Space For Thai Archives - Decode

TAG Space For Thai
Lorem ipsum dolor sit amet.

Columnist

วิทย์อวกาศในแบบเรียน

Reading Time: < 1 minute Space for Thai นิศาชล คำลือ ครูเอหายใจเข้าลึกกว่าปกติเล็กน้อยก่อนที่จะพูดพลางหัวเราะออกมาแบบติดตลกว่า “พึ่งลาออกมาเลยค่ะ” เธอเคยเป็นคุณครูสอนวิชาชีววิทยาระดับมัธยมปลายให้กับโรงเรียนแห่งหนึ่ง ก่อนที่จะตัดสินใจย้ายโรงเรียนและได้มาเป็นครูสอนวิชาวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กนักเรียนชั้นประถมต้น ความแตกต่างของเด็ก 2 วัย ครูเอเล่าให้ฟังว่าตอนที่เธอสอนนักเรียนระดับมัธยม ความยากคือเนื้อหาที่ซับซ้อน อีกทั้งเธอยังจะต้องคอยอัปเดตเนื้อหาให้ทันโลกอยู่ตลอดเพราะนักเรียนจะต้องนำไปใช้ในการสอบเข้าระดับอุดมศึกษา ในขณะที่เนื้อหาของเด็กประถมต้นมีความซับซ้อนน้อยกว่าแต่เด็กสามารถเรียนรู้ได้ค่อนข้างช้า ทำให้เธอต้องปรับตัวด้วยการลดความเร็วในการสอนลงมา หันมาทำสื่อการสอนให้น่าสนใจอยู่ตลอด รวมถึงการต้องพยายามควบคุมชั้นเรียนด้วย งานของครูที่มากกว่าการสอน แต่ไม่ว่าเด็กทั้ง 2 วัย จากทั้ง 2 โรงเรียน จะต่างกันแค่ไหน ปัญหาที่ครูเอเจอเหมือนกันก็คือ “งานเอกสาร” ที่มากเกินความจำเป็น เธอเล่าว่ามันส่งผลให้เธอทำหน้าที่ของคนเป็นครูได้น้อยลง ในช่วงเวลาที่เธอควรจะต้องไปอัปเดตเนื้อหาการสอนหรือทำสื่อการสอนใหม่ ๆ เธอกลับต้องมานั่งทำงานเอกสารเหล่านี้ “ครูไม่ควรมานั่งเขียนเอกสารด้วยมือแล้ว” เธอกล่าว ซึ่งผู้เขียนเองก็เห็นด้วยเพราะเทคโนโลยีบนโลกของเราพัฒนาไปไกลอย่างรวดเร็ว มนุษยชาติกำลังจะส่งมนุษย์ไปเหยียบพื้นผิวดวงจันทร์อีกครั้งในรอบครึ่งศตวรรษ ยังมีคนที่ต้องเขียนเอกสารด้วยมืออีกหรือ ? หลักสูตรการเรียนการสอนที่ต้องพัฒนาให้ทันสังคม อย่างที่ผู้เขียนพึ่งกล่าวไปว่าเทคโนโลยีบนโลกของเราพัฒนาไปไกลอย่างรวดเร็ว มีหลายอาชีพที่เริ่มถูกทิ้งไว้ข้างหลังและมีอีกหลายอาชีพที่เกิดขึ้นมาใหม่ ไม่ว่าจะเป็นอาชีพยูทูปเบอร์, นักรีวิวอาหาร, นักแข่งเกมมืออาชีพและอีกหลาย ๆ อาชีพ หลักสูตรการเรียนการสอนในโรงเรียนก็ควรจะต้องปรับตัวตามด้วยเช่นกัน แม้ครูเอจะเป็นครูสอนวิชาวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นวิชาที่จำกัดอยู่ในหมวดวิชาการและเด็ก ๆ ทุกคนรู้ดีว่าหากอยากให้เกรดเฉลี่ยออกมาดี หนึ่งในวิชาที่จะต้องตั้งใจทำคะแนนให้ดีก็คือวิชาวิทยาศาสตร์ แต่ครูเอมองว่าหลักสูตรการเรียนการสอนตอนนี้ควรมีวิชาชีวิตให้มากกว่าเดิม […]

