ประกายไฟลามทุ่ง Archives - Decode

TAG ประกายไฟลามทุ่ง
Lorem ipsum dolor sit amet.

Welfare state

รู้จักแนวคิดประกันสังคมถ้วนหน้า : ก้าวสำคัญสู่รัฐสวัสดิการ

Reading Time: < 1 minute คอลัมน์ประกายไฟลามทุ่งฉบับนี้ พูดถึงแนวคิดเรื่องประกันสังคมตามบริบทความเข้าใจของสังคมไทย ถูกมองว่าเป็นกระบวนการสร้างสวัสดิการผ่านระบบการ สมทบแบบไตรภาคี เป็นเงินส่วนที่ นายจ้าง ผู้ประกันตน และฝ่ายรัฐ ซึ่งนับว่าเป็นการพิจารณารูปแบบการประกันสังคมในรูปแบบหนึ่งเท่านั้น

ประกายไฟลามทุ่ง

รู้จักแนวคิดประกันสังคมถ้วนหน้า : ก้าวสำคัญสู่รัฐสวัสดิการ

Reading Time: < 1 minute คอลัมน์ประกายไฟลามทุ่งฉบับนี้ พูดถึงแนวคิดเรื่องประกันสังคมตามบริบทความเข้าใจของสังคมไทย ถูกมองว่าเป็นกระบวนการสร้างสวัสดิการผ่านระบบการ สมทบแบบไตรภาคี เป็นเงินส่วนที่ นายจ้าง ผู้ประกันตน และฝ่ายรัฐ ซึ่งนับว่าเป็นการพิจารณารูปแบบการประกันสังคมในรูปแบบหนึ่งเท่านั้น

รศ.ดร.ษัษฐรัมย์ ธรรมบุษดี
ประกายไฟลามทุ่ง

ยุคสมัยที่กำลังจะมาถึง…โลกของคนที่เกิดหลัง 2553 สดุดีชีวิตและความยุติธรรม อำลา ‘ปัจเจกนิยม’

Reading Time: < 1 minute เราอาจมองย้อนไปว่าคนที่กำลังจะเป็นคนรุ่นใหม่ต่อไปอีกในอนาคต ก็คือคนที่เกิดหลังปี 2553 ซึ่งตอนนี้ส่วนมากกำลังอยู่ในระดับชั้นมัธยมต้น ผมเองไม่อาจสามารถสรุปคุณค่าของวันพรุ่งนี้ได้ แต่มีเรื่องสำคัญที่เราเองอาจพอวิเคราะห์ได้ว่า ความคาดหมายและมุมมองของเขาต่อโลกได้ดังนี้

รศ.ดร.ษัษฐรัมย์ ธรรมบุษดี
ประกายไฟลามทุ่ง

อุดมคติและการปฏิบัติได้จริง เส้นทางที่(ไม่)ต้องเลือก

Reading Time: < 1 minute คำว่า “อุดมคติ” กับการ “ปฏิบัติได้จริง” ในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติมันไม่ได้ห่างกันหรืออยู่ตรงกันข้ามแบบขาวดำแบบที่คนในยุคปัจจุบันเข้าใจ

รศ.ดร.ษัษฐรัมย์ ธรรมบุษดี
ประกายไฟลามทุ่ง

สิ่งที่ AI แทนมนุษย์ไม่ได้

Reading Time: < 1 minute สิ่งที่ทำลายความเป็นมนุษย์ไม่ได้เกิดจาก AI แต่เกิดจากประดิษฐกรรมอื่นก่อนหน้าของมนุษย์เอง ไม่ว่าจะเป็น “รัฐผูกขาด” “สงคราม” “ระบบทุนนิยม” “อำนาจนิยม” หากมนุษย์ปฏิเสธสิ่งเหล่านี้ได้ เราก็จะสามารถใช้ AI เพื่อตอบสนองต่อความเป็นมนุษย์พื้นฐานของเราให้สมบูรณ์มากขึ้นได้

