Democracy On The Road ป้ายหาเสียงของคุณเป็นแบบไหน - Decode
Reading Time: 2 minutes

ยุคที่ 1 เชิดชูผู้นำ

(พ.ศ. 2475 – 2500)

เปลี่ยนแปลงการปกครองในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตยที่มีรัฐธรรมนูญ มีการเลือกตั้งขึ้นครั้งแรก และจนทำให้ยุคนี้ถือเป็นยุคบุกเบิกของป้ายหาเสียง โดยป้ายในยุคนี้จะมีลักษณะเด่นคือเน้นอธิบายระบอบการปกครองแบบใหม่ ที่มาของการมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และคุณสมบัติส่วนตัวของผู้สมัคร รวมถึงการเกิดป้ายหาเสียงเพื่อแนะนำพรรคการเมืองเป็นครั้งแรก

การเดินทางของประชาธิปไตยไทยในยุคนี้

2475-การบริหารบ้านเมืองภายใต้ การนำของคณะราษฎร

ระหว่างทางของประชาธิปไตยระยะแรกไม่ได้โรยด้วย กลีบกุหลาบ ยังมีการคานอำนาจระหว่างคณะราษฎรและ กลุ่มอำนาจเก่า จนท้ายที่สุดนำไปสู่การสละราชสมบัติในปี พ.ศ.2477

แจกจ่างแผ่นพับ
cr. : 2475 Graphic Novel-สะอาด

2481-ยุคเชื่อผู้นําชาติพ้นภัย

เกิดรัฐนิยม 12 ประการ เชิดชูบูชาผู้นำเข้มข้นยิ่งขึ้น

ผู้คนอยู่หน้าตึก
cr. : 2475 Graphic Novel-สะอาด

2490-การเมืองไทย หลังสงครามโลกครั้งที่ 2

ศึกสองด้านรุมเร้าทั้งการเมืองภายในและภายนอก มีการรัฐประหารโดยพลโท ผิน ชุณหะวัณ ภายใต้การสนับสนุนของจอมพล ป. นับเป็นจุดเริ่มต้นการเข้ามาของกลุ่มทหารในการเมืองไทย

ผู้คนหลากหลาย มองไปทางซ้าย ด้านหอไอเฟล
cr. : 2475 Graphic Novel-สะอาด

ยุคที่ 2 การเมืองสามเส้า

(พ.ศ. 2500 – 2519)

หลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 การลุกฮือของประชาชนที่สามารถขึ้นล้ม รัฐบาลทหารของจอมพลถนอม กิตติขจร ได้สำเร็จ ทำให้เกิดกระแสประชาธิปไตย และการเลือกตั้งขึ้นอีกครั้ง และเมื่อการเลือกตั้งขาดหายจากสังคมไปนาน ทำให้ป้ายหาเสียงในยุคนี้มีลักษณะเด่นที่ แตกต่างจากยุคก่อนหน้านี้ อาทิ ป้ายหาเสียงที่สะท้อนความหลากหลายของอาชีพ ป้ายหาเสียงที่สะท้อนการลงสมัครของคนต่างถิ่น และป้ายหาเสียงที่โฆษณาหัวหน้าพรรค เพื่อเป็นนายกรัฐมนตรี

การเดินทางของประชาธิปไตยไทยในยุคนี้

2500-การสิ้นสุดอำนาจของคณะราษฎร

อยู่ในโหมด “การเมืองสามเส้า” แม้ปลุกให้ประชาธิปไตยมีชีวิตอีกครั้ง แต่การรุกคืบของฝ่ายคอมมิวนิสต์ในเอเชียนำไปสู่การเชื้อเชิญอเมริกาเข้ามามีบทบาทในเมืองไทย

2510-ยุคปฏิรูปเศรษฐกิจไทยเพื่อการพึ่งพาตนเอง

วิกฤติน้ำมันส่งผลให้อเมริกาถอนทัพ นำไปสู่การปรับแนวนโยบายทางเศรษฐกิจใหม่

2516-เหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516

ชัยชนะของประชาชนต่อการล้มเผด็จการครั้งหนึ่งในหน้าประวัติศาสตร์การเมืองไทย

ยุคที่ 3 ประชาธิปไตยครึ่งใบ

(พ.ศ. 2519 – 2540)

การหาเสียงเลือกตั้งในยุคนี้มีลักษณะร่วมกันคือการใช้ป้ายหาเสียงจำนวนมากร่วมกับ การแจกสิ่งของเพื่อจูงใจประชาชน ซึ่งสะท้อนลักษณะการหาเสียงแบบธนกิจการเมืองที่มีการใช้ “เงิน” จำนวนมหาศาลในการเลือกตั้ง รวมถึงมีการใช้ป้ายที่สะท้อนจุดยืนทางการเมือง ของผู้สมัครและพรรคการเมือง ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายซ้ายหรือขวา ขณะเดียวกันก็มีการเกิดขึ้นของป้ายหาเสียงที่ใช้เทคนิคของการตลาดและโฆษณา ที่เน้นการแสดงนโยบายมากกว่าการใช้เพียงรูปผู้สมัครหรือคำขวัญ

