"เผด็จการสร้างข้อจำกัด แต่เราสร้างงานศิลปะได้เสมอ" Quick Talk กับ "ทัศนัย เศรษฐเสรี" - Decode
Reading Time: < 1 minute

Quick Talk 5 นาที แบบอาจารย์-ลูกศิษย์กับ อ.ทัศนัย เศรษฐเสรี คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในวันที่อาจารย์สายไหม้ หลังพูดคำว่า “ศิลปะไม่เป็นเจ้านายใครและไม่เป็นขี้ข้าใคร”

อาจารย์ผู้ซึ่งบอกว่าตัวมาจากดาวอังคารตอบคำถามสั้น ๆ กับ De/Code
เสรีภาพ เผด็จการ และจักรวาลศิลปะ

ศิลปะมันคือการเข้าใจมนุษย์ เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์-มนุษย์ มนุษย์-สิ่งอื่น ๆ และไม่ว่าเผด็จการจะสร้างข้อจำกัดแค่ไหน อ.ทัศนัยบอกว่า “เราสร้างงานศิลปะได้เสมอ”

“การเคารพความเป็นมนุษย์เป็น common sense และเป็นสิ่งพื้นฐาน มันทำให้อีโก้ลดลง รวมถึงสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ อย่างหมา แมว ตัวเราไม่ได้ยิ่งใหญ่ไปกว่าสิ่งอื่น ๆ เราไม่ได้ทะนงตัวเองมากไป”

ศิลปินเคารพซึ่งกันและกัน คล้ายกับนักมวย ความเคารพนี้ไม่ได้เกิดจากคนดูหรือกรรมการ แต่เกิดจากนักมวยด้วยกันเอง วิธีคิดอาจจะไม่เหมือนกันเลยก็ได้ เช่น เราไม่เห็นด้วยในทางการเมือง ซึ่งมันเป็นเรื่องปกติ แต่ในการทำงานเป็นเรื่องที่ควรเคารพ

“ศิลปะไม่เป็นเจ้านายใครและไม่เป็นขี้ข้าใคร” แล้วศิลปะรับใช้อะไร?

อ.ทัศนัยไม่ได้ตอบว่าศิลปะรับใช้อะไร แต่บอกว่ามีใช้การแสดงความเป็นเจ้าของศิลปะเป็นเครื่องมือไต่เต้า ลาภยศ เป็นรูปแบบของวงการศิลปะไทย เป็นอำมาตย์ อ้างสถานะที่เหนือกว่า ใช้อำนาจกดขี่คนอื่น ใช้ศิลปะคุกคาม และใช้เป็นบันไดสู่อำนาจ เช่น Art Lane ที่ กปปส. ใช้ศิลปะเป็นนั่งร้านของระบอบเผด็จการ

ทั้งที่จริงแล้วศิลปะมันคือการเข้าใจมนุษย์ การเข้าใจตัวเองก็เป็นส่วนหนึ่งของความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์-มนุษย์ มนุษย์-สิ่งอื่น ๆ เข้าใจบทบาทหน้าที่ของตัวเองยึดถือสิ่งที่ตัวเองทำอยู่ แท้จริงคนทำงานศิลปะต้องการอิสระในการตั้งคำ

เสรีภาพจำเป็นมากในทุกการทำงาน ไม่ใช่เฉพาะศิลปิน หมายถึงการเห็นมนุษย์ท่ามกลางเสรีภาพอื่น ๆ ด้วย

เสรีภาพในการทำงาน ในการสร้างสรรค์เป็นสิ่งสำคัญเพราะต้องใช้สิ่งนี้มาผลักดันโลกทัศน์และความคิด หากไม่มีเสรีภาพ ศิลปะจะเกิดขึ้นไม่ได้

ศิลปินต้องการเสรีภาพมากกว่าคนอื่น แต่เสรีภาพไม่ได้จำเป็นเฉพาะศิลปิน แต่จำเป็นในทุกการทำงานในอาชีพอื่นด้วย และมันก็ไม่หมายถึงว่าจะแบบทำอะไรก็ได้ แต่คือการตะหนักถึงเสรีภาพที่มีนั้นดำเนินไปท่ามกลางเสรีภาพของมนุษย์ทุกคนด้วย เช่น เสรีภาพในการทำงาน การค้นคว้า มันเป็นสิ่งพื้นฐานสำคัญในการทำความเข้าใจ มองเห็นถึงข้อจำกัดหรือเงื่อนไขของประเด็นปัญหาต่าง ๆ ประเด็นสังคม การเมือง หรือคอนเซ็ปต์อื่น ๆ เพื่อสร้างความเป็นไปได้ที่หลากหลาย

เผด็จการพยายามสร้างข้อจำกัด แต่เราทำงานศิลปะได้เสมอ

“ข้อจำกัดไม่มี” อ.ทัศนัยตอบอย่างรวดเร็วว่าแม้ประเทศอยู่ในช่วงเวลาที่ประชาธิปไตยไม่เต็มใบ แต่นั่นก็ไม่ใช่ข้อจำกัดในการสร้างงานศิลปะ

“อย่าให้ข้อจำกัดมาเป็นปัจจัยในการทำงาน ไม่มีใครมาบอกเรา ทุกคนสามารถทำได้ทันที ความยากไม่ได้เกิดขึ้นที่ตัวเรา แต่พื้นที่เป็นปัญหาคือวงการศิลปะ ไม่ใช่ผลงานศิลปะพื้นที่ที่ระบอบเผด็จการพยายามจะสร้างข้อจำกัด ซึ่งมันเกี่ยวพันกับอำนาจรัฐ ที่พยายามออกกฎระเบียบ จำกัดสิทธิ การแสดงออก เสรีภาพ แต่เราทำงานศิลปะได้เสมอ อย่าไปคิดว่ามันเป็นอุปสรรค มีสปิริต อาจจะต้องจินตนาการถึงความเป็นไปได้ในการทำงาน แม้แต่การจัดแสดงงานซึ่งไม่จำเป็นว่าจะต้องอยู่ในพื้นที่รัฐ แน่นอนอาจจะสร้างความยุ่งยาก แต่ต้องไม่หยุดทำ มันทำได้เสมอ โดยไม่ต้องรอให้มันตั้งอยู่ในสังคมเผด็จการที่มีจิตสำนึกคับแคบ

ทุกที่มีการเมือง ในวงการศิลปะก็มีการเมือง แวดวงเดียวกันแล้วเซ็นเซอร์กันเอง ยากที่สุดไหม?

ฉันมีอำนาจเหนือกว่าเธอ ผิดสัญชาตญาณของศิลปิน ที่ใดมีอำนาจกดทับมากเกินไป มัน มีแรงต้านเป็นเรื่องธรรมดา ที่ใดคับแคบเกินไปการพยายามออกจากพื้นที่ก็เกิดขึ้นเป็นเรื่องปกติ