รศ.ดร.ษัษฐรัมย์ ธรรมบุษดี
ประกายไฟลามทุ่ง

จดหมายถึงลูกสาวฉบับที่ 4 : อยากให้มนุษย์เป็นอย่างไร เราก็สนับสนุนสังคมแบบนั้น

Reading Time: < 1 minute ธรรมชาติของมนุษย์อาจไม่มีสิ่งใดตายตัว แต่เราเองสามารถวางเงื่อนไขในการสร้างสิ่งที่เราพึงประสงค์ได้ หรือกล่าวโดยสรุปคือ เราอยากให้มนุษย์เป็นอย่างไร เราก็ออกแบบสังคมอย่างนั้น

รศ.ดร.ษัษฐรัมย์ ธรรมบุษดี
ประกายไฟลามทุ่ง

จดหมายถึงลูกสาวฉบับที่ 3 : สังคมชายเป็นใหญ่ ความเหลื่อมล้ำมหาศาลในระบบทุนนิยม

Reading Time: < 1 minute ถ้ามีมนุษย์ต่างดาวมองมาที่โลกของเรา สิ่งที่พวกเขาจะแปลกใจที่สุดคือ ความเหลื่อมล้ำมหาศาล ที่ไม่น่าเชื่อว่าเราอยู่ในสังคมเดียวกัน หายใจด้วยอากาศเดียวกัน ความเหลื่อมล้ำนี้อาศัยกลไกทางเศรษฐกิจ ระบบทุนนิยมปรับเปลี่ยนตัวเองให้สะสมความมั่งคั่ง โดยที่โยนความเสี่ยงทั้งหมดให้กับแรงงาน โดยอาศัยระบบการเมืองที่สุดท้ายประชาธิปไตย เหลือเพียงแค่รูปแบบ แต่นอกจากกลไกทางการเมืองและเศรษฐกิจ กลไกทางวัฒนธรรมยังมีส่วนสำคัญในการทำให้คนยอมรับสภาพที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้  และหนึ่งในค่านิยมนั้นคือค่านิยมชายเป็นใหญ่ ที่ค้ำจุนความเหลื่อมล้ำของสังคมนี้

รศ.ดร.ษัษฐรัมย์ ธรรมบุษดี
ประกายไฟลามทุ่ง

จดหมายถึงลูกสาวฉบับที่ 2 : มีผู้คนต่อสู้มาก่อนเรา เจ็บช้ำมาก่อนเรา และพวกเขาทำให้เรามีวันนี้

