดี 112 ที่อายุน้อยที่สุด ที่ต้องถูกตำรวจตามตัวและไม่มีการคุ้มครองใด ๆ จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ยิ่งในห้วงการชุมนุมขณะนี้ เราจะยิ่งเห็นได้อย่างชัดเจนถึงผลสะท้อนกลับรุนแรงขึ้นจากการ ‘ไม่ฟัง’ ของสังคม หลายกลุ่มผู้ชุมนุมจำต้องยกระดับการชุมนุมจนไต่เส้นระดับความรุนแรง เรามีเด็กคนหนึ่งที่ยืนยันว่าจะเข้าไปเรียนให้ได้ แต่สังคมกลับบอกให้เธอเงียบปากซะที นี่คือสภาวะการณ์ที่ผลักคนในขบวนการเรียกร้องออกไป และทอดทิ้งเขาเหล่านั้น
“แล้วเราว่าไม่แปลกเลยที่เด็กจะโกรธเกรี้ยว เรามีหยก มีตะวัน มีทะลุแก๊ส ที่สื่อมักจะออกข่าวว่าทำไมเด็กพวกนี้ก้าวร้าว เราไม่ได้สปอยหรือให้ท้ายนะ แต่มึงดูซะก่อนว่าสังคมมัน Bullshit ขนาดไหน หรืออะไรที่มันเป็นเชื้อเพลิง”
หลังการชุมนุมครั้งใหญ่ของมวลชนนำโดยคณะราษฎรเมื่อปี 2563 การประท้วงเรียกร้องเริ่มแผ่วกำลัง แม้เพดานประเด็นจะถูกทำลาย แต่กลับแลกมาด้วยผู้ร่วมชุมนุมหรือแกนนำหลายคนต่างถูกดำเนินคดี
เบสท์ยืนยันว่า อุดมการณ์ในการเคลื่อนไหวทางการเมืองของประชาชนทุกคนนั้นไม่ได้หดหาย แต่มันถูกหารแบ่งด้วยการหมดหวังจากเหตุการณ์ทางการเมืองที่ปะทุอยู่ตลอด เช่น ผลการเลือกตั้ง หรือกระทั่งแรงใจที่หดหายจากการทำงาน 8-9 ชั่วโมงต่อวัน และการเอาตัวรอดในประเทศที่ระบบสังคมมันพังเช่นนี้ นั่นทำให้เบสท์มองว่า ‘สภาพจิตใจ’ นั้นมีผลตรงไปตรงมากับการเคลื่อนไหว
“เราก็เคยโดยตำรวจตามเหมือนกัน
มันทำให้เราเข้าใจหัวอกของคนที่ถูกตำรวจตาม หรือถูกรัฐคุกคาม”
หลายครั้ง ‘ความโกรธ’ เป็นความรู้สึกแรก ๆ ที่เกิดขึ้นหลังจากถูกรัฐคุกคาม ทว่าบางครั้งความรู้สึกที่เกิด ขึ้นก็มี ‘ความกลัว’ ผสมปนเปอยู่ด้วย หลังจากถูกตำรวจตาม เบสท์ตัดสินที่จะเข้ารับการเยียวยาจิตใจ จากนักบำบัด เพราะเขารับกับสภาวะที่ถูกตำรวจตามไม่ไหว
เป็นเหตุหนึ่งที่ทำให้เบสท์เห็นความสำคัญของการต่อสู้ในระดับของ ‘สภาพจิตใจ’ และหันมาทำงานด้าน Mental Health มากขึ้น ในห้วงเวลาที่ต่างคนต่างหมดกำลังใจ และอยู่ในช่วงเยียวยาจากความเหนื่อย ล้าทางการเมือง
การมีพื้นที่ที่ผู้คนสามารถ เยียวยา ดูแล ซ่อมแซม หรือรู้จักตนเองได้มากขึ้น และยืนยันว่า ‘สภาพจิตใจ’ ไม่ใช่เพียงเรื่องไร้ตรรกะ แต่มันอยู่บนแนวทางเดียวกับการเคลื่อนไหวทางการเมือง “เราไม่ได้มองว่า Mental health แยกออกจากการเคลื่อนไหวทางการเมืองเลย” เขาย้ำ
“แต่พูดจากวัยนี้ เราทำได้ประมาณนี้ แต่ถ้าวันใดที่เราโกรธกว่านี้ เราอาจทำอะไรที่แรงกว่านี้ก็ได้ เราไม่รู้เหมือนกัน
เบสท์เกริ่นว่า อุดมการณ์ทางการเมืองค่อย ๆ ก่อตัวขึ้นตั้งแต่ราวสิบปีก่อน ผ่านข่าวต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น จากความรู้สึกโกรธหรืออึดอัดจากการที่ตนทำได้เพียงแชร์ข่าว ทำให้เขารู้สึกว่าตัวเอง ‘ไร้พลัง’ จนอยากจะทำอะไรบางอย่างที่ตนเองมีส่วนร่วมได้ เขาจึงตัดสินใจหันจากงานเชิงโฆษณามาพูดถึงเรื่องสังคม และเสียงที่ใครหลายคนอาจไม่เคยได้ยิน ร่วมกับ นัท-นันทวัฒน์ จรัสเรืองนิล ผู้ร่วมก่อตั้ง Eyedropper Fill อีกคนหนึ่ง
