Weerayut K, Author at Decode
Columnist

สังคมจมดราม่าหรือทฤษฎีสมคบคิด ‘เจ้าหญิงเคท’ เมื่อภาพก็ใช้ยืนยันไม่ได้

Reading Time: 4 minutes มีคำถามหนักขึ้นว่า ตกลงเจ้าหญิงเคทเธออยู่ไหนกันแน่ บ้างถามถึงขนาดว่ายังทรงมีชีวิตอยู่หรือไม่ มีบ้างที่สงสัยว่าการผ่าตัดอาจไม่ได้ผลหรือไม่ก็มีโรคที่ร้ายแรงมากกว่าที่เปิดเผยออกมา มีคนถามไปถึงการถูกทำร้ายร่างกายหรือถูกกักบริเวณก็มี รวมไปถึงที่ว่าหลบซ่อนตัวด้วย คือโลกโซเชียลนั้นเหมือนจะพร้อมจะเป็นแหล่งบ่มเพาะทฤษฎีสมคบคิดตลอดเวลา

Weerayut K

The Welfare (2) ทิ้งไพ่ใบสุดท้าย เพื่อสวัสดิการประชาชน

Reading Time: 2 minutes รอบที่หนึ่งจบลง ความร่ำรวยและความยากจนถ่างจากกันยิ่งขึ้น ในรอบที่สองการซื้อประกันยังคงมีอยู่ แต่สิ่งที่เปลี่ยนแปลงเล็ก ๆ น้อย ๆ คือ ‘สวัสดิการ’ นั้นได้ถูกเพิ่มเข้ามาแล้ว! ในรอบนี้ผู้เล่นมีทางเลือกที่จะลงขันบริจาคเงินเพื่อสร้างสวัสดิการในด้านต่าง ๆ โดยที่เมื่อสวัสดิการด้านใดมีเงินครบถ้วนตามที่กำหนด ผู้เล่น ‘ทุกคน’ ก็จะเสมือนได้รับประกันในด้านนั้น ๆ ไปเลย ไม่ว่าจะมีประกันอยู่แล้วหรือไม่และไม่ว่าจะลงเงินเท่าไหร่ก็ตาม ถ้านึกง่าย ๆ สวัสดิการก็คือการซื้อประกันที่ครอบคลุมทุกผู้เล่นไม่ใช่แค่คนที่จ่ายเงิน โดยต้นทุนนการซื้อสวัสดิการแต่ละด้านก็จะสูงกว่าการซื้อประกันอยู่แล้ว (เพราะครอบคลุมทุกคน)​ อย่างไรก็ดีถ้าหารเฉลี่ยต่อครัวเรือนค่าใช้จ่ายในการลงทุนในสวัสดิการก็จะถูกกว่าการซื้อประกันของแต่ละคน

Weerayut K
Weerayut K

The Welfare (1) เกมโต้กลับความเหลื่อมล้ำ

Reading Time: 2 minutes ภายใต้สังคมที่เต็มไปด้วยความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ ผู้เล่นที่มีจุดเริ่มต้นมาจากหลากระดับฐานะต่างพยายามแข่งขันกันหารายได้และสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจให้แก่ครอบครัวของตนเอง อย่างไรก็ดีเส้นทางชีวิตก็ใช่ว่าจะโรยด้วยกลีบกุหลาบ การต้องเผชิญกับความเสี่ยงที่ไม่คาดคิดก็อาจทำให้การหาเลี้ยงครอบครัวต้องหยุดชะงักลง สำหรับคนที่มีทุนทรัพย์เรื่องเล็กน้อยเหล่านี้ก็สามารถป้องกันได้ด้วยการซื้อประกัน คำถามคือ แล้วคนที่เหลือหล่ะ จะทำอย่างไรดี?