Reading Time: < 1 minute ประกายไฟลามทุ่ง รศ.ดร.ษัษฐรัมย์ ธรรมบุษดี จดหมายฉบับที่สองก่อนที่พ่อจะได้เจอหน้าลูกสาวของพ่อ ลูกจะได้เกิดและเติบโตมาในโลกที่มีหลากหลายความหมาย โลกที่บางมุมก็สวยงามและมหัศจรรย์ แต่ก็มีอีกหลายมุมที่ลูกอาจฉงนสงสัยว่า ในโลกที่สวยงามขนาดนี้เหตุใดยังมีความโหดร้ายระหว่างกันมากมาย ในความขัดแย้งนี้สิ่งที่พ่ออยากจะบอกลูกคือ โลกมนุษย์เราเคยมีช่วงเวลาที่เลวร้ายไม่ว่าพวกเราจะตั้งใจหรือไม่ตั้งใจ เราสร้างความอดอยากขึ้นท่ามกลางความอุดมสมบูรณ์ สร้างความยากจนขึ้นมาท่ามกลางความร่ำรวย เราสร้างยารักษาโรคมากมายที่ทำให้ชีวิตมนุษย์ยืนนานเพิ่มได้หลายสิบปีพร้อม ๆ กับสร้างอาวุธสงครามที่คร่าชีวิตมนุษย์นับแสนได้ในไม่กี่วินาที และมนุษย์เราก็ก้าวพ้นความขัดแย้งเหล่านี้ได้ ไม่ได้เกิดขึ้นโดยคนที่มีสติปัญญาปราดเปรื่อง นักรบที่กล้าหาญ หรือเศรษฐีคนใด แต่มันเกิดจากการส่งเสียงของคนธรรมดา ที่ไม่ยอมจำนนต่อความไม่เป็นธรรม ก่อนหน้านี้ มนุษย์แบ่งแยกกันด้วยสีผิวและชาติกำเนิด คนสีผิวหนึ่งไม่ได้รับการคุ้มครองด้วยหลักการที่เท่าเทียมกัน ไม่ถูกคำนึงว่าเป็นมนุษย์ พวกเขาทำงานโดยไม่ได้รับค่าจ้าง ถูกกังขังเหมือนสัตว์เลี้ยง และไม่มีสิทธิ์เสียงในการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับความเป็นไปของสังคมที่พวกเขาอยู่ พ่อไม่ได้จะบอกลูกว่าสิ่งเหล่านี้ได้หายไปหมด มนุษย์ยังคงแบ่งแยกกดขี่ระหว่างกัน เมื่อครั้งที่มนุษย์ต่อสู้เพื่อการเลิกทาส ยังมีนายทุนจำนวนมากบอกว่าเศรษฐกิจจะล้มละลายถ้ามีการเลิกทาสและทำให้ทุกคนได้รับค่าจ้างที่เป็นธรรมรวมถึงมีสิทธิเสมอภาคกับเหล่านายทาส ถ้าเราใช้หลักเศรษฐศาสตร์กำหนดความเป็นไปของโลก เรายังคงมีทาสอยู่ การเปลี่ยนแปลงทั้งหมดนี้ไม่ได้เกิดจากการคำนวณแต่เกิดจากการยืนยันต่อสู้ของคนธรรมดาที่ไร้อำนาจ ใช้วิธีที่สันติอารยะขัดขืนบ้าง และบางครั้งพวกเขาก็เดิมพันด้วยชีวิตของพวกเขาในการยืนยันสิทธิที่พวกเขาควรมีตั้งแต่แรก พวกเขาทำให้เราสามารถมีชีวิตที่ดีได้ในวันนี้ มนุษยชาติดูเหมือนจะฉลาดกว่าสิ่งมีชีวิตอื่น แต่ก็มีบางเรื่องที่พวกเขาโง่เง่ามาหลายศตวรรษ มนุษย์ที่ไม่ใช่เพศกำเนิดชายเพิ่งจะมีโอกาสที่เสมอภาคกันหน้าคูหาเลือกตั้งเมื่อไม่ร้อยกว่าปีมานี่เอง การเลือกปฏิบัติสำหรับเพศหญิง และคนที่มีเพศสภาวะไม่ตรงกับเพศกำเนิดเคยเป็นเรื่องรุนแรงในศตวรรษที่แล้ว มีหลายคนที่เสียชีวิตและถูกทำร้ายโดยกระบวนยุติธรรมอย่างเป็นทางการของรัฐ รวมถึงศาลเตี้ยของระบบชายเป็นใหญ่เพียงแค่พวกเขามีความปรารถนาในชีวิต และวิถีทางเพศที่แตกต่างไป แต่การต่อสู้ของคนธรรมดาที่ไร้อำนาจ ผลักดันให้ความเท่าเทียมกันเป็นเรื่องปกติ ทำให้ผู้หญิงธรรมดาสามารถที่จะท้าทาย มีความรักได้อย่างเสรี เมื่อสมัยพ่อเด็ก ๆ คำว่า “ชายแท้” หรือ […]

รศ.ดร.ษัษฐรัมย์ ธรรมบุษดี
ประกายไฟลามทุ่ง

จดหมายถึงลูกสาวฉบับที่ 1 : ลูกเกิดมาพร้อมกับของฟรี และการให้อย่างไม่มีเงื่อนไขของมนุษยชาติ

Reading Time: < 1 minute การรอคอยส่วนมากทรมานและกระวนกระวาย แต่การรอคอย 9 เดือนนี้ ดูยาวนาน แต่ไม่ทรมาน เป็นการรอคอยที่เปี่ยมความสุข เป็นการรอคอยที่ไม่มีเงื่อนไขและความคาดหวังอะไรนอกจากที่จะได้เห็นเจ้าตัวน้อย