ในห้วงเวลาที่เพดานของประเด็นการเรียกร้องแทบจะถูกทำลายหมดสิ้น การยืนหยัดอุดมการณ์ ทางการเมืองกลายเป็นเรื่องดีมากกว่าเรื่องร้าย เช่นเดียวกับเบสท์ที่ยืนยันว่าการยึดมั่นในจุดยืนในฐานะคนทำงานสื่อสารหาใช่เรื่องผิด
“อายดรอปฯ เราก็มีขอบเขตอยู่นะ คือเราจะไม่ทำงานรับใช้นายทุนหรือเผด็จการ ต่อให้มีเงินเท่าไหร่ก็ไม่ทำ อันนี้คือเส้นตาย” เบสท์ย้ำว่าการไม่เลือกฝ่ายเป็นเรื่องโกหกทั้งเพ สำหรับเบสท์และอายดรอปฯ การมีจุดยืนที่มั่นคงเป็นเรื่องที่ดีและเราต้องยึดหลักนั้นให้มั่น และคนที่เห็นด้วยกับเราทั้งภาคประชาชนและในเชิงธุรกิจก็จะเข้าร่วมกับเราเอง
อย่างสารคดีเรื่อง School Town King ก็เป็นภาพยนตร์ที่เบสท์ไม่ได้เลือกทำโดยใช้เทรนด์ แต่เลือกพูดในสิ่งที่เขารู้สึกกับมันจริง ๆ และหันมาทำงานในแนวทางของการเยียวยาสภาพจิตใจของสังคม ที่หาใช่การหลุดพ้นโดยปัจเจก
แต่กลับต้องหลุดพ้นกันทั้งสังคม ผ่านการฟังกันในทุกมิติ ไม่ว่าจะเสียงตนเอง คนรอบข้าง หรือสังคม
“เราทำได้แค่เรื่อง Empowerment หรือการดูแลจิตใจ อาจจะไม่ใช่การรักษา ตราบใดที่คนเริ่มโอเคกับตัวเอง มันจะทำให้เขามีพลังในการนึกถึงเรื่องคนอื่นมากขึ้น ป้องกันให้ตัวเองมีสุขภาพจิตใจที่ดี มันจะช่วยเรื่องการเปลี่ยนแปลงในระยะยาวได้ ”
“เราว่าเพดานมันน่าจะทะลุไปเรื่อย ๆ เรามองว่าคนก็เสื่อมศรัทธากับอะไรที่เป็นแนวของอนุรักษนิยมไปเรื่อย ๆ”
เบสท์ยกเทียบช่วงที่สำรวจเสียงของคนเดือนตุลาที่เขาจำได้แม่น คือการยกเลิกรับน้อง แม้จะไม่ได้แตะสถาบันแต่ก็พูดในสิ่งที่ก้าวหน้ากว่ายุคสมัย และยิ่งปัจจุบันที่เทคโนโลยีเปิดกว้าง และทุกคนมีสื่อของตนเอง
เขาแนะต่อว่า ไม่ว่าคุณจะทำอาชีพใดก็ตาม สื่อ คนทำละครเวที หมอ หรืออะไรก็ตามที่คุณคิดว่ายากที่จะ มีส่วนร่วมกับขบวนการ เพียงคุณปรับทัศนะของตนเอง หรือกระซิบบอกคนข้าง ๆ กระทั่ง การเป็นท่อน้ำเลี้ยง หรือออกไปชุมนุม การมีส่วนร่วมในทุกระดับล้วนสำคัญทั้งสิ้น ในการเคลื่อน ไหวเพื่อให้ได้มาซึ่งประชาธิปไตย
อย่างเวลาอายดรอปฯ ทำงาน มันจะมีพื้นที่หนึ่งที่ทุกคนปลอดภัยพอที่จะเขียน”
ขณะเดียวกัน เบสท์มองว่าการจะได้มาซึ่งพื้นที่ปลอดภัย จำต้องมองเรื่องของอำนาจเสียใหม่ ไม่ใช่เพียงเรื่องของสถาบัน แต่ต้องมองตัวแทนของอำนาจที่แฝงฝังอยู่ในบริบทของสังคม อาทิ ครอบครัว โรงเรียน หรือสถานที่ทำงาน
เพราะพื้นที่เหล่านั้นจะปลอดภัยได้ จำต้องไม่มี อำนาจที่มากดทับจนผู้คนไม่สามารถเปล่งเสียง หรือมีพื้นที่ของตนได้ ตลอดจนผู้คนต้องสามารถบริหารอำนาจของตน เพื่อให้พื้นที่ตรงนั้นปลอด ภัยและพวกเขาได้เป็นตัวเอง
เบสท์ย้ำว่าการดูแลใจผนวกกับการต่อสู้เพื่ออุดมการณ์ทำได้หลากหลายมิติ อาจเริ่มจากการแชร์ข่าว ผู้ถูกขัง เริ่มจากการพูดคุยประเด็นการเมืองกับเพื่อนสักแปปหนึ่ง แม้จะเล็กน้อยแต่ก็มหาศาล และมีพลังมากพอ หรืออาจตะโกนให้ดังเพื่อคนอื่นเหมือนบุ๊คก็ย่อมได้ เพียงแต่ให้กำลังใจกันบ่อย ๆ
“ไม่ว่าจะ14 ตุลา 6 ตุลาหรือยุคไหน ทุกคนล้วนต้องการกำลังใจและต้องการคนที่ซัพพอร์ต ถ้าสังเกต ประเทศเราที่คนออกมาม็อบเยอะ ๆ เราโครตใจฟูเลยเนอะ โครตมีความหวังเลย เราเลยรู้สึกว่าพละกำลังทางจิตใจจึงสำคัญมากในการเปลี่ยนแปลง”