ตากใบ Archives - Decode

TAG ตากใบ
Lorem ipsum dolor sit amet.

Conflict Resolution

ละติจูดที่ความอยุติธรรมจำหลักอยู่เป็นนิจ

Reading Time: < 1 minute บน ‘ละติจูดที่ความอยุติธรรมจำหลักอยู่เป็นนิจ’ ในคอลัมน์ The Passenger เมื่อประวัติศาสตร์ตากใบกลับจบลงด้วยความอยุติธรรม แต่ความเจ็บปวดของพ่อ แม่ พี่ น้อง ของชาวบ้านชายแดนใต้ยังคงวนเวียนไม่สิ้นสุดเมื่อความยุติธรรมไม่มาถึงสักที

ตากใบ

ละติจูดที่ความอยุติธรรมจำหลักอยู่เป็นนิจ

Reading Time: < 1 minute บน ‘ละติจูดที่ความอยุติธรรมจำหลักอยู่เป็นนิจ’ ในคอลัมน์ The Passenger เมื่อประวัติศาสตร์ตากใบกลับจบลงด้วยความอยุติธรรม แต่ความเจ็บปวดของพ่อ แม่ พี่ น้อง ของชาวบ้านชายแดนใต้ยังคงวนเวียนไม่สิ้นสุดเมื่อความยุติธรรมไม่มาถึงสักที

โรสนี นูรฟารีดา
ตากใบ

เยียวยา ‘ตากใบ’ ด้วยความยุติธรรม

Reading Time: 2 minutes ประสบการณ์ตรงของผู้เขียนที่เคยสัมภาษณ์ผู้เสียหายจากความรุนแรงหลายกรณีพบว่า ผู้คนที่ถูกกระทำจะพูดถึงความต้องการสองเรื่องสำคัญ หนึ่งก็คือความเป็นธรรม สองคือความจริง เรื่องเงิน พวกเขารับตามสภาพ เรื่องน้ำใจ แน่นอนพวกเขายินดี แต่สองสิ่งแรกคือ สิ่งที่พวกเขาต้องการมากที่สุด