Space For Thai

วิทย์อวกาศในแบบเรียน

Reading Time: < 1 minute Space for Thai นิศาชล คำลือ ครูเอหายใจเข้าลึกกว่าปกติเล็กน้อยก่อนที่จะพูดพลางหัวเราะออกมาแบบติดตลกว่า “พึ่งลาออกมาเลยค่ะ” เธอเคยเป็นคุณครูสอนวิชาชีววิทยาระดับมัธยมปลายให้กับโรงเรียนแห่งหนึ่ง ก่อนที่จะตัดสินใจย้ายโรงเรียนและได้มาเป็นครูสอนวิชาวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กนักเรียนชั้นประถมต้น ความแตกต่างของเด็ก 2 วัย ครูเอเล่าให้ฟังว่าตอนที่เธอสอนนักเรียนระดับมัธยม ความยากคือเนื้อหาที่ซับซ้อน อีกทั้งเธอยังจะต้องคอยอัปเดตเนื้อหาให้ทันโลกอยู่ตลอดเพราะนักเรียนจะต้องนำไปใช้ในการสอบเข้าระดับอุดมศึกษา ในขณะที่เนื้อหาของเด็กประถมต้นมีความซับซ้อนน้อยกว่าแต่เด็กสามารถเรียนรู้ได้ค่อนข้างช้า ทำให้เธอต้องปรับตัวด้วยการลดความเร็วในการสอนลงมา หันมาทำสื่อการสอนให้น่าสนใจอยู่ตลอด รวมถึงการต้องพยายามควบคุมชั้นเรียนด้วย งานของครูที่มากกว่าการสอน แต่ไม่ว่าเด็กทั้ง 2 วัย จากทั้ง 2 โรงเรียน จะต่างกันแค่ไหน ปัญหาที่ครูเอเจอเหมือนกันก็คือ “งานเอกสาร” ที่มากเกินความจำเป็น เธอเล่าว่ามันส่งผลให้เธอทำหน้าที่ของคนเป็นครูได้น้อยลง ในช่วงเวลาที่เธอควรจะต้องไปอัปเดตเนื้อหาการสอนหรือทำสื่อการสอนใหม่ ๆ เธอกลับต้องมานั่งทำงานเอกสารเหล่านี้ “ครูไม่ควรมานั่งเขียนเอกสารด้วยมือแล้ว” เธอกล่าว ซึ่งผู้เขียนเองก็เห็นด้วยเพราะเทคโนโลยีบนโลกของเราพัฒนาไปไกลอย่างรวดเร็ว มนุษยชาติกำลังจะส่งมนุษย์ไปเหยียบพื้นผิวดวงจันทร์อีกครั้งในรอบครึ่งศตวรรษ ยังมีคนที่ต้องเขียนเอกสารด้วยมืออีกหรือ ? หลักสูตรการเรียนการสอนที่ต้องพัฒนาให้ทันสังคม อย่างที่ผู้เขียนพึ่งกล่าวไปว่าเทคโนโลยีบนโลกของเราพัฒนาไปไกลอย่างรวดเร็ว มีหลายอาชีพที่เริ่มถูกทิ้งไว้ข้างหลังและมีอีกหลายอาชีพที่เกิดขึ้นมาใหม่ ไม่ว่าจะเป็นอาชีพยูทูปเบอร์, นักรีวิวอาหาร, นักแข่งเกมมืออาชีพและอีกหลาย ๆ อาชีพ หลักสูตรการเรียนการสอนในโรงเรียนก็ควรจะต้องปรับตัวตามด้วยเช่นกัน แม้ครูเอจะเป็นครูสอนวิชาวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นวิชาที่จำกัดอยู่ในหมวดวิชาการและเด็ก ๆ ทุกคนรู้ดีว่าหากอยากให้เกรดเฉลี่ยออกมาดี หนึ่งในวิชาที่จะต้องตั้งใจทำคะแนนให้ดีก็คือวิชาวิทยาศาสตร์ แต่ครูเอมองว่าหลักสูตรการเรียนการสอนตอนนี้ควรมีวิชาชีวิตให้มากกว่าเดิม […]

