หะยีสุหลง Archives - Decode

TAG หะยีสุหลง
Lorem ipsum dolor sit amet.

Play Read

‘เกิดบนเรือนมลายู’ เสน่ห์ที่แตกต่างในความธรรมดาสามัญ

Reading Time: 2 minutes ตลอด 20 ปีที่ภาพของดินแดนปตานีผูกติดกับความรุนแรง กรอบหลักที่ทำให้ ‘มลายู’ ถูกกลบจนเลือนลาง ฟังเสียงจาก “เกิดบนเรือนมลายู” ในวันแสนธรรมดาของสามจังหวัด

หะยีสุหลง

‘เกิดบนเรือนมลายู’ เสน่ห์ที่แตกต่างในความธรรมดาสามัญ

Reading Time: 2 minutes ตลอด 20 ปีที่ภาพของดินแดนปตานีผูกติดกับความรุนแรง กรอบหลักที่ทำให้ ‘มลายู’ ถูกกลบจนเลือนลาง ฟังเสียงจาก “เกิดบนเรือนมลายู” ในวันแสนธรรมดาของสามจังหวัด

นวลน้อย ธรรมเสถียร
หะยีสุหลง

หะยีสุหลงยังไม่ตาย

Reading Time: 2 minutes หะยีสุหลงเป็นที่จดจำในฐานะที่เป็นผู้ยื่นข้อเรียกร้องเจ็ดข้อให้กับรัฐบาล เป็นเจ็ดข้อเรียกร้องที่ว่ากันว่าสาระของมันยังคงทันสมัยเพราะแก่นของมันยังสะท้อนอยู่ในข้อเรียกร้องของกลุ่มขบวนการที่ต่อสู้เพื่อแยกพื้นที่สามจังหวัดภาคใต้อย่างกลุ่มบีอาร์เอ็น ส่วนอีกสถานะหนึ่งก็คือสถานะการเป็นผู้ถูกบังคับให้สูญหาย

นวลน้อย ธรรมเสถียร
หะยีสุหลง

สองพี่น้องตระกูลสืบแสงกับคณะราษฎรและสามจังหวัดภาคใต้

Reading Time: 2 minutes ขยายประเด็น นวลน้อย ธรรมเสถียร วันสำคัญในเดือนมิถุนายนเพิ่งผ่านพ้นไป เตือนใจให้เรานึกถึงเรื่องของการเปลี่ยนแปลงการปกครองและคณะราษฎร ในฐานะของคนที่ทำงานเกี่ยวพันกับสามจังหวัดภาคใต้ ผู้เขียนคิดไปถึงเรื่องราวของคณะราษฎรกับความพยายามแก้ปัญหาความขัดแย้งในพื้นที่นี้ของคนในกลุ่ม ซึ่งพลันที่คิดเรื่องนี้ ชื่อของสองพี่น้องตระกูลสืบแสงก็ผลุบโผล่ขึ้นมาทันที เช่นเดียวกันกับชื่อบุคคลสำคัญในคณะราษฎร และรวมไปถึงผู้นำศาสนาคนสำคัญที่ถูกอุ้มหายในอดีตคือหะยีสุหลง อับดุลกาเดร์ การจะเขียนถึงเรื่องนี้ทำให้ต้องพิจารณาสองเรื่องประกอบกัน หากเราไล่ไทม์ไลน์ทางประวัติศาสตร์สองเรื่องคือเหตุการณ์ในพื้นที่ภาคใต้ กับการเมืองในกรุงเทพฯ จะพบว่าในช่วงเวลาก่อนหน้าที่จะมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองปี 2475 มีเหตุการณ์ที่น่าสนใจเกิดขึ้นในพื้นที่ภาคใต้ กล่าวคือในปี 2470 หะยีสุหลงเดินทางจากตะวันออกกลางกลับบ้านเกิดคือปัตตานี โดยมาจากเมกกะที่ซึ่งเขาไปศึกษาและใช้ชีวิตมาเนิ่นนาน การกลับสู่พื้นที่หนนี้จะทำให้หะยีสุหลงกลายเป็นผู้ที่มีบทบาทอย่างสำคัญโดยเฉพาะด้านศาสนาในพื้นที่ ส่วนพี่น้องตระกูลสืบแสงในที่นี้หมายถึงจรูญ สืบแสง และเจริญ สืบแสง พวกเขาเป็นชาวปัตตานีที่แม้จะมีอาชีพคนละอย่าง ทำงานคนละด้าน แต่ในที่สุดแล้วงานของพวกเขาล้วนเป็นเรื่องรับใช้สังคม มีข้อมูลหลายประการที่ทำให้เชื่อได้ว่าพวกเขาทั้งคู่น่าจะมีบทบาทอย่างสำคัญที่ทำให้เกิดการสื่อสารสัมพันธ์ระหว่างหะยีสุหลงกับคณะราษฎร ปรากฏการณ์ที่น่าสนใจที่เกิดขึ้นในสายสัมพันธ์นี้คือทำให้เกิดการพูดคุยเพื่อจะคลี่คลายปัญหาในพื้นที่ในช่วงหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองแล้ว ซึ่งถ้าจะเรียกมันว่าเป็นกระบวนการสันติภาพช่วงแรก ๆ ก็อาจจะไม่ขัดเขินจนเกินไปนัก  จรูญ สืบแสงเป็นข้าราชการทำงานด้านการเกษตร จบการศึกษาด้านนี้มาจากฟิลิปปินส์ เขาเป็นคนหนึ่งที่ได้เข้าเป็นสมาชิกพลเรือนผู้ร่วมก่อตั้งคณะราษฎร จรูญเป็นผู้ที่กระตือรือร้นอย่างมากและเขานี่เองที่เร่งรัดผลักดันใหัมีการตัดสินใจลงมือในวันเวลาที่ชัดเจน เขาน่าจะมีสายสัมพันธ์ที่แนบแน่นกับปรีดี เพราะปรากฎในเกร็ดประวัติศาสตร์อ้างโดยงานเขียนในเว็บไซต์สถาบันปรีดี พนมยงค์ว่า ในการออกเดินทางลี้ภัยปี 2476 ของปรีดีซึ่งต้องผ่านไปทางสิงคโปร์นั้น จรูญเป็นหนึ่งในสามคนที่เดินทางไปส่ง แม้จะมีรายละเอียดที่ไม่ลงรอยนักว่าไปส่งที่ไหนแน่เพราะบทความหนึ่งเขียนไว้ว่าไปส่งถึงปีนัง ขณะที่อีกบทความหนึ่งบอกว่าไปถึงสิงคโปร์ อย่างไรก็ตามนายจรูญไปส่งปรีดีพร้อมกับบุคคลอีกสองคนคือหลวงทัศนัยนิยมศึก และ ร.ท.ทวน วิชัยขัทคะ (ก่อนการอภิวัฒน์สยาม 2475: […]

นวลน้อย ธรรมเสถียร
หะยีสุหลง

การหายไปของ ‘หะยีสุหลง’ การผูกขาดพื้นที่ความทรงจำ

Reading Time: 2 minutes เรื่องราวของหะยีสุหลงไม่ได้เป็นแต่เพียงเรื่องของคนที่ถูกบังคับให้สูญหาย แต่ยังมีเรื่องใหญ่ด้วยคือข้อเรียกร้อง 7 ประการของเขา ซึ่งก็พูดได้เช่นกันว่าจนถึงวันนี้ก็ยังพูดกันได้แบบไม่ “ทะลุ”

นวลน้อย ธรรมเสถียร