นวลน้อย ธรรมเสถียร
ตากใบ

ตากใบ กระจกสะท้อนกระบวนการยุติธรรม

Reading Time: 2 minutes ขยายประเด็น นวลน้อย ธรรมเสถียร ผ่านกันไปอีกปีหนึ่งสำหรับวันครบรอบเหตุการณ์ตากใบเมื่อ 25 ตุลาคมที่ผ่านมา หลาย ๆ ฝ่ายได้ใช้โอกาสนี้ในการแสดงออกเรื่องปัญหาความไม่เป็นธรรมซึ่งก็เหมือนกับอีกหลายเหตุการณ์ คือเมื่อถึงคราวครบรอบก็พูดกันทีหนึ่ง แต่สรุปแล้วก็อาจจะแค่ได้พูดถึงเท่านั้น อันที่จริงจะพูดว่าไม่มีอะไรใหม่เกิดขึ้นเลยก็อาจจะไม่ตรงทีเดียวนัก เพราะปีนี้เราได้เห็นกลไกของรัฐสภาออกแถลงการณ์เรื่องตากใบ โดยคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณาศึกษาและเสนอแนวทางการส่งเสริมกระบวนการสร้างเพื่อแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งเป็นกรรมาธิการวิสามัญที่เพิ่งจะตั้งขึ้นมาใหม่ ทำให้รัฐสภามีความเคลื่อนไหวในเรื่องสำคัญคือปัญหาความขัดแย้งในพื้นที่สามจังหวัดภาคใต้ในจังหวะที่สอดรับกับสถานการณ์อย่างมาก เนื้อหาแถลงการณ์ที่ออกมาเมื่อ 25 ตุลาคมที่ผ่านมามีสาระสำคัญเรียกร้องให้รัฐบาลสร้างความเป็นธรรมในกรณีตากใบ โดยระบุอย่างจำเพาะเจาะจงให้มีการดำเนินคดีอาญากับเจ้าหน้าที่รัฐที่เกี่ยวข้องกับการสลายการชุมนุมที่นำไปสู่การเสียชีวิตของคนจำนวน 85 คนให้ทันก่อนที่อายุความของคดีอาญาจะหมดลงในปีหน้า ยิ่งกว่านั้นยังเรียกหามาตรการที่จะจำกัดไม่ให้เจ้าหน้าที่รัฐใช้อำนาจเกินขอบเขต ไม่บังคับใช้กฎหมายจนเกิดการเลือกปฏิบัติและลิดรอนสิทธิเสรีภาพของประชาชน โดยเรียกร้องให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมหรือไม่ก็ยกเลิกกฎหมายความมั่นคงที่ใช้อยู่ในพื้นที่ซึ่งมีอยู่สามฉบับคือกฎอัยการศึก พรก.ฉุกเฉินและพรบ.ความมั่นคง แถลงการณ์บอกว่า การสร้างความเป็นธรรมบังคับใช้กฎหมายอย่างเสมอภาคจะเป็นการ “ถอนฟืนออกจากไฟ” คือลดความรู้สึกเชิงลบที่ประชาชนมีต่อเจ้าหน้าที่และจะเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างบรรยากาศการพูดคุยได้ แถลงการณ์จากรัฐสภาฉบับนี้ผู้เขียนถือว่ามีความหมายอย่างยิ่ง แม้ว่าในทางความเป็นจริงของชีวิต จะเป็นที่รู้กันว่าการจัดการปัญหาภาคใต้ยังคงอยู่ในมือของข้าราชการประจำฝ่ายความมั่นคงซึ่งระบบเข้มแข็งขึ้นอย่างมากภายในเวลาเกือบเก้าปีของรัฐบาลประยุทธ์ จันทร์โอชา และก็ต้องยอมรับด้วยว่ากลไกของรัฐบาลพลเรือนชุดใหม่ยังไม่เข้มแข็งพอในอันที่จะกำหนดมาตรการที่เกี่ยวกับสามจังหวัดภาคใต้ได้อย่างเต็มที่ การที่พรรคการเมืองในรัฐสภาสามารถแสดงบทบาทติดตามกระบวนการสร้างสันติภาพได้อย่างเป็นทางการ อย่างน้อยก็เป็นย่างก้าวสำคัญของการที่กลไกที่เป็นตัวแทนประชาชนจะเข้ามามีส่วนในเรื่องกระบวนการแก้ปัญหาสามจังหวัดภาคใต้ได้ การออกแถลงการณ์เรื่องของเหตุการณ์ตากใบถือได้ว่าเป็นการจัดวางท่วงทำนองที่อ่านได้ว่าฝ่ายตัวแทนของประชาชนมองความขัดแย้งในพื้นที่ จชต.เป็นปัญหาด้านการเมืองอย่างชัดเจน กรณีตากใบไม่ได้มีความสำคัญต่อเฉพาะพ่อแม่ญาติพี่น้องของคนที่เสียชีวิต หรือกับสังคมและชุมชนคนในสามจังหวัดเท่านั้น แต่กับสังคมไทยโดยรวมด้วย  เพราะนี่เป็นตัวอย่างที่สำคัญมากที่สุดอันหนึ่งของปัญหาความไม่เป็นธรรมที่กำลังถูกปล่อยผ่านด้วยวิธีการเยียวยาด้วยเงินและปล่อยให้เวลาลบความทรงจำในขณะที่ช่องทางการทวงถามความยุติธรรมตามระบบถึงทางตัน และอาจจะเพราะด้วยเหตุนี้ การจัดงานรำลึกหรือการพูดถึงแม้จะดูซ้ำซากแต่ก็ยังเป็นเรื่องจำเป็นสำหรับสังคมไทยเพราะเราต้องเตือนความทรงจำกันเรื่อยไปว่าปัญหาไม่ได้หายไปไหน เหตุการณ์ละเมิดแบบนี้ซึ่งถือเป็นอาชญากรรมไม่ว่าจะโดยตั้งใจหรือไม่ก็ตาม แต่ควรจะต้องเริ่มคลี่คลายกันด้วยความเป็นธรรมเป็นอันดับแรก ผู้เขียนเป็นหนึ่งในนักข่าวที่เคยสัมภาษณ์ผู้เสียหายหลายกรณีรวมทั้งตากใบและพบว่า สาระสำคัญที่ผู้เสียหายที่ถูกกระทำโดยรัฐเสนอคือพวกเขาไม่ได้ต้องการเงินมากไปกว่าความยุติธรรม ในเรื่องของตากใบที่มาพูดกันหนักในปีสองปีนี้เนื่องจากเริ่มมีผู้แสดงความเป็นห่วงกันมากกรณีอายุของคดีความที่กำลังจะหมดลงในปีหน้า จากที่ได้สนทนากับนักกฎหมายหลายคน พวกเขายอมรับว่าความเคลื่อนไหวเรื่องนี้ถึงทางตันไปนานแล้วตั้งแต่ขั้นตอนของการไต่สวนการตายซึ่งปกติแล้วถือเป็นจุดเริ่มต้นนับหนึ่งสำหรับการจะดำเนินคดีอาญาในกรณีที่พบว่ามีการตายเกิดขึ้นภายใต้การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ คำสั่งไต่สวนการตายกรณีตากใบมีออกมาห้าปีให้หลังเหตุการณ์ เมื่อเดือน พ.ค.2552 ศาลสงขลาอ่านคำสั่งไต่สวนการตายกรณี 78 […]