นิศาชล คำลือ
Space For Thai

ท่ามกลางพันล้านดวงสู่ดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะและสิ่งมีชีวิตทรงภูมิปัญญานอกโลก

Reading Time: < 1 minute ความรัก, ผี และมนุษย์ต่างดาวคงเป็น 3 สิ่ง ที่ถูกจัดอยู่ในประเภทเดียวกัน เราไม่อาจรู้ถึงการมีอยู่จริงของพวกมัน บ้างก็บอกว่าเคยได้เห็น, เคยได้ยิน หรือเคยได้สัมผัส แต่ก็ไม่อาจสรุปได้อย่างแน่ชัดว่าสิ่งเหล่านี้มีจริงหรือไม่

นิศาชล คำลือ
Space For Thai

อวกาศในดวงตาจิตรกร

Reading Time: < 1 minute นักบินอวกาศที่เคยถูกส่งไปสำรวจอวกาศ ส่วนใหญ่มักเป็นนักวิทยาศาสตร์ วิศวกร หมอ และทหาร แต่คุณผู้อ่านเคยลองจินตนาการเล่น ๆ บ้างหรือไม่ ว่าหากนักบินอวกาศเหล่านั้นคือ เลโอนาร์โด ดา วินชี หรือปาโบล ปีกัสโซ ห้วงอวกาศที่พวกเขาได้เห็นจะถูกบอกเล่าออกมาแบบไหน