Weerayut K
Weerayut K

พื้นที่สาธารณะของบางกอก

Reading Time: < 1 minute ประเทศเต็มไปด้วยคำตอบอันปราศจากคำถาม วีรพร นิติประภา เมืองคือที่ผู้คนอยู่อาศัยร่วมกัน  หัวใจของเมืองจึงอยู่ที่พื้นที่สาธารณะหรือพื้นที่ที่ไม่ใช่ของใครคนใดแต่เป็นของทุกคน  ไม่ใช่บ้านเรือนส่วนตัวของใครของมัน สำหรับคนชั้นกลางในกรุงเทพฯ ที่มีรายได้มากพอจะมีที่อยู่อาศัยกว้างขวางสักหน่อย …ไม่ต้องใหญ่ มีเงินเหลือพอท่องเที่ยวใกล้ไกลบ้าง …ไม่ต้องบ่อย หรือมีรายได้มากพอจะขับรถยนต์ส่วนตัวขับไปกินอาหารตามร้านชานเมืองหรือริมน้ำ …บางครั้ง พื้นที่สาธารณะอาจไม่มีความสำคัญมากนัก แต่คนจำนวนมากของกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นหนึ่งเมืองประชากรมากที่สุดในโลก นอกจากจะใช้ชีวิตประจำวันในพื้นที่จอแจพลุกพล่าน เดินทางโดยรถโดยสารยัดเยียดแออัด มีความสามารถเช่าพักที่อาศัยได้แค่ห้องเล็ก ๆ คับแคบ และหลายคน…ห้องที่ว่ายังใช้อาศัยร่วมกันทั้งครอบครัวจนล้น มิหนำซ้ำยังซ่อนอยู่ในกลางชุมชนแออัดทั้งแนวตั้งและแนวนอน …พวกเขาไม่มีรายได้มากพอจะเดินทางออกไปสูดอากาศหรือหย่อนใจที่ไหน พื้นที่สาธารณะที่มีไม่มากนักเมื่อเทียบกับอัตราประชากรจึงเรียกได้ว่าเป็นหนึ่งในสิ่งจำเป็นขั้นพื้นฐานด้วยซ้ำ มันสำคัญยิ่งยวดต่อสุขภาวะทางกายและใจ และเป็นสิ่งเหลือหล่อเลี้ยงยืนยันความเป็นมนุษย์ก็ว่าได้ ไม่ใช่แค่ที่ให้หย่อนใจซึ่งฟังดูหรูหราและไม่มีความจำเป็น พื้นที่สาธารณะในเมืองส่วนใหญ่คือทางเท้า ซึ่งก็แคบ ๆ  เป็นคอนกรีตเปลือยร้อน ๆ ใกล้ย่านชุมชนก็จะทั้งพลุกพล่านและสกปรก ไม่มีที่ให้นั่งพักเวลาเมื่อยด้วยซ้ำอย่าว่าแต่หย่อนใจ แถมยังทอดขนาบไปกับถนนจอแจที่รถติดขนัดเกือบทุกเส้น และเต็มไปด้วยควันไอเสีย พื้นที่ว่างอย่างลานคอนกรีตหรือสนามหญ้าตามหน้าอาคารก็ไม่ใช่พื้นที่สาธารณะ แต่เป็นสิทธิ์ของทั้งเอกชนและราชการ ซึ่งก็ปล่อยว่างไว้เพียงเพื่อให้สถานที่ดูร่มรื่นสวย กับสงวนไว้ใช้จัดกิจกรรมส่วนตัวเท่านั้น และมีรักษาความปลอดภัยคอยตรวจตราดูแลไม่ให้คนเข้าไปนั่งเล่นหย่อนใจ พื้นที่สาธารณะจริง ๆ จึงเหลือแค่สวนสาธารณะ ที่มีพื้นที่โล่งกว้างกับต้นไม้ใหญ่หน่อยก็มีสวนลุมพินี สวนเบญจกิตติ สวนรถไฟ สวนสราญรมย์ สวนรมณีนาถ สวนปทุมวนานุรักษ์ที่เพิ่งเปิดใหม่ กับที่น่าตื่นใจและเป็นความหวังของชาวกรุงคืออุทยานเฉลิมพระเกียรติที่ยังไม่เสร็จเปิดที่สนามม้านางเลิ้งเดิม ซึ่งสวนเหล่านี้จะว่าเข้าถึงได้ง่ายก็ง่ายเพราะอยู่ใจกลางเมือง จะว่ายากก็ยากเพราะล้อมรอบด้วยรถติดหนัก และจะว่าไปยังขาดแคลนอากาศหายใจ ส่วนสวนหลวงร.เก้า พุทธมณฑล สวนพฤกษชาติคลองจั่น สวนศรีนครเขื่อนขันธ์บางกระเจ้า ที่ร่มรื่นกว่ามากและอากาศดีก็ห่างไกล กับจะสะดวกต่อการไปมาก็ต่อเมื่อมีพาหนะส่วนตัว พื้นที่ริมน้ำนอกจากสวนสันติไชยปราการซึ่งไม่ใหญ่นักก็นึกไม่ออกว่ามีที่ไหนอีก สวนที่เหลือก็เป็นแค่ส่วนหย่อมเล็ก ๆ และไม่มีต้นไม้ใหญ่ทั่วไปตรงนั้นตรงนี้ โดยรวมการดูแลบำรุงรักษาสวนสาธารณะของ กทม.ยังต้องขอบอกว่าไม่ดีเท่าไหร่นัก  ต้นไม้แคระแกร็น ไม่ใคร่สมบูรณ์ สนามกีฬาใหญ่มีที่ปทุมวัน หัวหมาก และไทย-ญี่ปุ่นดินแดง ทั้งสามแห่งมีพื้นที่ว่างโดยรอบที่ให้เข้าไปใช้สอยหย่อนใจได้พอควร แต่ก็ยังน้อยแห่งเกินไป นอกจากนั้นก็มีวัดวาต่าง ๆ ที่มีที่นั่งและพื้นที่ให้ญาติโยมเข้าไปใช้ได้ แต่ความที่เป็นสถานศักดิ์สิทธิ์รวมทั้งยังเป็นสถานฌาปนกิจตั้งสวด ก็อาจทำให้ไม่ค่อยได้รับความนิยมเท่าที่ควร นอกจากนั้นก็มีห้องสมุดสาธารณะ ซึ่งก็มีหลายแห่งมาก ๆ แต่เท่าที่เคยผ่านไปไม่กี่แห่งก็ต้องยอมรับว่าไม่น่าประทับใจนัก ขนาดเล็กจ้อย หนังสือก็มีไม่กี่เล่ม ไม่น่าสนใจและเก่า หนังสือวิชาการ ความรู้ และวรรณกรรมน้อยมากทั้งที่ห้องสมุดสาธารณะคือสถานพัฒนา เพิ่มพูนความรู้ และเกื้อกูลชดเชยให้กับคนด้อยโอกาสทางการศึกษา เห็นได้ชัดว่าได้รับทุนอุดหนุนน้อย และไม่มีเจตจำนงแข็งแรงในการบริหารจัดการ มองจริงจังจะพบว่าเรามีพื้นที่สาธารณะในเมืองไม่น้อยโดยเฉพาะพื้นที่กลางแจ้ง แต่ผู้คนกลับใช้สอยไม่มากเท่าที่ควร ด้วยเหตุไม่กี่เหตุ ไม่ว่าจะเป็นสิ่งก่อสร้างใหญ่จำนวนมากที่ทำให้ตัวเมืองเก็บความร้อน ปัญหาจราจรที่ไม่เคยแก้ไขได้จริงจัง ซึ่งทำให้พื้นที่สาธารณะกลายเป็นพื้นที่เปิดสำหรับมลภาวะอย่างหนักทั้งเสียงและอากาศ  รวมทั้งใช้เวลานานกว่าจะไปถึง กับขนส่งมวลชนไม่ทั่วถึงที่ทำให้การเข้าถึงพื้นที่สาธารณะเป็นไปได้ยากลำบากเกินไป เป็นเรื่องน่าตกใจไม่น้อยที่เมื่อมองลงไปจะพบว่าคุณภาพเมือง คุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ สุขภาพทางกายและใจ ของคนนับสิบล้าน ตามทะเบียนราษฎร์และอาจมีจำนวนอยู่จริงมากกว่านั้นถึงเท่าตัวของเมืองขนาดเมกก้า  ตกต่ำและผุกร่อนจากปัญหาแค่ผังเมืองที่ยังคงขยายตัวไร้ระเบียบ การบริหารจัดการการจราจรและขนส่งมวลชน …ซึ่งไม่มีปัญหาใด ๆ ในโลกที่หากแก้ไขจริงจังจะแก้ไขไม่ได้