นวลน้อย ธรรมเสถียร
ตากใบ

สันติภาพชายแดนใต้เดินมาได้ไม่ไกลพอ

Reading Time: 2 minutes จากการยุติการพูดคุยอย่างเป็นทางการหลังรัฐประหารในปี 2557 เวทีพูดคุยเจรจาก็เกิดขึ้นอีกครั้งในปี 2562 หลังจากได้รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ซึ่งครั้งนี้ ได้พล.อ.วัลลภ รักเสนาะ อดีตเลขาธิการ สมช.เป็นหัวหน้าคณะพูดคุยของ Party A จวบจนถึงปัจจุบัน แม้เมื่อพิจารณาจากรายละเอียดแล้ว ยังไม่มีความคืบหน้าอย่างเป็นรูปธรรม แต่ก็เห็นความพยายามของทั้งสองฝ่ายในการลดท่าทีที่แข็งกร้าวลง เพื่อรักษาเวทีและบรรยากาศของการพูดคุยเพื่อหาทางออกให้ได้

ฟาห์เรนน์ นิยมเดชา
ตากใบ

18 ปีตากใบ หรือความยุติธรรมจะมาสุดทาง

Reading Time: 2 minutes “รัฐไทย” ในความหมายคือองคาพยพของระบอบไม่กล้าพอที่จะดำรงความถูกต้องให้อยู่ในร่องในรอย คือการนำผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหมดเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม แต่กลับกันคือการใช้เงินเพื่อเยียวยาเหยื่อ พูดให้ถึงที่สุด พวกเขาใช้เงินเพื่อปกป้องระบอบเอาไว้ มากกว่าที่จะทำให้เรื่องนี้เกิดความเป็นธรรม

ฟาห์เรนน์ นิยมเดชา
ตากใบ

อุ่นแดดที่ตากใบ ความไม่บังเอิญบนเส้นทางสายใหม่ตากใบ-กลันตัน

Reading Time: 2 minutes อุ่นแดด 1,171 กิโลเมตร จากกรุงเทพถึงตากใบ … เราถูกเชื้อเชิญมาที่นี่พร้อมความหวังของชาวบ้านที่ลุกโชนขึ้นกับการก่อรูปก่อร่างเส้นทางใหม่ของการท่องเที่ยวเชิงชุมชนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ จากตากใบ นราธิวาส ถึง กลันตัน มาเลเซีย… 6 โมง 10 นาที พระอาทิตย์โผล่พ้นผืนน้ำไม่ผิดเวลาจากที่ชาวบ้านบอกไว้แม้แต่นาทีเดียว เบื้องหน้าคือทะเลอ่าวไทยไกลสุดลูกหูลูกตา เบื้องหลังคือแม่น้ำตากใบที่ทอดตัวยาวมาจากแม่น้ำสุไหงโกลก สะพานไม้เก่าขนาบคู่สะพานคอนกรีตที่เพิ่งสร้างใหม่ ชาวบ้านที่นี่เรียกว่า ‘สะพานคอย 100 ปี’ สะพานที่ตัดขวางข้ามแม่น้ำตากใบมายัง “เกาะยาว​”  ที่เรายืนอยู่นี้ มันเชื่อมพี่น้องมุสลิมชาวเกาะยาวกับพี่น้องไทยพุทธบนแผ่นดินใหญ่มาเนิ่นนานนับร้อยปี ที่นี่ถูกปักหมุดไว้ให้เป็น 1 ในจุดหมายของเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงชุมชนที่ชาวบ้านกำลังสร้างขึ้นมา เพื่อหวังว่า 3 จังหวัดชายแดนใต้จะกลายเป็นปลายทางหนึ่งของนักท่องที่ยวต่างชาติหรือภายในประเทศเอง …แต่ดูเหมือนภาพความสวยงามเบื้องหน้ากลับขัดแย้งกับความเป็นจริงที่เกิดขึ้นในพื้นที่ 4 มกราคม 2547 หลังเหตุการณ์ปล้นปืนจากกองพันพัฒนาที่ 4 ค่ายกรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ หลังกระสุนนัดแรกถูกลั่นไกออกไป ดูเมือนแรงสั่นสะเทือนของกระสุนนัดนั้นจะสร้างรอยปริแตกให้เกิดขึ้นทั่วทุกพื้นที่ชายแดนใต้ “หลังเหตุการณ์ความรุนแรงเกิดขึ้น ความสัมพันธ์ของพวกเรา 2 ชุมชนก็เปลี่ยนไป จากเคยกินนอนด้วยกัน เดินไปโรงเรียนด้วยกัน ไปมาหาสู่กัน มันกลายเป็นความไม่สนิทใจ ความสงสัยที่เราก็ไม่รู้ว่ามันคืออะไรแต่มันรู้สึกแบบนั้น” คำบอกเล่าของอาจารย์จักรคนในพื้นที่ชุมชนวัดชลธราสิงเห ย้อนให้เราฟังถึงความสัมพันธ์ในครั้งก่อน […]

กาญจนา ปลอดกรรม