นิศาชล คำลือ
Space For Thai

ตาดวงใหม่ของมนุษยชาติ

Reading Time: < 1 minute Space for Thai นิศาชล คำลือ ว่ากันว่าความงามไม่อาจมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าเสมอไป เนื่องด้วยข้อจำกัดทางธรรมชาติที่อนุญาตให้มนุษย์มองเห็นวัตถุได้เพียงช่วงคลื่นที่ตามองเห็นเท่านั้น เมื่อดวงตาไม่อาจมองเห็น มนุษย์จึงจำเป็นจะต้องใช้สติปัญญาแทนดวงตาเพื่อมองให้เห็นถึงความงามที่ไม่อาจมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ในปี ค.ศ. 1990 กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลได้ถูกส่งขึ้นไปโคจรรอบโลกที่ความสูงประมาณ 570 กิโลเมตร มันสามารถมองเห็นวัตถุได้ทั้งในช่วงคลื่นที่ตามองเห็น ช่วงคลื่นแสงอินฟราเรด และช่วงคลื่นอัลตราไวโอเลต ฮับเบิลประสบความสำเร็จอย่างมากในการเป็นกล้องโทรทรรศน์อวกาศ ด้วยดวงตาของมันทำให้นักดาราศาสตร์สามารถศึกษาวัตถุและปรากฏการณ์ใหม่ ๆ ในอวกาศได้มากมาย สร้างผลกระทบเชิงบวกเป็นวงกว้างให้กับวงการดาราศาสตร์และวิทยาศาสตร์ และข้อมูลจากฮับเบิลยังถูกนำมาอ้างอิงในงานวิจัยของนักวิจัยอยู่เสมอ ๆ จนถึงนักวิจัยรุ่นปัจจุบัน จะเรียกว่าเป็นดวงตาของมนุษยชาติเลยก็ว่าได้ แต่คุณผู้อ่านสังเกตเห็นอะไรในความสมบูรณ์แบบนี้ไหม? หากนับตั้งแต่ปีที่ฮับเบิลถูกส่งขึ้นไปปฏิบัติหน้าที่จนถึงวันนี้ ณ ที่เขียน พบว่ากล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลมีอายุการทำงานมากว่า 32 ปีแล้ว แม้มันจะเป็นกล้องโทรทรรศน์อวกาศที่ถูกออกแบบมาให้สามารถส่งนักบินอวกาศไปทำการซ่อมแซมเมื่อชำรุดได้ แต่เราได้ส่งนักบินอวกาศออกไปซ่อมแซมมันอยู่เสมอมากถึง 5 ครั้งแล้ว และการส่งมนุษย์ออกไปทำงานกลางอวกาศแบบนั้น นับเป็นเรื่องที่มีความเสี่ยงสูง ยิ่งเราดึงดันจะซ่อมมันอยู่เรื่อย ๆ จะยิ่งเป็นการเพิ่มความเสี่ยงให้กับนักบินอวกาศ หน่วยงานอวกาศอย่างนาซ่า องค์การอวกาศยุโรป และอีกหนึ่งพันธมิตรอย่างองค์การอวกาศแคนาดาจึงได้พยายามที่จะสร้างกล้องโทรทรรศน์อวกาศรุ่นใหม่ขึ้นมาเพื่อทดแทนการทำงานของกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล ทั้งนี้พวกเขายังตั้งเป้าให้กล้องโทรทรรศน์อวกาศรุ่นใหม่ที่ว่าสามารถล้วงลึกจักรวาลไปได้ไกลถึงจุดกำเนิดของทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อไขปริศนาในการมีอยู่ของเอกภพ และนั่นก็คือจุดกำเนิดของ “กล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เวบบ์” กล้องโทรทรรศน์อวกาศชนิดสะท้อนแสงทายาทรุ่นน้องที่อ้างอิงการสร้างมาจากกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล เป็นเวลาเกือบสามทศวรรษในการวางแผนพัฒนาและปรับปรุง จนในที่สุด เจมส์ เวบบ์ […]

นิศาชล คำลือ
Space For Thai

อาชีพนักสื่อสารดาราศาสตร์ นักต่อสู้กับความไม่รู้ พูดคุยกับ “ศุภฤกษ์ คฤหานนท์ “

Reading Time: < 1 minute ดาราศาสตร์เป็นเรื่องที่อยู่ใกล้ ๆ ตัวเรา งานดาราศาสตร์จึงไม่ได้มีแค่เฝ้ามองท้องฟ้าเท่านั้น รู้จักกับอาชีพนักสื่อสารดาราศาสตร์มากกว่าที่เคยรู้จักผ่านเรื่องเล่าของ พี่แจ็ค – ศุภฤกษ์ คฤหานนท์

นิศาชล คำลือ
Space For Thai

KEETA วัฒนธรรมอาหารจากไทยส่งไปไกลถึงNASA

Reading Time: < 1 minute NASA เปิดรับไอเดียพัฒนาอาหารอวกาศ โดยได้ประกาศชื่อทีมที่เข้ารอบด้วยกันทั้งหมด 28 ทีม หนึ่งในนั้นคือทีม KEETA จากประเทศไทย

นิศาชล คำลือ
Space For Thai

กล้าบ้าบิ่นสู่ความเวิ้งว้างอันไกลโพ้นไปกับสตาร์ทอัพ(อวกาศ)สัญชาติไทย

Reading Time: 3 minutes คนบ้าที่เราจะพูดถึงกันวันนี้ก็คือคนบ้าที่ทำสตาร์ทอัพอวกาศในประเทศไทย ใช่แล้ว คุณผู้อ่านอ่านไม่ผิด สตาร์ทอัพอวกาศในประเทศไทย!

นิศาชล คำลือ