การเดินทางของประชาธิปไตยไทยในยุคนี้

2519-การเมืองไทย หลังเหตุการณ์ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519

การเมืองกลับมาตึงเครียดและถูกควบคุมอย่างเข้มงวด จนกระทั่ง พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี นับเป็นจุดเริ่มต้นของการสถาปนาระบอบการเมืองใหม่ที่มีชื่อว่า “ประชาธิปไตยครึ่งใบ” (Semi-Democratic Regime)

2531-ยุคการเมืองไร้เสถียรภาพ

“รัฐบาลบุฟเฟ่ต์คาบิเนต” ที่มีข้อครหาเรื่องการทุจริตและการร่ำรวยผิดปกติของนักการเมืองบางกลุ่ม ตลอดจนปัญหากับกองทัพ จนเกิดรัฐประหารโดย รสช.(คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ)

2535-การจัดตั้งรัฐบาลผสม

การเมืองไร้เสถียรภาพ ได้เกิดระบบบ้านใหญ่ขึ้นเป็นครั้งแรก หลังการ “เสียสัตย์เพื่อชาติ” ของพลเอกสุจินดา คราประยูร ความขัดแย้งระหว่างชนชั้นกลางในเมืองและกองทัพ ได้ขยายความรุนแรงไปสู่เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ

ยุคที่ 4 ขยับเพดานประชาธิปไตย

(พ.ศ. 2540 – ปัจจุบัน)

เกิดป้ายหาเสียงในรูปแบบที่หลากหลายทั้งในแง่ ของเนื้อหาและการออกแบบ เช่น ป้ายหาเสียงที่ออกแบบถ้อยคำบนป้าย ตามหลักคิดการตลาด ป้ายหาเสียงที่เน้นเฉพาะนโยบายเพียงอย่างเดียว รวมถึงการพัฒนาอย่างเร็วรวดของสื่อสังคมออนไลน์ ป้ายหาเสียงออนไลน์ก็ได้ รับความนิยมมากขึ้น เพื่อตอบสนองความรวดเร็วของสังคมออนไลน์ และใช้ในการตอบโต้คู่แข่งทางการเมืองได้ทันที

การเดินทางของประชาธิปไตยไทยในยุคนี้

2540-การเมืองเชิงนโยบาย

วิกฤติเศรษฐกิจต้มยำกุ้ง เรื่องปากท้องถูกยกเป็นประเด็นที่ทุกพรรคต้องสร้างนโยบายเพื่อให้ประชาชนตัดสินใจที่ทำให้การเมืองไทยพัฒนาไปสู่ “การเมืองเชิงนโยบาย”

2549-รัฐประหาร 19 กันยายน 2549

ความขัดแย้งที่สืบเนื่องจากเดือนกันยายน 2548 เกิดการเรียกร้องให้ “ถวายคืนพระราชอำนาจ” และ “พระราชทานผู้นำในการปฏิรูปการเมือง” โดยอ้างมาตรา 7

2557-รัฐประหาร 2557

โดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เป็นรัฐประหารครั้งที่ 13 ในประวัติศาสตร์ไทยประชาธิปไตยไทยหลังการรัฐประหาร พ.ศ. 2557 เป็นต้นมาอยู่ในสภาวะที่เรียกว่า “ประชาธิปไตยที่ถูกควบคุมกำกับ” หรือเป็นระบอบการเมืองแบบผสมระหว่างประชาธิปไตยกับเผด็จการ (Hybrid Regime)

2562-การเลือกตั้งปี 2562

มีจำนวนพรรคลงแข่งขันมากที่สุด เกิดการถกเถียงเกี่ยวกับกติกาใหม่ ไปจนถึงเสถียรภาพของรัฐบาลที่มีกองทัพเป็นตัวแปรสำคัญทางการเมือง

2563-การเคลื่อนไหวทางการเมืองของกลุ่มนักเรียน นักศึกษา

ต่อต้านการสืบทอดอำนาจของ คสช. รวมถึงเรียกร้องให้ยุบสภาฯ หยุดคุกคามประชาชน รวมถึงการเสนอให้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ และการเรียกร้องให้ยกเลิกกฎหมายมาตรา 112

2566-นับถอยหลังสู่การเลือกตั้ง

ปรากฏการณ์ย้ายพรรค เปลี่ยนขั้ว ตัดข้ามอุดมการณ์ทางการเมือง กลายเป็นคำถามที่ประชาชนกังขา

พรรคหนี้ พรรคผ่อน พรรคคุย
จะพรรคไหน คุณก็ออกแบบได้มีนโยบายเป็นของตัวเอง
🛣Democracy on the Road🛣 สถานีต่อไป…ประชาธิปไตย

เริ่มเลย! https://democracyontheroad.decode.plus/