รศ.ดร.ษัษฐรัมย์ ธรรมบุษดี
ประกายไฟลามทุ่ง

‘ไม่มีลูก’ ไม่ได้แย่เสมอไปในสังคมสูงวัย

Reading Time: < 1 minute ในแง่ปัจเจกชน “การไม่มีลูก” จึงไม่ใช่เรื่องคอขาดบาดตายมาหลายทศวรรษแล้วแต่ในแง่ของ “สังคม” มันเป็นเรื่องคอขาดบาดตายหรือไม่กับการที่คนเกิดน้อยและคนแก่มาก จนถึงขั้นต้องกระตุ้นให้คนมีลูกขึ้นมาทดแทน

รศ.ดร.ษัษฐรัมย์ ธรรมบุษดี
ประกายไฟลามทุ่ง

ลาดูแลหัวใจ เมื่อชีวิตคนเป็นมากกว่าแรงงาน

Reading Time: < 1 minute คำถามสำคัญคือชีวิตของคนไม่ใช่แค่แรงงาน และไม่ได้อยู่คนเดียวในโลกใบนี้ มีความเปราะบางหลายอย่างที่มนุษย์พึงได้รับการดูแล ที่ไม่ใช่เพียงแค่แรงงานแต่หมายถึงแง่มุมอื่นที่ไม่เกี่ยวกับงาน ไม่เกี่ยวกับตัวเอง เราสามารถลาเพื่อยืนยันความเป็นมนุษย์ของเราได้หรือไม่

รศ.ดร.ษัษฐรัมย์ ธรรมบุษดี
ประกายไฟลามทุ่ง

เมื่อเราปลอดภัย ไร้ความกลัว สมองส่วนสร้างสรรค์จะทำงาน

Reading Time: < 1 minute เรามักพูดกันอยู่เสมอว่า “การแข่งขันคือธรรมชาติของมนุษย์” แต่จริง ๆ แล้วหาได้เป็นแบบนั้น “เราคุ้นเคยกับการดูแลและความปลอดภัย” ความปลอดภัยต่างหากที่ทำให้เราเป็นมนุษย์ หรือเราคุ้นเคยกับรัฐสวัสดิการ มากกว่า ทุนนิยม

รศ.ดร.ษัษฐรัมย์ ธรรมบุษดี
ประกายไฟลามทุ่ง

อ่านพ่อมดอ๊อด ย้อนดูการเมืองไทย 2566

Reading Time: < 1 minute อ่านจบผมลองเทียบเคียงบริบทการเมืองไทยในปี 2566  หุ่นไล่กาก็คือชาวนา หรือแรงงานภาคเกษตร แรงงานดั้งเดิมมหาศาลในสังคมไทย แม้แรงงานและมูลค่าภาคเกษตรจะลดลงอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันกำลังแรงงานภาคเกษตรอยู่ที่ ประมาณ 12 ล้านคน จากกำลังแรงงาน 38 ล้านคน แม้สัดส่วนจะลดลงแต่ก็ยังเป็นสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 30 หุ่นไล่กาที่ตามหาสมอง กับ เด็กผู้หญิงตัวน้อย เมื่อมองย้อนในบริบทการเมืองไทย การที่แรงงานภาคเกษตรจำนวนมหาศาลไม่สามารถที่จะรวมตัวต่อรองได้ ใช้ชีวิตกระจัดกระจาย ตามแต่ที่นโยบายรัฐและกลุ่มทุนจะโยนมาให้ ไม่ว่าจะเป็นนโยบายสินเชื่อต่าง ๆ ที่ผลักให้เกษตรกรไทย อยู่ในกับดักหนี้ หนี้ทับหนี้  วนไป ทำให้พลังมหาศาลของแรงงานภาคเกษตรหายไป  และถูกควบคุมโดยกลุ่มทุนผ่านเงื่อนไขต่าง ๆ ไม่เห็นอดีต ไม่เห็นปัจจุบัน ไม่มีอนาคต เหมือน “หุ่นไล่กา” ที่ทำงานซ้ำเดิม ไม่มีชีวิตชีวา เป็นร้อยเป็นพันปีไม่มีใครสนใจ

รศ.ดร.ษัษฐรัมย์ ธรรมบุษดี