Weerayut K
Weerayut K

ชิ้นส่วนของดวงดาวแตกสลายแต่ไม่กลายเป็นอื่น

Reading Time: < 1 minute วัยเยาว์จ้องมองฉัน ก้าวต่อก้าว อดีตและอนาคตบรรจบกันที่ปัจจุบัน ความเปลี่ยนแปลงอาจเขย่าท้องฟ้า ชิ้นส่วนของดาวบางดวงร่วงลง แตกสลายแต่ไม่กลายเป็นอื่น

Weerayut K
Weerayut K

‘ไม่มีลูก’ ไม่ได้แย่เสมอไปในสังคมสูงวัย

Reading Time: < 1 minute ในแง่ปัจเจกชน “การไม่มีลูก” จึงไม่ใช่เรื่องคอขาดบาดตายมาหลายทศวรรษแล้วแต่ในแง่ของ “สังคม” มันเป็นเรื่องคอขาดบาดตายหรือไม่กับการที่คนเกิดน้อยและคนแก่มาก จนถึงขั้นต้องกระตุ้นให้คนมีลูกขึ้นมาทดแทน

Weerayut K
Weerayut K

ประทับตรา ‘เอกราช’ ให้กลายเป็นอาชญากรรมทางความคิด

Reading Time: < 1 minute มันไม่ใช่ว่าทุกคนในพื้นที่นี้อยากได้ “เอกราช” ที่จริงแล้วประเด็นสำคัญอยู่ตรงที่ไม่มีใครแน่ใจได้แท้จริงว่าคนที่ต้องการ “เอกราช” นั้นมีอยู่มากน้อยแค่ไหนนอกเหนือไปจากคนที่เป็นสมาชิกขบวนการกลุ่มต่าง ๆ

Weerayut K